รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2566

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 กระทรวงการคลังสหรัฐ (U.S. Department of the Treasury) ได้ออกประกาศการคว่ำบาตรสถาบันการเงินที่ควบคุมโดยรัฐบาลของเมียนมา จำนวน 2 แห่ง คือ ธนาคาร Myanmar Foreign Trade Bank (MFTB) และธนาคาร Myanmar Investment and Commercial Bank (MICB)      โดยจำกัดไม่ให้มีการทำธุรกรรมทางการเงินใดๆ ผ่านทั้งสองธนาคารทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจไทยในเมียนมาเบื้องต้น คาดว่า ประกาศดังกล่าวมีผลมุ่งหวังเพื่อสร้างความกดดันและจำกัดการเข้าถึงแหล่งเงินของรัฐบาลทหารเมียนมา โดยยังมีผลกระทบอยู่ในวงจำกัด ธุรกิจของไทยยังสามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารพาณิชย์อื่นในเมียนมา ที่ไม่ได้ถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ รวมถึงใช้ช่องทางการค้าผ่านชายแดน โดยทำการค้าผ่านการแลกเปลี่ยนเงินสกุลบาท – จ๊าต ผ่านธนาคารพาณิชย์ของไทยและเมียนมา อีกทั้ง สหรัฐฯและชาติพันธมิตรตะวันตกได้เคยประกาศคว่ำบาตรหน่วยงานรัฐและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารเมียนมามาแล้วหลายรอบในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมา     ทำให้นักธุรกิจไทยมีการเตรียมความพร้อมรับมือและมีการคาดการณ์การคว่ำบาตรที่จะตามมาไว้ก่อนแล้ว ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัทไทยที่เป็นคู่สัญญากับรัฐบาลทหารเมียนมาและต้องใช้การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารรัฐทั้ง 2 แห่งนั้น อาจจะต้องเจรจากับคู่สัญญาเพื่อเปลี่ยนไปใช้ธนาคารอื่นแทนต่อไป

ถึงแม้ว่า ธนาคารกลางเมียนมาจะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคงที่ไว้ที่ 2,100    เมียนมาจ๊าต ต่อ 1 USD อย่างไรก็ตาม การคว่ำบาตรธนาคารรัฐทั้ง 2 แห่งได้ส่งผลให้ค่าเงินจ๊าตมีการอ่อนค่าเพิ่มมากขึ้นไปกว่า 5% ในตลาดอย่างไม่เป็นทางการซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าของผู้นำเข้าเมียนมา

ในส่วนผลกระทบต่อการค้าชายแดนนั้น ส่วนใหญ่การค้าชายแดนไทย -เมียนมา เป็นการค้าโดยใช้เงินสกุลบาท-จ๊าต และไม่ได้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารรัฐทั้ง 2 แห่งดังกล่าว ในชั้นนี้ จึงประเมินว่า       ยังไม่ได้รับผลกระทบและส่งผลต่อการค้าชายแดนไทย – เมียนมา อย่างมีนัยสำคัญ

เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.49 อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ของเมียนมา มีแนวโน้มอยู่ที่ร้อยละ 6.81เพิ่มขึ้นจากปี 2565 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,228.54เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ดังตาราง

ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

ที่สำคัญ

ปี 2017 ปี 2018

 

ปี 2019

 

ปี 2020

 

ปี 2021

 

ปี 2022 ปี 2023

(คาดการณ์)

GDP Growth (%) 5.8 6.4 6.8 3.2 -17.9 -0.06 2.49
GDP (billions of US$) 61.27 66.7 68.8 81.26 66.74 63.05 66.59
GDP per Capita (US$) 1,180 1,270 1,300 1,530 1,250 1,170.09 1,228.54
Inflation (%) 4.62 5.94 8.63 5.73 3.64 6.47 6.81

