เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 ทุเรียนสดของไทยน้ำหนัก 500 ตันบรรทุกในตู้แช่เย็นของรถไฟลาว-จีน ขนส่งไปถึงสถานนี Xiao Nan Ya เขต Jiangjin ของมหานครฉงชิ่งอย่างราบรื่น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ทุเรียนไทยเดินทางโดยตรงจากต่างประเทศเข้าสู่ตลาดจีนตะวันตก (เฉิงตู-ฉงชิ่ง)

ทุเรียนไทยเข้าสู่ตลาดจีนตะวันตกผ่านทางรถไฟ

รถไฟขบวนนี้ได้ขนส่งทุเรียนไทยในตู้คอนเทนเนอร์แช่เย็น จำนวน 28 ตู้ มูลค่ารวม 21.6 ล้านหยวน โดยเริ่มลำเลียงขนส่งจากจังหวดจันทบุรีของไทย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 และได้บรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์แช่เย็นและออกเดินทางที่สถานีเวียงจันทน์ใต้ของสปป.ลาว เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 หลังจากนั้น รถไฟได้เข้าสู่ประเทศจีนผ่านด่านบ่อหานและมาถึงสถานนี Xiao Nan Ya เขต Jiangjin ของมหานครฉงชิ่งในช่วงเช้าของวันที่ 11 มิถุนายน 2566  ซึ่งรถไฟดังกล่าวใช้เวลาเพียง 4 วันในการขนส่งทุเรียนไทยในครั้งนี้  สำหรับทุเรียนดังกล่าว นอกจากจำหน่ายในตลาดมหานครฉงชิ่งแล้ว ยังถูกกระจายไปทั่วประเทศจีนด้วย โดยขนส่งไปยังเมืองอื่นๆ ของจีนผ่านทางบก

ทุเรียนไทยเข้าสู่ตลาดจีนตะวันตกผ่านทางรถไฟ

ก่อนหน้านี้ การนำเข้าทุเรียนสดจากไทยมายังมหานครฉงชิ่งจะเป็นการขนส่งผ่านทางเรือหรือทางรถไฟซึ่งต้องขนส่งทางบกต่ออีกครั้ง  ส่วนการขนส่งทุเรียนไทยในครั้งนี้ได้เลือกวิธีการขนส่งหลายรูปแบบ คือ “ขนส่งทางบก + ทางรถไฟ” หลังจากผ่านด่านชายแดนแล้ว ก็ขนส่งโดยตรงไปที่มหานครฉงชิ่ง ซึ่งนับเป็นการยกระดับประสิทธิภาพในการขนส่งผลไม้สดระหว่างไทยกับจีนฝั่งตะวันตก  ทางด้านนาย Deng Haoji หัวหน้าฝ่ายดำเนินการของบริษัท Hongjiu Fruit มหานครฉงชิ่ง กล่าวว่า สำหรับพ่อค้าผลไม้ เวลานับเป็นเงินทอง แต่ละชั่วโมงมีความสำคัญอย่างมาก “ขบวนรถไฟขนส่งทุเรียน” สามารถลดระยะเวลาการขนส่งลงไปกว่าครึ่งหนึ่ง   ทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้สูงขึ้น รวมทั้งสามารถบริหารจัดการด้านราคาจำหน่ายทุเรียนสดของไทยในตลาดจีนในราคาที่ต่ำลงได้

ทั้งนี้ ปริมาณการบริโภคทุเรียนของผู้บริโภคชาวจีนอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี  และจากข้อมูลสถิติของสำนักงานศุลกากรจีน พบว่า ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2566 จีนได้นำเข้าทุเรียนสด (HS code 08106000) จากต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 312,137.57 ตัน คิดเป็นมูลค่าการนำเข้า 11,015.57 ล้านหยวน โดยแหล่งนำเข้า 3 อันดับแรกของจีน ได้แก่ ไทย  เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ

ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าทุเรียนของจีนในช่วงมกราคม-เมษายน 2566

ลำดับที่

แหล่งนำเข้า ปริมาณการนำเข้าทุเรียน

(ตัน)

มูลค่าการนำเข้าทุเรียน

(ล้านหยวน)

1

ไทย

270,471.604

9,619.30

2

เวียดนาม

41,414.721

1,389.33

3

ฟิลิปปินส์

251,250

6.94

ข้อมูลเพิ่มเติม/ผลกระทบ/ความเห็นของ สคต.

ในฐานะที่เป็นช่องทางการค้าและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศใหม่ล่าสุด ตั้งแต่ New Western Land-Sea Corridor เปิดให้บริการมาแล้ว 6 ปี การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานได้รับการอัพเกรดอย่างต่อเนื่อง เครือข่ายโลจิสติกส์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเกิดการปรับปรุงคุณภาพด้านการให้บริการเพิ่มมากขึ้น

จากข้อมูลสถิติ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 พบว่า เครือข่าย New Western Land-Sea Corridor ได้ครอบคลุมสถานี 116 แห่งใน 60 เมือง 18 มณฑล และได้เข้าถึงด่านท่าเรือ 393 แห่งใน 119 ประเทศ/ภูมิภาคทั่วโลก ในช่วงเวลา 5 เดือนแรกของปี 2566 พบว่า มีสินค้าที่ขนส่งผ่านทางราง+ทางทะเลภายใต้เครือข่าย New Western Land-Sea Corridor รวมทั้งสิ้น 350,000 ตู้คอนเทนเนอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ด้วยการเร่งเพิ่มจำนวนขบวนรถไฟตู้คอนเทนเนอร์แช่เย็น (ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้) อย่างต่อเนื่อง คาดว่า ผลไม้สดจากไทย/ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างเช่น ทุเรียน มังคุด และลำไย จะถูกขนส่งไปถึงผู้บริโภคชาวจีน โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตก ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีปริมาณการนำเข้าผลไม้สดจากไทยเข้าสู่ตลาดจีนเพิ่มขึ้นและสามารถกระจายผลไม้สดของไทยครอบคลุมพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของจีนอย่างทั่วถึงในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย

————————————————–

แหล่งข้อมูล :

http://www.xinhuanet.com/2023-06/11/c_1129686002.htm

https://life.gmw.cn/2023-06/14/content_36628814.htm

แปลและเรียบเรียงโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเฉิงตู

 

thThai