ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์หรือสินค้าออร์แกนิคทั่วโลกมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 1999 ประชาชนมีความใส่ใจต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการผลิตอาหารจากกระบวนการทางเกษตรกรรมและปศุสัตว์ต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นกระแสที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารออร์แกนิคเพิ่มมากขึ้น

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้ายั่งยืนในเนเธอร์แลนด์มีการพัฒนาและขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความต้องการสินค้าอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อตลาดสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์และสินค้าอาหารยั่งยืนในทุกมิติตั้งแต่การผลิตไปถึงการบริโภค ยอดจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์หรือสินค้าออร์แกนิคในเนเธอร์แลนด์อยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นในกลุ่ม BENELUX แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารออร์แกนิคจะมีราคาแพงกว่าผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไปอย่างมาก เนื่องจากการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่จะต้องปราศจากการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี หรือยาฆ่าแมลงใดๆ มีประสิทธิภาพน้อยกว่าและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการทำเกษตรกรรมวิธีปกติ แต่ส่วนแบ่งทางการตลาดของยอดค้าปลีกสินค้าอาหารออร์แกนิคขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยในปี 2020 การใช้จ่ายสินค้าอาหารออร์แกนิคคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของค่าใช้จ่ายด้านอาหารทั้งหมด หากในอนาคตช่องว่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์อาหารออร์แกนิคและอาหารทั่วไปลดน้อยลงก็จะส่งผลให้ยอดจำหน่ายสินค้าอาหารออร์แกนิคเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ตลาดสินค้าออร์แกนิคในเนเธอร์แลนด์ในปี 2021 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 1,332.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 2.2 ของความต้องการสินค้าออร์แกนิคทั่วโลก และคาดว่าตลาดสินค้าออร์แกนิคในเนเธอร์แลนด์จะมีการขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.2 ในช่วงระหว่างปี 2021-2026

 

Bionext ประเทศเนเธอร์แลนด์

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์

Bionext เป็นองค์กรสำหรับเกษตรอินทรีย์และอาหาร ดูแลด้านการวิจัย การประชาสัมพันธ์ กฎหมาย การล็อบบี้ และการพัฒนาตลาด เป็นองค์กรที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงผู้บริโภค เป็นการเชื่อมโยงทั้งห่วงโซ่เกษตรอินทรีย์ของเนเธอร์แลนด์ ทั้งภาคเกษตรกร นักวิจัย นักการเมือง เจ้าของร้าน ผู้ค้า และผู้บริโภค โดยแบ่งออกเป็น Biohouse (เกษตรกร) BioNetherlands (การค้าและการผลิต) และกลุ่มร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าออร์แกนิค โดย Bionext ให้ความสำคัญกับกลุ่มสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เนื้อวัว เนื้อหมู สัตว์ปีก ไข่ Bionext ยังให้ความสำคัญกับการส่งออก การนำเข้า และการค้าขายด้วย Bionext มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนแนวคิดด้านเกษตรอินทรีย์ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคยุโรป เพื่อให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์จะเป็นไปในแนวทางาที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์ของเนเธอร์แลนด์มากที่สุด

 

Skal Biocontrol

Skal Biocontrol เป็นองค์กรอิสระที่ตรวจสอบและรับรองห่วงโซ่เกษตรอินทรีย์ทั้งหมดในเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการค้าผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป (Organic EU Regulation) พระราชบัญญัติคุณภาพการเกษตรของเนเธอร์แลนด์ (Dutch Agricultural Quality Act) และกฎระเบียบข้อบังคับและหลักการของ Skal Biocontrol ซึ่งการดำเนินการตรวจสอบและรับรองของ Skal Biocontrol เป็นการดำเนินการในนามของกระทรวงเกษตร ธรรมชาติ และคุณภาพอาหาร (Ministry of Agriculture, Nature and Food Quality) โดยกระทรวงเกษตร ธรรมชาติ และคุณภาพอาหารได้กำหนดให้ Skal Biocontrol Foundation เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ของสหภาพยุโรปสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์