ที่มา: IMF  https://www.imf.org/en/Countries/MMR#countrydata

       1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ มิ.ย. 65 และ มิ.ย. 66

ประเทศ/สหภาพ สกุลเงิน อัตรา

สิ้นเดือน มิ.ย. 65

อัตรา

สิ้นเดือน มิ.ย. 66

USA 1 USD       1,850 MMK 2,100.00 MMK
Euro 1 EUR 1,929.20 MMK 2,300.60 MMK
Singapore 1 SGD  1,329.40 MMK 1,553.90 MMK
Thailand 1 THB 52.386 MMK 58.939 MMK

ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินสกุลท้องถิ่นเมียนมาจ๊าตมีความผันผวน ในช่วงเดือนมิถุนายนของปี 2566 เงินจ๊าตอ่อนค่าลงต่อทุกสกุลเงินเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยค่าเงินจ๊าตอยู่ที่อัตรา 2,100 MMK ต่อ 1 USD เนื่องจากการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางเมียนมา ทั้งนี้ ตลาดแลกเงินนอกระบบมีอัตราที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลาง โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 3,000 – 3,200 จ๊าตต่อ 1 USD

กราฟแสดงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินเมียนมาจ๊าต (MMK) ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ช่วงเดือนมิถุนายน 2566

 

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อยู่ที่ 2,100 MMK ต่อ 1 USD เพื่อให้ใกล้เคียงกับอัตราที่แท้จริงในตลาดแลกเงินท้องถิ่น และเป็นอัตราคงที่ สําหรับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ จะมีอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,100 จ๊าต ต่อ 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเมียนมาจะออกประกาศเพิ่มเติม หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง

1.3 ภาวะการลงทุน

1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ

ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนพฤษภาคม 2566 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 6.484 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังตาราง

ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – พฤษภาคม 2566

อันดับ ประเทศ มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย. 65 – มี.ค. 66

(ปีงบประมาณ 2022- 2023)

มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.-พ.ค. 66

สัดส่วน (%)
1 สิงคโปร์ 1,158.744 1.696 26.16%
2 ฮ่องกง 169.568
3 จีน 121.161 3.188 49.17%
4 ญี่ปุ่น 21.476
5 ไทย 98.350
6 เกาหลีใต้ 53.149
7 สวิตเซอร์แลนด์ 4.677
8 ไต้หวัน 4.414 1.00 15.42%
9 ซามัว 2.389
10 อังกฤษ 2.056
11 อินเดีย 1.545 0.600 9.25%
12 เบลิส 1.500
13 บังคลาเทศ 1.000
14 เซเชลส์ 0.338
รวม 1,640.667 6.484 100%

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนพฤษภาคม 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 94,801.130 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมา สูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,609.573 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.54 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 154 โครงการ

    ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2566

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนพฤษภาคม 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 76,080.162 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,429.539 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 5.99 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 104 โครงการ

    ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2566

1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ

ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2023 – 2024 ในเดือนเมษายน 2566 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ ได้แก่ ธุรกิจการผลิต สัดส่วนร้อยละ 84.54 และธุรกิจเกษตรกรรม สัดส่วนร้อยละ 15.42 รายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ปีงบประมาณ 2022-2023 (เม.ย. – พ.ค. 66)

อันดับ ประเภทธุรกิจ มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.65 – มี.ค. 66

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย. – พ.ค. 66

สัดส่วน (%)
1 Power 820.270
2 Services 504.123
3 Manufacturing 271.806 5.484 84.58%
4 Real Estate 29.00
5 Mining 7.00
6 Agriculture 3.50 1.00 15.42%
7 Livestock& Fisheries 2.168
8 Hotel&Tourism 2.80
  รวม 1,640.667 6.484 100%

สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2022-2023 สามอันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 27.18 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 21.25 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.42

ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2566

ตารางที่ 8 – สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

 รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนมิถุนายน 2566

  1. สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา

      2.1 สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา

ตารางที่ 9 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (เมษายน – มิถุนายน 2566)

