- ภาพรวมสถานการณ์ตลาดสินค้าออร์แกนิค
จากรายงานข้อมูลสินค้าออร์แกนิคในสหราชอาณาจักรของ The Soil Association ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริมการเกษตรและอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้การรับรองมาตรฐานการผลิตและการจำหน่ายสินค้าออร์แกนิคในสหราชอาณาจักร พบว่า ในปี 2566 ตลาดสินค้าออร์แกนิคในสหราชอาณาจักร มีมูลค่า 3,100 ล้านปอนด์ โดยตลาดสินค้าออร์แกนิคเติบโตอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 11 ถึงแม้ว่าจะมีช่วงเศรษฐกิจซบเซาทั้งจากการแพร่ระบาดของโควิด สถานการณ์ค่าครองชีพ พลังงานที่สูงขึ้น รวมถึงการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่ายอดการใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิคเฉลี่ยวันละ 8.5 ล้านปอนด์ต่อวัน ในขณะที่ร้านอาหารออร์แกนิคมีการเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 152 ในปีที่ผ่านมา รวมถึงการเติบโตของสินค้าออร์แกนิคอื่นๆ เช่น เครื่องนุ่มห่มออร์แกนิค เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 และเครื่องประทินผิวออร์แกนิคเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8
Soil Association เห็นว่าถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในช่วงปีที่ผ่านมาจนส่งผลให้ผู้บริโภคหลายรายต้องปรับตัวในการเลือกซื้อสินค้า แต่เป็นที่น่าสนใจว่าสินค้าออร์แกนิคยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 อาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิคมียอดขายมากถึง 3,100 ล้านปอนด์ การเติบโตในปี 2565 มากขึ้นร้อยละ 1.6 แต่หากพิจารณาการเติบโตในรอบ 3 ปี อาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิคมีการเติบโตถึงร้อยละ 25.4 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์อัตราเงินเฟ้ออาจส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าที่ราคาต่ำกว่าสินค้าออร์แกนิค แต่จากการสำรวจพบว่าสินค้าออร์แกนิคยังคงเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคให้ความไว้วางใจถึงคุณภาพทั้งในเรื่องความยั่งยืนและเป็นสัญลักษณ์ของสินค้าเพื่อสุขภาพ ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตสินค้าออร์แกนิคให้มากขึ้นอาจจะส่งผลให้สินค้าที่วางจำหน่ายลดราคาลงจนผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้
2. แนวโน้มความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภค
Soil Association ได้สรุปผลการสำรวจสถานการณ์ตลาดสินค้าออร์แกนิคในสหราชอาณาจักร ดังนี้
– ความต้องการบริโภคสินค้าออร์แกนิคทั่งโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ผ้าฝ้ายออร์แกนิคที่ได้รับการรับรอง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 และเครื่องประทินผิวออร์แกนิคเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 มูลค่า 147.6 ล้านปอนด์
– เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าออร์แกนิคอาจไม่ได้รับผลกระทบจากค่าปุ๋ยที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ต้นทุนการผลิตสินค้าออร์แกนิคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากค่าพลังงาน ทั้งนี้ ฟาร์มออร์แกนิคมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 คิดเป็น 507,000 เฮกเตอร์ในปี 2563
2.1 ประเภทสินค้าออร์แกนิค
ในปี 2563 สินค้าออร์แกนิคที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ไวน์ อาหารแช่เย็น นอกจากนี้ สินค้าสะดวกซื้อประเภทแช่เย็น ได้แก่ เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์ vegetarian มียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 25 สำหรับสินค้าผลไม้สด สลัดและผักต่างๆ มียอดขายเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีมูลค่า 15 ล้านปอนด์ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ความงามจากธรรมชาติและออร์แกนิคที่ได้รับการรับรอง มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 หรือมีมูลค่า 86.5 ล้านปอนด์
