สถานการณ์ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ (ยารักษาโรค) ในตลาดเมียนมาและ โอกาสของผู้ประกอบการไทย

สถานการณ์ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ (ยารักษาโรค) ในตลาดเมียนมาและ

โอกาสของผู้ประกอบการไทย

 

 

 

 

ในปี 2566 ตลาดยาของเมียนมามีมูลค่าประมาณ 286.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของยาสามัญที่นำเข้าจากประเทศอินเดีย และการจำหน่ายยากว่า 60% นั้นส่วนใหญ่จำหน่ายอยู่ที่สองเมืองใหญ่อย่างย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ อีกทั้ง การรักษาโดยยาแผนโบราณยังคงเป็นที่นิยมและรักษามาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในชนบทหรือในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่มียาแผนตะวันตก สมุนไพรและพืชสมุนไพรสามารถพบได้ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้โดยมีราคาไม่แพง

จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า เกือบ 75% ของประชากรเมียนมายังคงใช้ยาแผนโบราณเพื่อการรักษาโรค อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในการเข้ารับบริการด้านการแพทย์ในเมียนมานั้นยังมีไม่มากนัก เนื่องจากคนรวยในประเทศมักจะเดินทางไปต่างประเทศเพื่อตรวจสุขภาพไปจนถึงการผ่าตัดหัวใจ และรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีมูลค่าถึง 70,000-200,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยจุดหมายปลายทางยอดนิยมได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ และอินเดีย เป็นต้น

แนวโน้มการเติบโตของผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ (ยารักษาโรค)

 

 

 

จากข้อมูลของหน่วยงานวิจัยตลาดพบว่า ค่าใช้จ่ายด้านเภสัชกรรมในเมียนมาเพิ่มขึ้น 11% ต่อปีและในปี พ.ศ. 2566 มีมูลค่าคาดการณ์กว่า 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการใช้ในการพัฒนาสถานพยาบาล ศูนย์สุขภาพ ยา และบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้รัฐบาลเมียนมายังพยายามผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของโรงพยาบาลและคลินิกในท้องถิ่นให้ดีขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ด้านเภสัชกรรม อุปกรณ์การแพทย์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