เปรียบเทียบระหว่าง ปีงบประมาณ 2022-23 และ ปีงบประมาณ 2023-24

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

Export Import Trade Volume
2023-2024 2022-2023 % 2023-2024 2022-2023 % 2023-2024 2022-2023 %
(16-6-2023) (16-6-2022) change (16-6-2023) (16-6-2022) change (16-6-2023) (16-6-2022) change
2,734.314 3,432.126 -20.33% 4,016.692 3,482.410 15.34% 6,751.006 6,914.536 -2.36%

ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2566 ของปีงบประมาณ 2023-24 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 6,751.006 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในด้านของการส่งออกมีมูลค่า 2,734.314 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.33 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 4,016.692 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.34 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน 2566 เมียนมาเสียดุลการค้าเป็นมูลค่า 1,282.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

2.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา

      ตารางที่ 10 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (มิถุนายน 2566)

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 MANUFACTURING GOODS 1,740.680 63.66%
2 AGRICULTURAL PRODUCTS 749.491 27.41%
3 MARINE PRODUCTS 91.280 3.34%
4 MINERALS 64.308 2.35%
5 FOREST PRODUCTS 15.962 0.58%
6 ANIMAL PRODUCTS 1.452 0.05%
7 OTHER PRODUCTS 71.141 2.60%
รวม 2,734.314 100.0%

 

2.3 สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา

ตารางที่ 11 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (มิถุนายน 2566)

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 สินค้า Commercial Raw material 1,885.517 46.94%
2 สินค้า Investment Goods 910.217 22.66%
3 สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) 612.836 15.26%
4 อื่นๆ (CMP: Cutting, Making, Packing) 608.122 15.14%
รวม 4,016.692 100%

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

2.4 สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา

ตารางที่ 12 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

สถิติการค้าระหว่างไทย-เมียนมา

รายการ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%)
2565 2565

(ม.ค.-พ.ค.)

2566

(ม.ค.-พ.ค.)

2565 2565

(ม.ค.-พ.ค.)

2566

(ม.ค.-พ.ค.)

2565 2565

(ม.ค.-พ.ค.)

2566

(ม.ค.-พ.ค.)

มูลค่าการค้า 8,227.45 3,588.90 3,401.57 15.18 21.76 -5.22 1.39 1.44 1.42
การส่งออก 4,696.58 2,079.33 2,008.29 8.72 21.21 -3.42 1.64 1.70 1.73
การนำเข้า 3,530.87 1,509.57 1,393.29 25.06 22.54 -7.70 1.16 1.20 1.14
ดุลการค้า 1,165.71 569.76 615.00 -22.10 17.82 7.94

ที่มา : OPS กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย ณ วันที่ 30 มิ.ย. 66

เดือนมกราคม –  พฤษภาคม 2566 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมา รวมทั้งสิ้น 3,401.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.22 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 2,008.29 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.42 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการชะลอของเศรษฐกิจโลก สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 1,393.29 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.70 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 615 ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ  ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น

  1. สถานการณ์สำคัญ

3.1 เมียนมาให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนสำหรับธุรกิจ MSMEs

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 พลเอกอาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีเมียนมา กล่าวในการประชุมกับกลุ่มธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อย และขนาดเล็ก (MSMEs) ในพื้นที่ปกครองตนเองปะโอว่า การส่งเสริมธุรกิจ MSMEs มีเป้าหมายที่จะเพิ่มการผลิต ทดแทนสินค้านำเข้า และส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยรัฐบาลได้ให้เงินกู้แก่วิสาหกิจ MSMEs จากกองทุนส่งเสริมเศรษฐกิจของรัฐ ประกอบไปด้วยการก่อสร้างห้องเย็นสำหรับมันฝรั่ง และโรงงานปุ๋ยธรรมชาติ กิจการเกษตรและฟาร์มปศุสัตว์ในเขต การผลิตปุ๋ยธรรมชาติ การขยายพื้นที่ปลูกกาแฟและอุตสาหกรรมกาแฟ เงินกู้สำหรับการผลิตปูนซีเมนต์ การสนับสนุนไฟฟ้ากับการพัฒนาภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการเบิกเงินกู้ภายใต้หัวข้อต่าง ๆ และความจำเป็นในการชำระคืนเงินกู้สำหรับการออกเงินกู้เพิ่มเติม แผนเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับขยายธุรกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดการน้ำประปาสำหรับภูมิภาค เพื่อตอบสนองความต้องการของนักธุรกิจ