Skal Biocontrol ระบุว่าในปี 2022 มีบริษัทที่ทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก Skal Biocontrol จำนวน 2,242 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2021 ถึง 34 แห่ง มีพื้นที่การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จาก 78,248 เฮกตาร์ ปี 2021 เป็น 79,853 เฮกตาร์ (ไม่รวมพื้นที่ที่อยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์) มีสัดส่วนของพื้นที่เกษตรอินทรีย์กับพื้นที่การเกษตรทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 4.4 สำหรับพื้นที่ที่อยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 รวมเป็น 6,571 เฮกตาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทใหม่ที่ทำการเกษตรแบบทั่วไปและต้องการปรับเปลี่ยนเป็นฟาร์มเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าบริษัทที่ทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์จะซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายพื้นที่ในการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ให้ใหญ่ขึ้น หรือมีการควบรวมบริษัทเข้าด้วยกันเพื่อขยายพื้นที่การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์

ที่มา: Bionext, Skal Biocontrol

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์

ที่มา: Bionext, Skal Biocontrol

 

พฤติกรรมผู้บริโภค

ผู้บริโภคเนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญและใส่ใจเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และมองว่าเกษตรอินทรีย์เป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์หรือสินค้าออร์แกนิคจึงเพิ่มมากขึ้น ระหว่างปี 2010-2015 ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิคเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และระหว่างปี 2015-2019 ยอดจำหน่ายสินค้าออร์แกนิคเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-8 ต่อปี แต่ในปี 2020 สถานการณ์เปลี่ยนไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายลดงลง รวมถึงการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าออร์แกนิคที่ลดลงร้อยละ 1 แต่ในปี 2021 สถานการณ์เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2

ในปี 2022 ที่อัตราเงินเฟ้อของเนเธอร์แลนด์มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ดูเหมือนจะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับภาคเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งต้องหันไปซื้อสินค้าที่ไม่ใช่ออร์แกนิคที่มีราคาถูกลงจากแรงกดกันเรื่องปัญหาค่าครองชีพ แต่ปัจจัยเรื่องอัตราเงินเฟ้อกลับมีส่วนผลักดันให้มูลค่าซื้อขายสินค้าออร์แกนิคเติบโตขึ้นอย่างน่าแปลกใจ โดยมีมูลค่าการซื้อขายสินค้าอาหารออร์แกนิคในปี 2022 อยู่ที่ 1.4 พันล้านยูโร ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 และอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มูลค่าซื้อขายสินค้าออร์แกนิคเพิ่มขึ้นคือ ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกสินค้าที่มากขึ้น โดยร้อยละ 15 เป็นการเพิ่มขึ้นจากปริมาณการซื้อขายสินค้า และอีกร้อยละ 10 เป็นการเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคชาวเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่ไม่เพียงเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิคมากขึ้น แต่ยังซื้อสินค้าออร์แกนิคบ่อยมากขึ้นกว่าในอดีตอีกด้วย โดยร้อยละ 3.5 ของมูลค่าการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดสำหรับใช้ในครัวเรือนเป็นสินค้าออร์แกนิค โดยเหตุผลหลักที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าออร์แกนิคคือความเป็นมิตรกับสัตว์ และผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งสภาพภูมิอากาศ คุณภาพดิน และคุณภาพน้ำ จากการสำรวจของสถาบันวิจัย I&O พบว่า ผู้บริโภคเกือบร้อยละ 80 จะหันมาเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิคเพิ่มมากขึ้นและบ่อยมากขึ้น หากสินค้าออร์แกนิคมีราคาถูกลงหรือมีตัวเลือกสินค้าออร์แกนิคให้เลือกเพิ่มมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ซึ่งซุปเปอร์มาร์เก็ตมีบทบาทสำคัญในการจัดหาสินค้าออร์แกนิคเพื่อนำเสนอทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค และมีบทบาทสำคัญในการเติบโตของยอดจำหน่ายสินค้าออร์แกนิค โดยร้อยละ 73 ของการซื้อขายสินค้าออร์แกนิคทั้งหมดเป็นสินค้าที่วางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต

กลุ่มผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออร์แกนิคสัปดาห์ละครั้งขึ้นไปหรือกลุ่ม Heavy Buyers เป็นกลุ่มที่มีอัตราขยายตัวเร็วที่สุด ส่วนกลุ่มผู้บริโภคสินค้าออร์แกนิคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือกลุ่ม Medium Buyers หรือผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออร์แกนิคประมาณ 12-52 ครั้งต่อปี โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้จะซื้อสินค้าออร์แกนิคเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.1 ครั้งต่อเดือนหรือ 37.4 ครั้งต่อปี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 40 ของครัวเรือนชาวดัตช์ทั้งหมด

 

การนำเข้าส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์

ในปี 2022 พื้นที่การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ในเนเธอร์แลนด์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพื้นที่ที่อยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ด้วย แม้ว่าเนเธอร์แลนด์จะมีการทำการเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศ แต่เนเธอร์แลนด์ก็เป็นประเทศที่มีปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์มากที่สุดในสหภาพยุโรป รองลงมา คือ เยอรมนี เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส และอิตาลี โดยในปี 2021 เนเธอร์แลนด์มีปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ 945,125 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ที่มีปริมาณการนำเข้าอยู่ที่ 857,361 ตัน

 

 

 

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์

นอกจากการผลิตและการนำเข้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศแล้ว เนเธอร์แลนด์ยังมีการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในประเทศและการ Re-export สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นำเข้ามาไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปอีกด้วย โดยเฉพาะการ Re-Export ไปยังประเทศเยอรมนี เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าทั้ง 4 ประเทศนี้จะมีการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศ แต่ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ จึงต้องมีการนำเข้าเพิ่มเติม โดยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์เป็นหลักเนื่องจากเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าคล้ายกัน และผู้นำเข้า/ผู้ค้าเนเธอร์แลนด์มีประเภทสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่หลากหลาย

กฎระเบียบ

ระบบอาหารที่ยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญของ European Green Deal และภายใต้กลยุทธ์ Farm to Fork ของ European Green Deal คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ และตั้งเป้าหมายว่าพื้นที่เกษตรกรรมของสหภาพยุโรปอย่างน้อยร้อยละ 25 จะต้องเป็นพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ และตั้งเป้าหมายให้มีการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างมากภายในปี 2030 และเพื่อให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเพื่อให้กรอบกฎหมายของสหภาพยุโรปมีประสิทธิภาพสำหรับภาคอุตสาหกรรมนี้ สหภาพยุโรปได้ผ่านกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ คือ Regulation (EU) 2018/848 of the European Parliament and of the Council of 30 May 2018 on organic production and labelling of organic products and repealing Council Regulation (EC) No. 834/2007 หรือกฎระเบียบสหภาพยุโรปว่าด้วยการผลิตเกษตรอินทรีย์และการติดฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์ และให้ยกเลิกกฎระเบียบฉบับเดิม Council Regulation (EC) No. 834/2007 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022

กฎระเบียบ Regulation (EU) 2018/848 ฉบับใหม่นี้ตั้งอยู่บนหลักการเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของยุโรป และเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและข้อกำหนดมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความซับซ้อน เสริมความแข็งแกร่งของระบบการกำกับดูแลผ่านมาตรการป้องกันที่เข้มงวดและการควบคุมที่เหมาะสมตลอดห่วงโซ่อุปทาน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในระบบเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป ทำให้เกษตรกรรายย่อยสามารถปรับเปลี่ยนมาผลิตเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายขึ้นผ่านระบบการรับรองแบบกลุ่มใหม่ ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมโดยการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบและข้อกำหนดเกี่ยวกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นำเข้าให้เป็นกฎเดียวกันสำหรับผู้ผลิตในสหภาพยุโรปและผู้ผลิตในประเทศที่สาม เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดที่จำหน่ายในสหภาพยุโรปมีมาตรฐานเดียวกัน และครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้นที่จะสามารถวางจำหน่ายได้แบบออร์แกนิค ซึ่งกฎระเบียบนี้ครอบคลุมทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ที่ห้ามใช้ GMOs การเพาะปลูก การจำกัดการใช้ปุ๋ย สารกำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลง การควบคุมวัชพืชและแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ การเก็บเกี่ยว การรักษาและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน หรือการเลี้ยงสัตว์ อาหารสัตว์ การห้ามใช้ฮอร์โมนและจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต่อสุขภาพสัตว์ โดยให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของสัตว์ การส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ตามหลักการเกษตรอินทรีย์ ไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย และการติดฉลากผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค

 

เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าออร์แกนิค

คำว่า “เกษตรอินทรีย์” หรือ “ออร์แกนิค” เป็นคำที่ได้รับการคุ้มครองและสามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์อาหารออร์แกนิค อาหารสัตว์ การปลูกพืชและดอกไม้ที่มีการควบคุม การตรวจสอบและรับรองเท่านั้น ผู้บริโภคจะรับรู้ได้ว่าผลิตภัณฑ์ใดเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคหรือไม่จากเครื่องหมายรับรองคุณภาพออร์แกนิค ซึ่งผู้บริโภคสามารถสังเกตเห็นเครื่องหมายได้ง่ายบนบรรจุภัณฑ์สินค้า เป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และยังเป็นการช่วยให้เกษตรกรและผู้ผลิตสามารถทำการตลาดสินค้าออร์แกนิคได้ การได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานและคุณภาพสินค้าออร์แกนิคจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อการจำหน่ายสินค้าประเภทออร์แกนิค

 

The European Biological Certificate หรือ European Green Leaf

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์

 

เครื่องหมายรับรองมาตรฐานและคุณภาพออร์แกนิคของสหภาพยุโรป หรือที่รู้จักกันดีและเรียกกันว่า “ใบไม้สีเขียว” เป็นเครื่องหมายรับรองและยืนยันคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคทุกประเภท บริษัทที่ต้องการผลิต แปรรูป บรรจุหีบห่อ นำเข้า ค้าขาย หรือจัดเก็บผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคจำเป็นต้องได้รับการรับรองเครื่องหมายนี้

สินค้าที่จะได้รับเครื่องหมายนี้จะต้องมีมาตรฐานฟาร์มออร์แกนิคตรงตามกฎระเบียบข้อบังคับของคณะกรรมาธิการยุโรป (Council Regulation (EC) No 834/2007 of 28 June 2007 on organic production and labelling of organic products and repealing Regulation (EEC) No 2092/91)  และปฏิบัติตามแนวทางและมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ของ IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) หรือสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ดูแลเรื่องผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค เครื่องหมายนี้จะมอบให้กับสินค้าออร์แกนิคที่มีการผลิตอยู่ในยุโรป แต่ถ้าสินค้าออร์แกนิคที่ผลิตจากประเทศนอกสหภาพยุโรปต้องการจะรับเครื่องหมายนี้ก็สามารถยื่นขอได้ โดยเครื่องหมายนี้เป็นเครื่องหมายที่รับรองว่าเป็นสินค้าออร์แกนิคที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากมีการกำหนดมาตรฐานไว้สูงมาก ทั้งการควบคุม ความโปร่งใส และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ลักษณะของสินค้าที่จะผ่านเกณฑ์มีดังนี้

  • ต้องมีวัตถุดิบออร์แกนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าอย่างน้อย ร้อยละ 95
  • ต้องระบุแหล่งที่มาของสินค้าอย่างชัดเจน
  • ไม่มีการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง
  • ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี
  • การผลิตสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ต้องคำนึงถึงไปถึงคุณภาพและสุขภาพของสัตว์ระหว่างการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มด้วย

 

 

EKO

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์

EKO เป็นเครื่องหมายที่ออกให้โดย Skal Biocontrol เป็นเครื่องหมายรับรองสินค้าออร์แกนิคเครื่องหมายแรกๆ ของสหภาพยุโรป แต่หลังจากการประกาศใช้เครื่องหมาย European Green Leaf ในปี 2010 เครื่องหมาย European Green Leaf ก็กลายเป็นเครื่องหมายหลักสำหรับสินค้าออร์แกนิคในสหภาพยุโรป