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อความนิยมบริโภคสินค้าออร์แกนิค
- ผู้บริโภคชาวสหราชอาณาจักรหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จากการสำรวจโดย Ecovia
Intelligence พบว่า ความต้องการในการบริโภคสินค้าออร์แกนิคและสินค้าที่มีการผลิตอย่างยั่งยืน (Sustainable) เพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เนื่องจากผู้บริโภคมองหาสินค้าอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
(2.) ผู้บริโภคจำนวนมากมองหาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจน
ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและตรวจสอบย้อนกลับของสินค้าในระบบห่วงโซ่อุปทานของสินค้าอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ เนื่องจากสินค้าออร์แกนิคเป็นสินค้าที่ผ่านการรับรองตามกฎหมาย ผู้ซื้อจึงสามารถไว้วางใจว่าสินค้าที่เลือกซื้อนั้น มีการผลิตที่คำนึงต่อสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมทั้ง มีจรรยาบรรณในการผลิต
(3.) ประเภทสินค้าออร์แกนิคมีความหลากหลายและมีให้เลือกมากขึ้น
(4.) ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าที่ผลิตโดยชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น
2.3 ช่องทางการจำหน่ายสินค้าออร์แกนิคที่สำคัญ
(1.) ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต
สืบเนื่องจากสถานการณทางเศรษฐกิจได้ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าราคาถูกเพิ่มขึ้น ได้ส่งผลให้ ยอดขายสินค้าออร์แกนิคในห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตในปี 2565 ลดลงร้อยละ 2.7 โดยมีมูลค่า 1,920 ล้านปอนด์ อย่างไรก็ดีตลาดสินค้าอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิคยังคงขยายตัวร้อยละ 5.39 ซึ่งขยายตัวเร็วกว่าสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าออร์แกนิค (ขยายตัวร้อยละ 1.83)
(2.) Food Service
เป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าออร์แกนิคที่ประสบความสำเร็จสูงสุด โดยยอดขาย
สินค้าออร์แกนิคเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 152 เป็นมูลค่า 195.5 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 78.2 ล้านปอนด์ในปี 2564 โดยยาดขอยที่เพิ่มขึ้นมากมาจากการจำหน่ายเครื่องดื่มออร์แกนิคแบบร้อนและนมในธุรกิจคาเฟ่ห์ แบบมีสาขา (Chain)
(3.) บริการส่งถึงบ้าน
การขายสินค้าออร์แกนิคโดยส่งถึงบ้านมียอดขาย 558.3 ล้านปอนด์ โดยปัจจัยที่สำคัญในการ
เลือกซื้อของผู้บริโภคคือ นวัตรกรรม เทคโนโลยีในการผลิต รวมถึงการเพิ่มประเภทสินค้าที่ตอบสนองต่อความต้องการรักษาสุขภาพของผู้บริโภคในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด
(4.) ร้านค้าปลีกรายเล็ก
ร้านค้าปลีกรายเล็กประสบปัญหาในการคงลูกค้าเดิมที่เคยเลือกซื้อสินค้าในร้านในช่วงล็อกดาวน์
โดยยอดขายลดลงถึงร้อยละ 3.3 มีมูลค่าการค้า 432.1 ล้านปอนด์ แต่ยังคงมีแนวโน้มที่ร้านค้าปลีกรายย่อยจะสามารถเติบโตได้อีก
3. หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการนำเข้าสินค้าออร์แกนิค
ภายหลังจากสหราชณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) สหราชอาณาจักรจะออก
กฎหมายของตัวเองในเรื่องการผลิต ฉลากสินค้า และการจำหน่ายสินค้าอาหารออร์แกนิค อย่างไรก็ดี ในส่วนของมาตรฐานสินค้าออร์แกนิคยังคงมีความคล้ายคลึงกับมาตรฐานของ EU
3.1 ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าออร์แกนิคจากประเทศที่สามที่ไม่ได้อยู่ใน EU (Non-EU)
(1.) จดทะเบียนผู้นำเข้ากับหน่วยงานที่ควบคุมด้านสินค้าออร์แกนิค (Organic Control Body) ถ้าหากต้องการผลิต เตรียม จัดเก็บ หรือ จำหน่าย สินค้าออร์แกนิคมาจากประเทศอื่นๆ
– กรณีนำเข้าจากกลุ่มประเทศ EU EEA และ Switzerland โดยสหราชอาณาจักรมีความตกลงการค้ากับกลุ่มประเทศเหล่านี้ ผู้นำเข้าจะต้องติดต่อหน่วยงาน Organic Control Body เพื่อทราบรายละเอียดสินค้าออร์แกนิกส์ที่สามารถนำเข้าได้ ทั้งนี้ ผู้นำเข้าไม่จำเป็นต้องมี Certificate of Inspection (COI) ประกอบการนำเข้า