รัฐบาลเมียนมาคาดการณ์ว่า การพัฒนาและการปรับปรุงระบบคุณภาพทางด้านสาธารณสุขจะเพิ่มมากขึ้นอีกราว 10-15% ต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า ประกอบกับจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนในการนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม ในปัจจุบันมีจำนวนกว่า 250 บริษัท จึงทำให้เมียนมาเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับผู้ประกอบการ ทั้งบริษัทในท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติที่ต้องการเข้ามาเจาะตลาดด้านสาธารณสุขและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องรัฐบาลเมียนมาร์คาดการณ์ว่า การพัฒนาและการปรับปรุงระบบคุณภาพทางด้านสาธารณสุขจะเพิ่มมากขึ้นอีกราว 10-15% ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า ประกอบกับจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนในการนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมและธรรมชาติ ในปัจจุบันมีเพียง 250 บริษัทเท่านั้น จึงทำให้เมียนมาร์เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับผู้ประกอบการ ทั้งบริษัทในท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติที่ต้องการเข้ามาเจาะตลาดด้านสาธารณสุขและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วยรัฐบาลเมียนมาร์พยายามผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของโรงพยาบาลและคลินิกในท้องถิ่นให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่งผลทำให้จีดีพีด้านสาธารณูปโภคทางการแพทย์ล่าสุดขยายตัว 2.1% เนื่องด้วยอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์คุณภาพด้านเภสัชกรรม อุปกรณ์การแพทย์และวัตถุดิบทางธรรมชาติ เชื่อว่าตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรัฐบาลเมียนมาร์พยายามผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของโรงพยาบาลและคลินิกในท้องถิ่นให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่งผลทำให้จีดีพีด้านสาธารณูปโภคทางการแพทย์ล่าสุดขยายตัว 2.1% เนื่องด้วยอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์คุณภาพด้านเภสัชกรรม อุปกรณ์การแพทย์และวัตถุดิบทางธรรมชาติ เชื่อว่าตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรัฐบาลเมียนมาร์พยายามผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของโรงพยาบาลและคลินิกในท้องถิ่นให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่งผลทำให้จีดีพีด้านสาธารณูปโภคทางการแพทย์ล่าสุดขยายตัว 2.1% เนื่องด้วยอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์คุณภาพด้านเภสัชกรรม อุปกรณ์การแพทย์และวัตถุดิบทางธรรมชาติ เชื่อว่าตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรัฐบาลเมียนมาร์พยายามผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของโรงพยาบาลและคลินิกในท้องถิ่นให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่งผลทำให้จีดีพีด้านสาธารณูปโภคทางการแพทย์ล่าสุดขยายตัว 2.1% เนื่องด้วยอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์คุณภาพด้านเภสัชกรรม อุปกรณ์การแพทย์และวัตถุดิบทางธรรมชาติ เชื่อว่าตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรัฐบาลเมียนมาร์พยายามผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของโรงพยาบาลและคลินิกในท้องถิ่นให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่งผลทำให้จีดีพีด้านสาธารณูปโภคทางการแพทย์ล่าสุดขยายตัว 2.1% เนื่องด้วยอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์คุณภาพด้านเภสัชกรรม อุปกรณ์การแพทย์และวัตถุดิบทางธรรมชาติ เชื่อว่าตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรัฐบาลเมียนมาร์พยายามผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของโรงพยาบาลและคลินิกในท้องถิ่นให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่งผลทำให้จีดีพีด้านสาธารณูปโภคทางการแพทย์ล่าสุดขยายตัว 2.1% เนื่องด้วยอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์คุณภาพด้านเภสัชกรรม อุปกรณ์การแพทย์และวัตถุดิบทางธรรมชาติ เชื่อว่าตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรัฐบาลเมียนมาร์พยายามผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของโรงพยาบาลและคลินิกในท้องถิ่นให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ส่งผลทำให้จีดีพีด้านสาธารณูปโภคทางการแพทย์ล่าสุดขยายตัว 2.1% เนื่องด้วยอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์คุณภาพด้านเภสัชกรรม อุปกรณ์การแพทย์และวัตถุดิบทางธรรมชาติ เชื่อว่าตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอุตสาหกรรมเภสัชกรรมของประเทศเมียนมายังมีการพัฒนาไม่มากนักโดยเฉพาะวัตถุดิบในประเทศ มีเพียง 20% ของความต้องการทั้งหมดจากโรงงานเภสัชกรรมของเมียนมา ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยโรงงานก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตยาเม็ด ยาแคปซูล ยาฉีด แป้ง และโลชั่น เพื่อทดแทนการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในเมียนมานั้นนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ จีน อินโดนีเซีย ปากีสถาน ไทยและเวียดนาม ตัวเลขการวิจัยระบุว่ายอดการนำเข้ายาทั้งหมดคิดเป็น 85% ของตลาดยา และอินเดียมีส่วนแบ่งการตลาด 40-45% โดยปัจจุบันมีการนำเข้ายาในเมียนมากว่า 5,000 ชนิด นอกจากนี้รัฐบาลยังมุ่งมั่นที่จะเพิ่มการใช้จ่ายด้านสุขภาพ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีความต้องการยาเพิ่มขึ้นในตลาดเมียนมา

โอกาสทางธุรกิจ

 

 

 