เนื่องจากผลผลิตข้าวเปลือกในพื้นที่ปะโอสูงถึง 67 ตะกร้าต่อเอเคอร์ เกษตรกรในท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องพยายามไปให้ถึงเป้าหมายของผลผลิตข้าวเปลือกต่อเอเคอร์เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับภูมิภาคนี้ โดยที่ดินที่เพาะปลูกจะต้องใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชมากเกินไปอาจทำให้น้ำแห้งส่งผลเสียต่อภาคการเกษตร การปลูกข้าวอย่างเป็นระบบด้วยเทคนิคการเกษตรที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มผลผลิตต่อเอเคอร์ของข้าวเปลือก

นอกจากนี้ การเพาะปลูกข้าวเปลือกและพืชผลจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยชีวภาพจากฟาร์มปศุสัตว์ ชาวบ้านจำเป็นต้องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำมากกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิง โครงการไฟฟ้าในรัฐฉานล่าช้าด้วยเหตุผลหลายประการ จึงต้องพยายามผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ปะโอ ทั้งนี้ รัฐบาลจ่ายเงินทุนให้กับเกษตรกรในท้องถิ่นภายใต้กฎหมายและข้อบังคับทางการเงินที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญกับการออกเงินกู้เป็นเงินทุนสำหรับอุตสาหกรรมขนาดที่จัดการได้ ปัจจุบัน โรงเรียนมัธยมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 แห่งใน 50 เขตเปิดสอนหลักสูตรเทคนิคการเกษตร และปศุสัตว์เพื่อเป็นการฝึกอาชีพให้กับนักเรียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนทรัพยากรมนุษย์ในภาคการเกษตร ปศุสัตว์ และอุตสาหกรรม ทุกคนจึงต้องพยายามส่งเสริมการศึกษาในภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาพื้นที่ปะโอ

การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อย และขนาดเล็ก มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการผลิต ทดแทนสินค้านำเข้าและส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศมากขึ้น รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับฟาร์มเกษตร โดยเน้นให้ความสำคัญกับการวิจัยทางการเกษตรด้วย

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.2 เมียนมายกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามากกว่า 600 คันได้ถูกนำเข้าในเขตการค้ามูเซของเมียนมา ภายใต้ระบบการยกเว้นภาษีศุลกากร ซึ่งรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ายี่ห้อ Kenbo จำนวน 640 คันที่นำเข้าโดยบริษัท Aung Kan Bo Motorcycle Industrial Co Ltd ได้มาถึงเขตการค้ามูเซ ภายให้การอนุญาตตามกฎและข้อบังคับของคณะกรรมการเพื่อการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ที่กำหนดให้การนำเข้า การผลิต หรือการค้ารถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs) และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องจะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ตามประกาศที่ 4/2023 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ซึ่งออกโดยรัฐบาลเมียนมา โดยใช้อำนาจที่กำหนดตามมาตรา 37 ของกฎหมายภาษี 2565 ภายใต้การอนุมัติของสภาบริหารแห่งรัฐ

นอกจากนี้ ตามข้อมูลของกระทรวงการวางแผนและการคลัง ได้กำหนดการยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยได้ขยายเวลาจากวันที่ 1 เมษายน 2566 ให้เป็นสิ้นเดือนมีนาคม 2567 และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมายังออกแถลงการณ์ว่า รถยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะได้รับการส่งเสริมในฐานะธุรกิจที่จัดอยู่ในลำดับสำคัญ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลเมียนมา ตามมาตราการใช้ไฟฟ้าที่ 43 และ 100 (B) ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายการลงทุนของเมียนมา

ทั้งนี้ ธุรกิจที่จะได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา ได้แก่ ธุรกิจบริการติดตั้ง ผลิตและซ่อมแซมรถยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจผลิตไฟฟ้าทดแทน ธุรกิจบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และบริการที่เกี่ยวข้อง บริการเดินรถโดยสารไฟฟ้า แท็กซี่ไฟฟ้าและธุรกิจบริการขนส่ง และธุรกิจพัฒนาการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาระบุว่า ในระหว่างขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจและการดำเนินงาน ธุรกิจเหล่านี้สามารถขอใบอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมาเพื่อรับการผ่อนปรนภาษีหรือภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ และได้รับการยกเว้นภาษีอื่น ๆ ที่เรียกเก็บในประเทศภายใต้มาตรา 77 (A) ของการลงทุนของเมียนมา รวมถึงการยกเว้นภาษีเงินได้ภายใต้มาตรา 75 (C) ของกฎหมายการลงทุนของเมียนมาสำหรับการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น อะไหล่ และวัตถุดิบก่อสร้างที่ไม่สามารถหาได้จากตลาดท้องถิ่น ซึ่งเมียนมากำหนดให้สามารถนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า (EVs) ภายใต้มาตรการผ่อนปรนภาษีศุลกากร โดยผ่านเส้นทางการค้าทางทะเลและชายแดน

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

 3.3 เมียนมาตั้งเป้าส่งเสริมธุรกิจ MSME ให้มีความมั่นคงเป็นระยะยาว เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของรัฐ

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 นายโซวิน รองประธานสภาบริหารรัฐ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุมที่ 1/2023 ของคณะกรรมการของกระทรวงอุตสาหกรรม ในกรุงเนปิดอว์ว่า ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อย และขนาดเล็ก (MSME) ในทั่วประเทศเมียนมาจะได้รับเงินทุนและเทคโนโลยีในการดำเนินงานการผลิตผ่านระบบสหกรณ์และระบบเอกชน โดยภาครัฐได้กำหนดแนวทางส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ MSME ได้แก่ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในประเทศ การทดแทนสินค้านำเข้าและส่งเสริมปริมาณการส่งออกให้เพิ่มขึ้น โดยหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวในการกำกับดูแลธุรกิจ MSME

หนึ่งโครงการในการสนับสนุนธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อย และขนาดเล็ก (MSME) คือโครงการหนึ่งภาครัฐหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยการกำหนดผลิตภัณฑ์ MSME เป็นผลิตภัณฑ์หลัก และผลิตภัณฑ์เหล่านั้นในประเทศสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมของวัตถุดิบในประเทศ ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องดำเนินการตามแผนเพื่อการพัฒนาศักยภาพของผลิตภัณฑ์

ธุรกิจ MSME จะได้รับเงินทุนและเทคโนโลยี ในการดำเนินงานการผลิตผ่านระบบสหกรณ์และระบบเอกชน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยหมุนเวียนของเงินในภาคการลงทุนให้ราบรื่น เนื่องจากอาจเผชิญหน้ากับปัญหาอุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ ในกระบวนการทำงาน

นอกจากนี้ ภาครัฐยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเผยแพร่ข้อมูลแก่นักธุรกิจ MSME และประชาชน ตลอดเวลา และพัฒนาทรัพยากรบุคคลสำหรับธุรกิจ MSME เพื่อให้ธุรกิจ MSME ได้รับการส่งเสริมให้มั่นคงเป็นระยะยาวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของรัฐ อีกทั้งธุรกิจ MSME จำเป็นต้องผลิตสินค้าที่หลากหลายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากธุรกิจ MSME ยังคงเผชิญกับความยากลำบากในการผลิต การส่งเสริมตลาด การเผยแพร่ข้อมูล และการโอนเงินในการซื้อขายผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล จึงจำเป็นต้องแสวงหาแนวทางและวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ MSME