คุณภาพระดับ Top ที่มาจากเนเธอร์แลนด์ เครื่องหมายคุณภาพ EKO มีไว้สำหรับผู้ประกอบการเกษตรที่ทำงานตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ ภูมิทัศน์ และสวัสดิภาพสัตว์ บริษัทการเกษตรที่ได้รับเครื่องหมายคุณภาพ EKO จะไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม และปุ๋ยเทียม และผู้เลี้ยงโคที่มีเครื่องหมายคุณภาพจะหมายถึงผู้ที่มีวิธีการทำงานที่เป็นมิตรต่อสัตว์ โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 จะกลายเป็น “EKO on it”

 

Demeter

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์

 

Biodynamic Federation Demeter International (BFDI) เป็นองค์กรรับรองที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการเกษตรแบบ Biodynamic หรือเกษตรชีวพลวัต BFDI เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่สนับสนุนองค์กรต่างๆ ที่เป็นสมาชิก เป็นตัวแทนเกษตรกรมากกว่า 7,000 ราย มีพื้นที่การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ประมาณ 230,000 เฮกตาร์ ใน 65 ประเทศทั่วโลก ซึ่งใน 36 ประเทศมีการรวมตัวกันของเกษตรกรเพื่อทำการเกษตรแบบ Biodynamic

มาตรฐาน Demeter เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เข้มงวดที่สุด ตั้งแต่การทำเกษตรอินทรีย์แบบครอบคลุมที่ต้องการการสร้างและการจัดการระบบปิดโดยพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าน้อยที่สุด และตอบสนองความต้องการจากพลวัตของฟาร์มที่เน้นการรักษาหน้าดินและพื้นที่ทำการเกษตรให้มีความยั่งยืน ไปจนถึงการแปรูปเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคสำเร็จรูป เกษตรกรผู้เพาะปลูกและผู้ประกอบการผู้แปรรูปหรือผลิตสินค้าออร์แกนิคที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายนี้ได้จะต้องผ่านมาตรฐาน การตรวจสอบ และการควบคุมที่เข้มงวดขององค์กร BFDI

 

สินค้าอาหารออร์แกนิคในประเทศเนเธอร์แลนด์

สินค้าออร์แกนิคที่วางจำหน่ายในเนเธอร์แลนด์มีหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าอาหารสด อาทิ ผักและผลไม้สด เนื้อสัตว์ ไข่ ชีส ผลิตภัณฑ์นม และขนมปัง เป็นต้น และสินค้าอาหารแห้ง อาทิ ข้าว เส้นพาสต้า เส้นก๋วยเตี๋ยว ซีเรียลอาหารเช้า ที่ทาขนมปัง น้ำผึ้ง น้ำมันพืช อาหารกระป๋อง ซอส อาหารเด็ก ขนม ช็อคโกแลต คุ้กกี้ เครื่องดื่ม กาแฟ ชา และน้ำผลไม้ เป็นต้น

 

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์

 

 

ช่องทางการจำหน่ายสินค้าออร์แกนิคในเนเธอร์แลนด์

สินค้าออร์แกนิคมีวางจำหน่ายที่ซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำทั่วไป เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของเนเธอร์แลนด์อย่าง Albert Heijn และ Jumbo ซึ่งมีการเติบโตของยอดจำหน่ายสินค้าออร์แกนิคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าออร์แกนิคโดยเฉพาะที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ เช่น Ekoplaza, Marqt, Natuurwinkel และ BioMarkt เป็นต้น

 

รายชื่อ ที่อยู่ เว็ปไซต์
Albert Heijn B.V.ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ Postbus 3000, 1500HA Zaandam www.ah.nl
Marqt B.V.ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ Barentszplein 7, 1013 NJ Amsterdam www.marqt.com
Natuurwinkel Daltonstraat 38

3846 BX Harderwijk

www.natuurwinkel.nl
Ekoplazaตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ Doornhoek 4040

5465 TD Veghel

www.ekoplaza.nl
Jumbo Supermarkten B.V.ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ Doornhoek 4040

5465 TD Veghel

www.jumbosupermarkten.nl

 

บทวิเคราะห์และความเห็นสคต.