            เนื่องจากขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประทศไทยได้รับการรับรองเป็นสมาชิก PIC/S (Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme) ลำดับที่ 49 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานระบบการตรวจและหน่วยตรวจประเมิน GMP ด้านยาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อีกทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา สร้างความมั่นใจในคุณภาพมาตรฐานของยาที่ผลิตในประเทศให้แก่ผู้ใช้ยา รวมถึงเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตยาให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับนานาชาติ นอกจากนี้คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านคุณภาพและมาตรฐานของอาเซียน ได้รับรองให้สำนักงานคณะการรมการอาหารและยา เป็นหน่วยประเมินการตรวจสอบคุณภาพยาของอาเซียน (ASEAN Listed Inspection Service) ซึ่งทุกประเทศสมาชิกได้ให้การยอมรับเป็นการเพิ่มความสะดวกในการขึ้นทะเบียนตำรับยาและส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในต่างประเทศ สามารถส่งขายในประเทศสมาชิกอาเซียนได้โดยไม่จำเป็นต้องให้ประเทศสมาชิกเข้ามาตรวจมาตรฐานการผลิต (GMP) และตรวจสอบที่ปลายทางอีก ถือเป็นการลดความซ้ำซ้อนและอำนวยความสะดวก ลดภาระค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังเอื้อต่อการลงทุนเพื่อการส่งออกยาไปจำหน่ายในตลาดโลก และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการส่งออกยามายังประเทศเมียนมาเพราะนอกจากเมียนมาจะเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนทำให้สามารถส่งออกยาโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ ซึ่งเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจ

ช่องทางในการเข้าสู่ตลาดเมียนมา

 

 

 

(1) การโฆษณา และประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ช่องทางการซื้อขายสินค้าไทยบน E-commerce platform อาทิ Thaitrade.com และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก E-Commerce Platform เนื่องจากปัจจุบันการขายของผ่านระบบออนไลน์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในเมียนมา และสามารถช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในหลายๆด้าน แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมที่สุดในการเข้าถึงผู้บริโภคในเมียนมา คือ Facebook

(2) เข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์และสร้างสัมพันธ์กับบริษัทหรือผู้ประกอบการในประเทศเมียนมา เช่น

 

 

 

Myanmar Expo Hall @ Fortune Plaza

งาน MEDEX 2023  ซึ่งเป็นงานแสดงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการแพทย์ อุปกรณ์ตรวจวินิจฉัย เภสัชภัณฑ์ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 และเป็นงานธุรกิจระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเทคโนโลยีการแพทย์และเภสัชกรรมในเมียนมา

กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

  1. ขั้นตอนทั่วไปของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาตผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาในประเทศเมียนมา

          ภายใต้กฎหมาย National Drug Law 1992 หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาตผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาในประเทศเมียนมาได้แก่ กระทรวงสาธารณสุขหรือ Ministry of Health และ Department of Health’s Food and Drug Administration (FDA) ภายใต้การกำกับดูแลของ the Myanmar Food and Drug Board of Authority (MFDBA) โดยกำหนดขั้นตอนในการขึ้นทะเบียนขออนุญาตเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาในประเทศเมียนมา ดังต่อไปนี้