ภาครัฐยังให้ความสำคัญในเรื่องการเบิกจ่ายสินเชื่อแก่ธุรกิจ MSME และกฎและระเบียบการกู้ยืม รวมถึงแนวทางการแก้ไขกฎหมายการพัฒนาธุรกิจ MSME การมอบหมายให้ภูมิภาคและรัฐจัดลำดับความสำคัญของการผลิตสินค้าที่สามารถทดแทนสินค้านำเข้าได้ และสินค้าที่เพิ่มมูลค่า มาตรการเครื่องหมายการค้า ข้อมูลการส่งออกสำหรับธุรกิจ MSME การจัดตั้งกลไกข้อมูลเพื่อเผยแพร่ข้อมูล MSME และข้อมูลรายงานดัชนีนโยบาย SME อาเซียน

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.4 กระทรวงพาณิชย์เมียนมากำหนดบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายในสิ้นปี 2566

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เมียนมาประกาศในพิธีเปิดงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ณ กรุงย่างกุ้ง ว่ากระทรวงพาณิชย์เมียนมากำลังดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายในสิ้นปี 2566 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบลิขสิทธิ์ และได้เริ่มจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอย่างเป็นทางการโดยผ่านศูนย์รับคำร้องในกรุงเนปยีดอว์ ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2566

ในบรรดากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสี่ฉบับ กฎหมายเครื่องหมายการค้าได้มีผลบังคับใช้แล้ว และกระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการเพื่อบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และกฎหมายลิขสิทธ์ทางด้านวรรณกรรมและด้านศิลปกรรม ภายในสิ้นปี 2566 ตามด้วยกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในปี 2567

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.5 รัฐบาลของรัฐกะเหรี่ยงให้เงินกู้แก่ผู้ประกอบการยางพาราจากกองทุน MSMEs

รัฐบาลเมียนมาสนับสนุนธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อย และขนาดเล็ก (MSMEs) ให้ดำเนินการทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสำหรับตลาดทั้งในประเทศและนอกประเทศ

รัฐบาลรัฐกะเหรี่ยง (Kayin State Government) ประกาศที่จะให้เงินกู้กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางพาราและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องภายในเขตของรัฐ โดยการยืนยันจากสำนักงานรัฐบาลของรัฐกะเหรี่ยงว่า เงินกู้เหล่านี้จะมาจากกองทุน MSME ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม

รัฐบาลรัฐกะเหรี่ยงจะจัดหาเทคนิคการเกษตรและเงินทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสวนยางพาราภายในรัฐ ยางพาราส่วนใหญ่ผลิตในรัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยง เช่นเดียวกับในภาคตะนาวศรี พะโค และย่างกุ้งของเมียนมา

ปัจจุบัน ผู้ประกอบการยางท้องถิ่นของรัฐกะเหรี่ยงปลูกสวนยางพารากว่า 260,000 เอเคอร์ และกว่า 1.628 ล้านเอเคอร์ทั่วประเทศเมียนมา โดยรัฐมอญมีพื้นที่กว่า 497,000 เอเคอร์ และภาคตะนาวศรีมีพื้นที่กว่า 348,000 เอเคอร์

สวนยางพาราในรัฐกะเหรี่ยงให้ผลผลิตน้ำยางประมาณ 1,000 ตันต่อวัน ในตลาดท้องถิ่น ราคายางพารามีอัตรา 1,400 จ๊าตต่อปอนด์ ยางพาราตากแห้ง มีราคา 1,470 จ๊าตต่อปอนด์ ในขณะที่ยางแผ่นรมควัน Local-3 มีราคาสูงถึง 1,490 จ๊าตต่อปอนด์

ปัจจุบัน เมียนมาส่งออกยางพาราหลายประเภทไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถในการสร้างรายได้ของอุตสาหกรรมยางพาราของเมียนมา

โดยการจัดหาเงินกู้จากกองทุน MSME รัฐบาลรัฐกะเหรี่ยง มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการยางพาราและพัฒนาภาคส่วนยางพาราภายในพื้นที่ต่อไป กลยุทธ์อันแรกนี้ไม่เพียงแต่จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างสถานะของเมียนมาในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในตลาดยางพาราโลกอีกด้วย

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

 มิถุนายน 2566

 

 

 

 

thThai