บริษัทการตลาด Boston Consulting Group (BCG) ร่วมกับมูลนิธิ  Altagamma  ที่มีสมาชิกเป็นหน่วยงานทางด้านวัฒนธรรม ผู้ประกอบการงานฝีมือชั้นสูง และบริษัทออกแบบของประเทศอิตาลี ทำการศึกษาข้อมูลกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าหลักของตลาดสินค้าลักชัวรี่ (True-Luxury Global Consumer Insights) จากหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกาตลาดสินค้าลักชัวรี่อันดับหนึ่งของโลก  จีนเป็นอันดับที่สอง  และประเทศอื่นๆอีกกว่า 10 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงฝรั่งเศสและญี่ปุ่น   ด้วยการวิเคราะห์เจาะลึกข้อมูลจากลูกค้าทั้งสิ้น  12,000  รายที่มียอดซื้อสินค้ามากกว่า 39,000 ยูโรต่อคนต่อปี ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้บริโภคที่เรียกว่า True Luxury

กลุ่มลูกค้าระดับ True Luxury คิดเป็นจำนวนประมาณ 20 ล้านรายทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ที่มีจำนวน 16.8 ล้านราย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • มียอดซื้อสินค้าต่อคนต่อปีมากกว่า 5,000 ยูโรซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าตลาดสินค้าลักชัวรี่ทั่วโลก
  • มีความต้องการในการบริโภคในระดับสูง และมีประสบการณ์ในการจับจ่ายสินค้าลักชัวรี่เป็นอย่างดี
  • คาดการณ์ว่าภายในปี 2026 ผลประกอบการสินค้าลักชัวรี่จากกลุ่ม True Luxury นี้จะมีมูลค่าสูงถึง 4.3 – 4.7 แสนล้านยูโรจากผลประกอบการรวมของการบริโภคจากลูกค้าทุกกลุ่มรวมกันที่คิดเป็นมูลค่า 1.27 ล้านล้านยูโร  (แผนภูมิประกอบด้านล้าง)ผู้บริโภคสินค้าลักชัวรี่รุ่นเยาว์ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั่วโลก

สินค้าลักชัวรี่ตามเนื้อหาในรายงานแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่

  • Personal Luxury Goods  (สินค้าเครื่องหนัง, เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, นาฬิกา, เครื่องประดับ ฯลฯ)
  • Luxury Experience Service  สินค้าลักชัวรี่ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการและประสบการณ์ของผู้บริโภค (อาหาร,ไวน์, โรงแรมและการท่องเที่ยว ไปจนถึงเครื่องเรือนซึ่งต้องผ่านการสั่งทำเป็นพิเศษ ฯลฯ)

นาย Joel Hazan ผู้อำนวยการและหุ้นส่วนบริษัทการตลาด BCG Paris กล่าวว่า ผู้บริโภค True Luxury สามารถแบ่งตามอายุได้เป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่

  1. ผู้บริโภคเจเนอเรชั่น X (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1965-1979), Babyboomers (1946-1964)  และ กลุ่ม Seniors
  2. ผู้บริโภครุ่นเยาว์ (เจเนอเรชั่น Millennials เกิดระหว่างปี 1981-1996) และเจเนอเรชั่น Z (1997-2012) ซึ่งมีระดับการบริโภคสินค้ามากกว่าผู้บริโภคกลุ่มแรกถึงร้อยละ 15

โดยผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มเน้นการซื้อสินค้า Personal Luxury Goods เป็นหลัก ส่งผลให้มูลค่าการบริโภคสำหรับสินค้าประเภทนี้จากผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มรวมกันสูงถึง 2 แสนล้านยูโร

ปัจจุบันแบรนด์ลักชัวรี่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกลับกลุ่มผู้บริโภครุ่นเยาว์เพิ่มมากขึ้นกว่าลูกค้ากลุ่มอายุอื่น  เนื่องจากเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีบริโภคสินค้าลักชัวรี่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าจากปี 2016  เป็นต้นมา โดยคาดการณ์อัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นสูงจนมีสัดส่วนในตลาดสินค้าลักชัวรี่ถึงร้อยละ 75 ในปี 2026

 

ในบรรดาผู้บริโภคในกลุ่ม True Luxury ลูกค้าที่มียอดซื้อสินค้าต่อปีมากกว่า  50, 000 ยูโรต่อคนต่อปีมีประมาณ 500,000 รายทั่วโลก ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นลูกค้ากลุ่ม Beyond Money  เป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญของแบรนด์ลักชัวรี่ โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2026 จำนวนลูกค้ากลุ่มนี้สามารถเพิ่มสูงขึ้นเป็น 600,000 รายและส่งผลให้ยอดขายจากลูกค้ากลุ่มนี้สูงถึง 60,000 ล้านยูโร  (แผนภูมิประกอบด้านล่าง)ผู้บริโภคสินค้าลักชัวรี่รุ่นเยาว์ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั่วโลก