  • การจดทะเบียนตัวยา (Applying for Drug Registration) ภายใต้ประกาศกระทวงสาธารณสุข (ประกาศกระทรวง) ฉบับที่ 3/1993 ได้กำหนดรายละเอียดขั้นตอน ในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาในประเทศเมียนมา โดยสังเขป ดังนี้
    • ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาในประเทศเมียนมา ในกรณีที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ เป็นชาวต่างชาติ ต้องตั้งตัวแทนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศเมียนมา (ไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติเมียนมา) ในการยื่นขออนุญาตดังกล่าว
    • ผู้ยื่นขอต้องส่งเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวยาให้ทาง FDA พิจารณา โดย FDA จะตรวจสอบความถูกต้อง ให้เป็นไปตาม “ข้อกำหนดด้านมาตรฐานชุดเอกสารการขึ้นทะเบียนตัวยา” หรือ ASEAN Common Technical Dossier format พร้อมส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาให้ทาง FDA ตรวจสอบเบื้องต้นในห้องปฏิบัติการ
    • หาก FDA อนุมัติผลการตรวจสอบ ผู้ยื่นขอมีหน้าที่ชำระค่าจดทะเบียนตัวยาภายในระยะเวลาที่กำหนด และจะได้รับ “ใบรับรองการขึ้นทะเบียนยา” หรือ Registration Certificate ไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ใบรับรองดังกล่าวจะมีอายุการบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยต้องมีการต่ออายุภายใน 90 ก่อนครบกำหนดวันหมดอายุ
    • แต่หาก FDA ไม่อนุมัติผลการตรวจสอบ ผู้ยื่นขอมีสิทธิอุทธรณ์ผลดังกล่าวต่อ MFDBA ได้ภายใน 60 วัน
    • นอกจากนี้ ภายใต้ประกาศกระทรวง ฉบับที่ 7/1993 ได้กำหนดให้ยาทุกชนิดที่จดทะเบียนในประเทศเมียนมาต้องมีการติดฉลากยากำกับไว้ที่บรรจุภัณฑ์ ซึ่งฉลากยานั้นอาจจะระบุเป็นภาษาเมียนมาหรือภาษาอังกฤษหรือทั้งสองภาษาก็ได้ บรรจุภัณฑ์ของยาทุกชนิดจะต้องระบุข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาชนิดนั้น ไม่ว่าจะเป็นชื่อของตัวยา ส่วนประกอบของยา วันเดือนปีที่ผลิต วันหมดอายุ รวมไปถึงเลขที่จดทะเบียนที่ได้รับจาก FDA อย่างชัดเจน นอกจากนี้ หากเป็นยาที่จะต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือยาที่ใช้เฉพาะทาง จะต้องระบุข้อความดังกล่าวบนฉลากอีกด้วย
  • การขอใบอนุญาตเพื่อดำเนินการผลิตยาในประเทศเมียนมา (Applying for Manufacturer License) ภายใต้ประกาศกระทรวง ฉบับที่ 4/1993 เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการขอใบอนุญาตเพื่อดำเนินการผลิตยาในประเทศเมียนมา มีขั้นตอนและรายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้
    • ผู้ยื่นขอจะต้องยื่นแบบคำร้องพร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อ Township Supervisory Committee ในท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา ซึ่งจะส่งผ่านคำร้องไปยัง FDA และ FDA จะส่งเรื่องต่อไปให้ MFDBA ตามลำดับ เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาต ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การยื่นขอใบอนุญาตในการผลิตยาจะกำหนดให้ผู้ยื่นต้องระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจผลิตยาโดยละเอียด อาทิ แบบโรงงาน รายการเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ตลอดจนประวัติของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต ซึ่งหาก MFDA พิจารณาแล้วพบว่าข้อมูลครบถ้วน รวมทั้งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด MFDBA จะส่งเรื่องกลับไปให้ FDA ออกใบอนุญาตในการผลิตยาให้แก่ผู้ยื่นต่อไป
    • ในกรณีผู้ยื่นขอประสงค์จะดำเนินการผลิตยาในพื้นที่อื่น นอกเหนือจากที่ได้ยื่นขอไปในคำขอครั้งแรกนั้นผู้ยื่นจะต้องดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตผลิตยาแยกเป็นอีกหนึ่งคำขออีกด้วย ทั้งนี้ใบอนุญาตผลิตยาจะมีอายุ 3 ปี โดยที่จะต้องต่ออายุภายใน 90 วัน ก่อนวันหมดอายุมิฉะนั้นใบอนุญาตนั้นจะไม่สามารถใช้ได้ และจะต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่อีกครั้ง
    • ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตการผลิตยาจะมีสิทธิในการจำหน่ายยาที่ผลิตอีกด้วย โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดย FDA ทั้งนี้ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องรับผิดชอบในคุณภาพและประสิทธิภาพของยาที่ผลิต โดยสอดคล้องกับคุณสมบัติของยาดังที่ได้แจ้งไว้กับ FDA อีกด้วย
  1. รูปแบบการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาในประเทศเมียนมา

          ภายใต้กฎหมายและกฎการลงทุนแห่งประเทศเมียนมา ประกาศคณะกรรมการการลงทุนแห่งประเทศเมียนมา  ฉบับที่ 40/2016 กำหนดให้นักลงทุนต่างชาติที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาในประเทศเมียนมาต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจกับทางคณะกรรมการการลงทุนแห่งประเทศเมียนมา (MIC) โดยต้องจัดตั้งองค์กรธุรกิจในรูปแบบของ “กิจการร่วมค้า (Joint Venture)” และต้องได้รับหนังสือรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry) ทั้งนี้จะต้องมีอัตราส่วนผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวเมียนมาไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 20

  1. สิทธิประโยชน์และข้อกำหนดการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาในประเทศเมียนมา

          เมื่อนักลงทุนได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (MIC Permit) และได้จัดตั้งองค์กรธุรกิจตามรูปแบบที่ MIC กำหนด กล่าวคือ กิจการร่วมค้า หรือ Joint Venture รวมถึงได้รับหนังสือรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม แล้ว นักลงทุนที่ประสงค์จะผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยา ย่อมมีสิทธิประโยชน์และการลดหย่อนทางภาษี ดังต่อไปนี้

  • สิทธิประโยชน์และการลดหย่อนทางทางภาษีเงินได้นิติบุคคล (Income Tax) และภาษีการค้า (Commercial Tax) ภายใต้กฎหมายการลงทุนแห่งประเทศเมียนมา มาตรา 27 กำหนดให้ MIC มีดุลพินิจในการยกเว้นภาษี ให้แก่นักลงทุนต่างชาติได้ หากเห็นว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อการส่งเสริมการลงทุนในประเทศเมียนมา โดยอาจยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินได้ (Income tax) แก่นักลงทุนผู้ผลิตสินค้าและบริการที่เพิ่งเริ่มต้นประกอบกิจการเป็นระยะเวลาสูงสุดถึง 5 ปี นอกจากนี้ นักลงทุนยังอาจได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีการค้า (Commercial Tax) สำหรับสินค้าที่ผลิตเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งออก อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏสิทธิประโยชน์และการลดหย่อนทางภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีพิเศษธุรกิจเฉพาะไม่ปรากฏในระบบภาษีของประเทศเมียนมาแต่อย่างใด
ตารางภาษีเงินได้นิติบุคคล
ประเภท อัตราภาษี (ร้อยละของเงินได้สุทธิ)
บริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนในเมียนมา (Resident Foreigner) 30
บริษัทต่างชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนในเมียนมา (Non-resident Foreigner) แต่ได้เข้าไปเปิดสาขาในเมียนมา เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก MIC จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปีนับจากปีแรกที่เริ่มดำเนินการและอาจขอขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีได้เป็นกรณีๆ ไปขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ MIC 35

 

