ในอดีตซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่เริ่มจากการเน้นขายอาหารเป็นหลัก ต่อมาได้มีการพัฒนาและขยายไปสู่ห้างสรรพสินค้าสำหรับสินค้าในชีวิตประจำวัน ที่มีสินค้าจำหน่ายที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า วัสดุอุปกรณ์ในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น รูปแบบธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตมีข้อดีหลายด้าน เช่น ลูกค้าสามารถสัมผัสสินค้าได้โดยตรง ซึ่งมีผลกระทบต่อการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น จึงเร่งการไหลเวียนของสินค้าได้ดี สามารถลดจำนวนการจ้างพนัก Sale ขายของ ที่ต้องใช้ต้นทุนในการจ้างสูง และยังสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจกับการค้าปลีก เป็นต้น

 

โครงสร้างห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมซูเปอร์มาร์เก็ตในจีน เริ่มจาก การซัพพลายวัตถุดิบระยะต้นน้ำของซูเปอร์มาร์เก็ตและผู้จัดจำหน่ายสินค้า อาทิ Golden Dragon fish, P&G, COFCO Sugar เป็นต้น อุตสาหกรรมกลางน้ำ ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ในจีน อาทิ Yonghui, Walmart, RT-Mart, Ole’, Hema Supermarket เป็นต้น และห่วงโซ่ปลายน้ำคือการจำหน่ายผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ต่างๆ โดยช่องทางการจำหน่ายออนไลน์จะผ่าน APP Mini Program ของแบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือ APP ไลฟ์ไสต์ของจีน อาทิ Meituan, Eleme เป็นต้น

 

 ภาพแสดงห่วงโซ่อุตสาหกรรมซูเปอร์มาร์เก็ตในจีน

แนวโน้มอุตสาหกรรมซูเปอร์มาร์เก็ตในจีน

ที่มา : Euromonitor

 

ข้อมูลจากสถิติ Euromonitor ในปี 2564 ซูเปอร์มาร์เก็ตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.7 ของช่องทางการไหลเวียนของสินค้าอุปโภคบริโภคในจีน รองลงมาจากช่องทางอีคอมเมิร์ซ จากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ส่งผลให้ ในปี 2564 จำนวนผู้บริโภคที่เข้าซูเปอร์มาเก็ตและปริมาณการซื้อของผู้บริโภคลดลง รายได้ของธุรกิจลดลงและการหมุนเวียนสินค้าคงคลังใช้เวลานานขึ้น ธุรกิจส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากการแพร่บาดของไวรัสโควิด ข้อมูลจากสมาคมธุรกิจร้านสาขาของจีน ระบุว่า ในปี 2546 ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต Top100 อันดับแรกของจีน มียอดขาย 907,600 ล้านหยวน ลดลงร้อยละ 2.6 YoY ในจำนวนนี้มี 62 ธุรกิจมียอดขายติดลบ ในส่วนธุรกิจอีก 38 แห่งยังมียอดขายเติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้า ได้แก่ Walmart, Jiajiayue, Qian Da Ma, Century mart, Lotus, Meet all, B.U.T Mart, Sungiven Food, HotMax, และ Dongfen Baijia เป็นต้น แบรนด์ซูปเปอร์มาร์เก็ต Top100 อันดับแรกของจีนรวมกันทั้งหมดมีสาขาถึง 30,000 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 YoY มีจำนวนร้านค้าที่เพิ่มเข้ามาใหม่ 1,380 แห่ง ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ในปี 2565 ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีรายได้ต่อปี 20 ล้านขึ้นไป มียอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 YoY คิดเป็นมูลค่า 1.08 ล้านล้านหยวน

 

จากข้อมูล Euromonitor ระบุว่า หลังจากปี 2553 ยอดขายของซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งเริ่มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีอัตราการเติบโตในเชิงบวก ในปี 2564 ขนาดของอุตสาหกรรมซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศจีนอยู่ที่ 3.09 ล้านล้านหยวน ตั้งแต่ปี 2559-2564 อัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) เฉลี่ยร้อยละ 2.1 คาดการเบื้อต้นในปี 2565 ขนาดของอุตสาหกรรมซูเปอร์มาร์เก็ตในจีนจะอยู่ที่ 3.15 ล้านล้านหยวน

 