นอกเหนือจากกลุ่ม Beyond Money แล้ว ในบรรดาผู้บริโภค True Luxury มีกลุ่มอีกลูกค้าที่ใช้จ่าย มากกว่า 20,000 ยูโรต่อคนต่อปี   ซึ่งมีปริมาณไม่ถึงร้อยละ 1 ของผู้บริโภคสินค้าลักชัวรี่ทั้งหมด แต่สามารถสร้างผลประกอบการให้ตลาดสินค้าลักชัวรี่ได้ถึงร้อยละ 10 ของผลประกอบการโดยรวมของตลาดสินค้าลักชัวรี่ และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง      โดยผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าตลาดผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมีอัตราการเติบโตในระดับร้อยละ 8 ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2022 – 2026    ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตของกลุ่มผู้บริโภคสินค้าลักชัวรี่โดยรวมซึ่งจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 6

ในรายงานข้อมูลกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าหลักของตลาดสินค้าลักชัวรี่ฉบับนี้ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้า  True Luxury ไว้เช่นเดียวกัน สรุปได้ว่า

  • ผู้บริโภคเกินกว่าครึ่งมีความพอใจต่อประสบการณ์ที่ได้รับจากการซื้อสินค้าจากแบรนด์ ในขณะที่ร้อยละ 11 ยังคงมีความคาดหวังต่อสินค้าและบริการในระดับที่สูงกว่านี้ (ผู้บริโภคฝรั่งเศสมีความคาดหวังสูงที่สุดที่ร้อยละ 22 รองลงมาเป็นสหรัฐอเมริการ้อยละ 14 และจีนร้อยละ 13)
  • ผู้บริโภคเจเนอเรชั่น Z ถึง 1 ใน 5 ยังเห็นว่าระบบการบริการด้านดิจิทัลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ในขณะที่ผู้บริโภคเจเนอเรชั่น Babyboomer มีเพียง 1 ใน 10

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดลงความเห็นว่าผู้บริโภคมีความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้นในทุกด้าน   ถึงแม้ว่าประสบการณ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากร้านค้าจะเป็นที่น่าพอใจ   แต่แบรนด์ต่างๆจำเป็นต้องเพิ่มประสบการณ์ด้านดิจิทัลและใช้กลยุทธ์การตลาดแบบผสมผสาน (omni-channel) 

ความเห็น สคต.

การเติบโตของตลาดลูกค้าเจเนอเรชั่น Z (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1997-2012) ไม่เพียงแต่ได้รับความสนใจจากแบรนด์สินค้าลักชัวรี่เท่านั้น   แบรนด์ต่างๆในฝรั่งเศสและบริษัทด้านการตลาดระดับนานาชาติต่างให้ความสนใจศึกษาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับผู้บริโภคกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน  บริษัทที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ Oxford Economics ร่วมกับบริษัท Snapchat เลือกทำการศึกษาข้อมูลผู้บริโภคเจเนอเรชั่น Z อย่างเจาะลึกในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงฝรั่งเศส   เนื่องจากภายในปี 2030  ประชากรเจเนอเรชั่น Z ทั่วโลกรวมกันจะมีสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 3 ของประชากรวัยทำงานทั้งหมดทั่วโลก  สำหรับในประเทศฝรั่งเศสประชากรกลุ่มนี้จะกลายเป็นกลุ่มอายุที่จะเป็นกำลังสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26 ของประชากรวัยทำงานในประเทศ  รายได้ของประชากรกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นเกือบ 9 เท่าในช่วงเวลา 10 ปีจาก 25,000 ล้านยูโรในปี 2019  เป็น 2.13 แสนล้านยูโร ในปี 2030  ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้ระดับการบริโภคของประชากรกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย  ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทยในอนาคต  การศึกษาข้อมูลของตลาดผู้บริโภคเจเนอเรชั่น Z มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสินค้าและวางแผนการตลาดให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม

ที่มาของข่าว

Virginie Jacoberger-Lavoué

ข่าวออนไลน์ หนังสือพิมพ์ Les Echos

https://www.lesechos.fr/industrie-services/mode-luxe/luxe-lincroyable-montee-en-puissance-des-jeunes-acheteurs-1959308

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงปารีส

thThai