ตารางภาษีการค้า
ประเภทธุรกิจ อัตราภาษีประเภทธุรกิจ
(ร้อยละของรายได้/ค่าบริการ)
สินค้าจำเป็นขั้นพื้นฐาน ได้รับการยกเว้น
สินค้าทั่วไปที่ผลิตในประเทศ 0.5 – 2.5
สินค้าฟุ่มเฟือยเช่น บุหรี่ เหล้า หยก อัญมณี น้ำมันเชื้อเพลิง ไข่มุกเป็นต้น 3 – 20
ธุรกิจบริการต่างๆเช่นรถไฟโรงแรมและธุรกิจการค้าเป็นต้น 5
ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก 5
รายได้จากค่าโดยสารในการประกอบการขนส่งผู้โดยสาร 8
รายได้จากธุรกิจโรงแรมภัตตาคารการให้เช่าห้องพัก 10
รายได้จากธุรกิจบันเทิง 15
รายได้จากธุรกิจการจัดฉายภาพยนตร์ 30
ผู้ใช้บริการโรงแรมและภัตตาคารในเมียนมา
ต้องเสียภาษีผู้ใช้บริการที่หักไว้สำหรับจ่ายรัฐบาล
10
  • การลดหย่อนภาษีอากรนำเข้าอุปกรณ์และเครื่องจักร นักลงทุนมีสิทธิได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีศุลกากรหรือภาษีภายในอื่น ๆ สำหรับการนำเข้าอุปกรณ์และเครื่องจักร รวมถึงส่วนประกอบและอะไหล่ของเครื่องจักรนั้นๆ ที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างสถานประกอบการของตน
  • การลดหย่อนภาษีอากรนำเข้าวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถจัดหาได้ในประเทศ นักลงทุนมีสิทธิได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีศุลกากรหรือภาษีอื่นสำหรับการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ ในการผลิตสินค้าเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีแรกนับจากการเสร็จสิ้นของระยะเวลาก่อสร้างสถานประกอบการ
  • สิทธิประโยชน์สำหรับการขาดทุนสะสมยกมาเพื่อเป็นการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ภายใต้กฎหมายการลงทุนแห่งประเทศเมียนมา นักลงทุนมีสิทธิยกการขาดทุนสะสมสูงสุด 3 ปี ติดต่อกันนับจากปีที่เริ่มขาดทุนมาหักออกจากผลกำไรสุทธิที่เกิดจากการประกอบกิจการได้ภายใน 2 ปี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายชื่อองค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

 

ชื่อหน่วยงาน ที่อยู่ที่ติดต่อ โทรศัพท์ / อีเมล์/ เว็บไซต์
Ministry of Health & Sports 4 Zeya Htani Rd, Nay Pyi Taw Tel: +95 67 411 298

www.moh.gov.mm

Department of Food and Drug Administration Pyigyi Zayyar Road (In front of Sabei Housing), Zayyar Thiri Ward, Zabu Thiri Township, Nay Pyi Taw Tel: + (95) 67- 403 609 www.fdamyanmar.gov.mm www.moh.gov.mm
Ministry of Commerce Director General Department of Trade Ministry of Commerce Building No. 3, Office Compound, Nay Pyi Taw Tel: + (95) 67- 408 002, 408 265, 408 485
Customs Department No.(132), Strand Road, Kyauktada Township, Yangon Tel: + (95) 1 – 379 423, 379 426 to 9
Ministry of Planning and Finance Director General Directorate of Investment and Company Administration Ministry of National Planning and Economic Development Building No. 32, Office Compound, Nay Pyi Taw Tel: + (95) 1- 658 143, 657 891,

+(95) 67- 406 471

Myanmar Medical Council (MMC) No. 123, Nat Mauk Road, Bahan Township, Yangon, Myanmar. Tel: 09 45684 4445

Fax: +951 546709

Email: myanmarmedicalcouncil@gmail.com www.myanmarmedicalcouncil.org

ชื่อหน่วยงาน ที่อยู่ที่ติดต่อ โทรศัพท์ / อีเมล์ / เว็บไซต์
Myanmar Pharmaceuticals and Medical Equipment Entrepreneur Association (MPMEEA) UMFCCI Office Tower (Level – 6) No.29, Min Ye’ Kyaw Swar Street, Lanmadaw Township, Yangon, Myanmar. Tel: (+95-1) 2316205, 2314834

Email: mpmeea@myanmar.com.mm, mpmeea@gmail.com www.mpmeea.org

Myanmar Medical Association (MMA) No. 249, Thein Phyu Road, Mingalar Taung Nyunt Township, Yangon, Myanmar. Fax: 951- 378863

Email: skystar.green@gmail.com www.mmacentral.com

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

มีนาคม 2566

thThai