ข้อมูลจากสมาคมธุรกิจร้านสาขาของจีน กล่าวว่า การกระจายพื้นที่ของซูเปอร์มาร์เก็ต 100 อันดับแรกจะกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในเขตเมืองมากที่สุด รองลงมามีการกระจายตัวอยู่ในเขตภาคกลางของจีน  และเขตภาคตะวันตกมีจำนวนการกระจายตัวของซูเปอร์มาร์เก็ตน้อยที่สุด ซึ่งมียอดขายเฉลี่ยต่ำและมีปริมาณร้านค้าที่ครอบคลุมพื้นที่น้อยที่สุด ในปี 2564 สมาคมธุรกิจร้านสาขาของจีนได้จัดอันดับแบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ยอดขายสูงสุด โดย แบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ต Walmart ครองอันดับ 1 ด้วยยอดขายสูงถึง 99,036 ล้านหยวน รองลงมาคือ Yonghui Supermarket มียอดขาย 98,969 ล้านหยวน และ Sun Art มียอดขาย 98,005 ล้านหยวน ตามลำดับ

 

สินค้าอาหาร อาหารสด ของใช้ประจำวัน ที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต ล้วนเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อการดำรงชีวิตของประชาชน สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ปัจจุบัน ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ได้กระจายตัวเพิ่มขึ้น ธุรกิจยังสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดและสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ในอนาคตอุตสาหกรรมซูเปอร์มาร์เก็ตจะยังคงสร้างสามารถปรับปรุงและพัฒนาเครือข่าย สร้างการลงทุน และการแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น คาดว่า ในปี 2571 ขนาดของตลาดอุตสาหกรรมซูเปอร์มาร์เก็ตในจีนจะยังเติบโตถึง 3.55 ล้านล้านหยวน อัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) เฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี

 

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมซูเปอร์มาร์เก็ตของในจีนกําลังประสบกับยุคการเปลี่ยนแปลงของการบริโภค และจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างเร่งด่วน ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมค้าปลีกของญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศก็กำลังประสบปัญหากับยุคการเปลี่ยนแปลงแบบเช่นเดียวกัน ผู้ค้าปลีกในจีน กล่าวว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมมีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในเมืองชั้นหนึ่ง แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์และปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ส่งผลกระทบต่ออุตสหากรรมซูเปอร์มาร์เก็ตในรับชาติ เมื่อเที่ยบกันแล้วการพัฒนาอุตสหากรรมซูเปอร์มาร์เก็ตในเขตอำเภอ และชนบทมีความกดดันน้อยกว่าในเขตเมืองใหญ่ เนื่องจากการดำเนินงานที่หยั่งรากลึกของธุรกิจในเขตชนบท สามารถสร้างความเหนียวแน่นและการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้ดีกว่า การดำเนินธุรกิจแบบกําไรน้อย แต่ขายในปริมาณมาก จะค่อย ๆ ไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ในอนาคตซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ จะทยอยปรับโครงสร้างการดำเนินงานมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มหันไปใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง และเน้นความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก เพื่อคงพื้นที่ส่วนแบ่งในตลาดและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

 

ความเห็นสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน : การแข่งขันของอุตสาหกรรมซูเปอร์มาร์เก็ตในจีนเข้มข้นขึ้น ซูเปอร์มาร์เก็ตระดับกลางในเมืองระดับสองอย่างเซี่ยเหมินเริ่มทะยอยปิดตัวลง ส่วนหนึ่งเริ่มมาจากผลกระทบจากโควิด 19 อีกส่วนหนึ่งร้านค้าส่วนใหญ่ยังใช้รูปแบบโมเดลธุรกิจแบบเดิม ในประเทศจีนมีซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ที่เข้ามาแข่งขันกับร้านค้าแบบดั่งเดิม โดยมีบริการขายสินค้าหลากหลายและครอบคลุมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ผลไม้ ของใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงสินค้าจากต่างประเทศอย่างประเทศไทย และยังมีบริการส่งสินค้าตรงถึงบ้านภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องไปเดินเลือกซื้อสินค้า หรือหิ้วสินค้าหนักๆกลับบ้านเอง ธุรกิจที่อยู่รอดจึงเป็นธุรกิจที่คอยติดตามสถานการณ์และปรับเปลี่ยนรูปแบบโมเดลธุรกิจอยู่เสมอ การรู้จักช่องทางการค้าใหม่ๆ ในประเทศจีนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาเพื่อเป็นช่องทางในการสร้างความร่วมมือในอนาคต

                       ที่มา:

https://baijiahao.baidu.com/s?id=1766306193352413431&wfr=spider&for=pc

เรียบเรียงโดยสำนักงานส่งเส ริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

16 มิถุนายน 2566

thThai