บราซิลมีมาตรการห้ามใช้สัตว์ในการวิจัยเครื่องสำอางและน้ำหอมถึงแม้กับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ถือเป็นมติใหม่ที่นำมาใช้โดยสภาแห่งชาติเพื่อการควบคุมการทดลองสัตว์
(National Council for the Control of Animal Experimentation :Concea) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ห้ามใช้สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง เช่น สุนัขและหนูในการวิจัยเพื่อพัฒนาและคุณภาพ ควบคุมผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล เครื่องสำอาง และน้ำหอม
มาตรการนี้มีผลบังคับใช้แม้กับการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบในสูตรอยู่แล้ว โดยได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสูตรใหม่โดยไม่มีการพิสูจน์ถึงความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพ มาตรฐานกำหนดให้ใช้วิธีการวิจัยทางเลือก มี 40 วิธีการที่ได้รับการยอมรับจากสภาแห่งชาติเพื่อการควบคุมการทดลองสัตว์โดยใช้ผิวหนังเทียม และกระจกตาเทียม วิธีนี้ช่วยให้สามารถศึกษาส่วนผสมใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์จากความหลากหลายทางชีวภาพในอเมซอน โดยใช้วิธีทางเลือกเหล่านี้ที่ไม่ใช้สัตว์เลยหรือใช้สัตว์จำนวนน้อยมาก
ทั้งนี้ การใช้มาตรการดังกล่าวของบราซิลสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ในสหภาพยุโรป ห้ามทำการทดลองกับสัตว์ สำหรับสมาพันธ์คุ้มครองสัตว์ของบราซิล ระบุว่า แม้ว่าจะไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการใช้สัตว์สำหรับการทดสอบทุกประเภทที่บราซิลยอมรับ แต่การห้ามนี้ช่วยชีวิตสัตว์ทุกประเภทที่เรารู้จักจำนวนมหาศาล เช่น สุนัข ม้า วัว และนก
ความเห็นและข้อเสนอแนะ
บราซิลบังคับใช้มาตรการห้ามใช้สัตว์ในการวิจัยเครื่องสำอางและน้ำหอมอย่างเคร่งครัด ซึ่งผู้บริโภคบราซิลก็ให้ความสำคัญในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและน้ำหอมเช่นกัน โดยพิจารณาจากฉลาก หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจน จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคบราซิล ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรผลิตสินค้าเครื่องสำอางรวมทั้ง ผลิตภัณฑ์สปาให้สอดคล้องกับมาตรการดังกล่าว และระบุที่ฉลากให้ชัดเจนเพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดบราซิลได้ ซึ่งผู้บริโภคบราซิลมีรสนิยมชอบการเสริมสวยและสปาในคนที่มีรายได้สูง เครื่องสำอางจึงมีโอกาสแข่งขันในตลาดบราซิล อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์น้ำหอมหรือ สปาไทย อาจนำเสนอกลิ่นดอกไม้แบบไทย เช่น กล้วยไม้ เนื่องจากชาวบราซิลชอบดอกกล้วยไม้ และนิยมประดับดอกกล้วยไม้ที่บ้าน จะทำให้ผู้บริโภคบราซิลมีความสนใจสินค้าไทยมากขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสของไทยในระยะยาว
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
563 ถนน นนทบุรี ตำบล บางกระสอ
อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02-507-7999
สายตรงการค้าระหว่างประเทศ: 1169
ผู้ใช้ที่กำลังออนไลน์ : 0 คน | จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : 5931142 คน
สงวนลิขสิทธิ์ © 2023 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