ปัจจุบันคนทั่วโลกให้ความสำคัญและใส่ใจเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์หรือสินค้าออร์แกนิคทั่วโลกจึงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดว่ามูลค่าซื้อขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมถึงส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าเกษตรอินทรีย์ก็มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

สหภาพยุโรปมีนโยบาย European Green Deal และแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ (Organic Action Plan) มีการเตรียมพร้อมที่จะก้าวเป็นผู้นำในการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ และภายใต้กลยุทธ์ Farm to Fork ของนโยบาย European Green Deal สหภาพยุโรปตั้งเป้าหมายที่จะมีพื้นที่ในการทำเกษตรอินทรีย์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์อย่างน้อยร้อยละ 25 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดของสหภาพยุโรปภายในปี 2030 แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ด้านที่มีความเชื่อมโยงและสะท้อนถึงโครงสร้างของห่วงโซ่อุปทานอาหารและวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน ได้แก่ 1) การกระตุ้นความต้องการและสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค 2) การกระตุ้นการปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์และเสริมสร้างห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด และ 3) การทำเกษตรอินทรีย์ที่เป็นตัวอย่าง โดยการพัฒนาและปรับปรุงการมีส่วนร่วมของการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้ง 3 ด้านนี้จะได้รับการสนับสนุนภายใต้นโยบายเกษตรร่วม (The Common Agricultural Policy : CAP) ทั้งการสนับสนุนทางการเงิน การสนับสนุนด้านเทคนิคและการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) รวมถึงนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ และการให้คำปรึกษาด้านการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบความรู้และนวัตกรรมการเกษตร (Agricultural Knowledge and Innovation System : AKIS)

เนเธอร์แลนด์ในฐานะสมาชิกสหภาพยุโรปก็ต้องปฏิบัติตามนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ แม้ว่าพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ของเนเธอร์แลนด์จะเพิ่มมากขึ้นแต่ก็ยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรกรรมทั่วไปและยังห่างไกลเป้าหมายร้อยละ 25 ที่สหภาพยุโรปตั้งเป้าไว้มาก อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการเติบโตของยอดจำหน่ายสินค้าออร์แกนิคในซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่ก็ยังถือว่าเติบโตช้ากว่าหลายประเทศในสหภาพยุโรป เนื่องจากผู้บริโภคชาวเนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญเรื่องราคาสินค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาวดัตช์ที่เป็นผู้ค้าที่ให้ความสำคัญกับราคาและต้องการจ่ายเงินให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ ถ้าหากภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์สามารถทำให้ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ถูกลงได้มากกว่านี้ ก็เชื่อได้ว่าตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของเนเธอร์แลนด์จะเติบโตได้อย่างรวดเร็วอย่างแน่นอน

ผู้ผลิตและผู้ค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่ของโลกอยู่ในทวีปออสเตรเลีย อเมริกา และยุโรป แม้ว่าประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรปจะมีพื้นที่ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยและทุกประเทศก็กำลังดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านเกษรอินทรีย์เพื่อให้มีพื้นที่ในการทำเกษตรอินทรีย์ตามเป้าหมาย แต่ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากกระแสความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ดีสําหรับเกษตรกรผู้ปลูกและผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์จากประเทศนอกสหภาพยุโรปอย่างประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าประเภทผักและผลไม้สดเมืองร้อนที่มีข้อจํากัดในการปลูกในยุโรป และสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปต่างๆ จากการสำรวจสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่วางจำหน่ายในตลาดเนเธอร์แลนด์ สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยยังมีปริมาณและความหลากหลายไม่มากนัก ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์มีค่าใช้จ่ายในการจัดการพื้นที่ในการทำเกษตรอินทรีย์ รวมถึงการยื่นขอตรารับรองเกษตรอินทรีย์ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในสหภาพยุโรปที่ค่อนข้างสูง และการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์มายังสหภาพยุโรป ผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของสหภาพยุโรปที่มีความเข้มงวดมากกว่ามาตรฐานในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบและผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ตรงตามมาตรฐานและได้รับเครื่องหมายรับรองของสหภาพยุโรป ก็จะเป็นโอกาสในการเจาะตลาดและขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ไม่เฉพาะตลาดเนเธอร์แลนด์เท่านั้น แต่ตลาดสหภาพยุโรปทั้งหมดด้วย

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก

thThai