– กรณีนำเข้าจากประเทศอื่นๆ ผู้นำเข้าจะต้องมีเอกสาร COI ประกอบการนำเข้าทุกครั้ง โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วนงานที่ได้รับการรับรองและสามารถออกเอกสาร COI ประกอบการนำเข้าสามารถตรจสอบได้ที่ https://www.gov.uk/government/publications/organic-registers-lists-of-third-countries-or-territories-control-bodies-and-control-authorities
หน่วยงานของไทยที่ได้รับการรับรอง
Organic Agriculture Certification Thailand (ACT)
ที่อยู่ 102 Moo 2, Soi Ngamwongwan 23, Ngamwongwan Road, Muang District, Nonthaburi 11000, Thailand
เว็บไซต์ https://www.actorganic-cert.or.th/
- แจ้งหน่วยงานด้านสุขภาพ ณ ท่าเรือ หรือ ท่าอากาศยานที่นำเข้าสินค้า (port health
authority: PHA) ล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ทางโทรศัพท์ หรือ อีเมล์ ถึงสินค้าออร์แกนิคที่จะนำเข้า
(4.) ส่งเอกสาร Certificate of Inspection พร้อมทั้ง เอกสารสำหรับการส่งออกไปยังหน่วยงาน PHA ทางอีเมล์ โดยหน่วยงาน PHA จะตรวจสอบเอกสารว่าถูกต้องหรือไม่ก่อนส่งไปยังหน่วยงานศุลกากร(custom) สำหรับพิธีการศุลกากร
หากหน่วยงาน PHA ตรวจสอบเอกสาร Certificate of Inspection แล้วไม่ยอมรับเอกสาร CoIดังกล่าว สินค้านั้นจะไม่สามารถจำหน่ายเป็นสินค้าออร์แกนิคได้ โดยผู้นำเข้าสามารถ 1. เปลี่ยนฉลาก โดยตัดคำว่า ออร์แกนิคออกจากฉลาก หรือ 2. ส่งออกมาใหม่ แต่ไม่ใช่สินค้าออร์แกนิค หรือ 3. ทำลายสินค้า
โดยระหว่างนี้สินค้ายังคงอยู่ในความควบคุมของหน่วยงานศุลกากร
ข้อมูลเพิ่มเติม
Gov.uk
3.2 กฎระเบียบฉลากสินค้าออร์แกนิค
(1.) สินค้าที่จะสามารถติดฉลากสินค้าว่าเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคได้ จะต้องได้มาตรฐานการผลิตสินค้าออร์แกนิกส์ ประกอบด้วยส่วนผสมที่มาจากการเกษตรกรรมที่เป็นออร์แกนิกส์ (the ingredients of agricultural origin) ร้อยละ 95 ส่วนผสมอื่นๆ จะต้องได้รับอนุญาตตามมาตรฐาน และตัวสินค้า ฉลาก และ supplier จะต้องได้รับมาตรฐานออร์แกนิกส์
(2.) ระมักระวังการใช้คำ Organic , organically grown, organically produced, grown or produces using organic principles , grown or produced using organic methods ทั้งนี้ การใช้คำหรือประโยคที่สื่อถึงความเป็น organic ที่ได้ไม่รับการตรวจสอบหรือรับรองถือว่าผิดกฎหมายในสหราชอาณาจักร
(3.) สำหรับสินค้าที่มีส่วนผสมจากเกษตรกรรมที่เป็นออร์แกนิกส์น้อยกว่า 95% จะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานรับรองสินค้าออร์แกนิกส์ก่อนจึงจะสามารถระบุในฉลากได้
(4.) หากต้องการระบุหรือใช้คำหรือประโยคที่มีคำ organic ในฉลาก จะต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานรับรองสินค้าออร์แกนิกส์
(5.) บนฉลากสินค้าจะต้องระบุถึง
– รหัสหน่วยงาน control body
– ระบุที่มาของสินค้าเกษตร
3.3 ข้อความเกี่ยวกับแหล่งที่มา (Statement of agricultural origin)
ข้อความเกี่ยวกับการเกษตรกรรม (statements of agriculture) ที่ต้องมีบนฉลากหากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในสหราชอาณาจักร เนื่องจากสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของ EU
‘UK Agriculture’ – หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในสหราชอาณาจักร
‘UK or non-UK Agriculture’ – หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากส่วนผสมที่มาจากการปลูกทั้งในสหราชอาณาจักรและนอกสหราชอาณาจักร (where the product is produced with ingredients grown in and outside the UK)
‘Non-UK Agriculture’ – หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตนอกสหราชอาณาจักร
ทั้งนี้ สามารถระบุได้โดยละเอียดว่าส่วนผสมมาจากแหล่งผลิตใด เช่น นมจาก Northern Ireland (NI) สามารถระบุที่มาในฉลาก ‘Northern Irish Agriculture’ หรือ เนื้อแกะจากเวลส์ (Welsh lamb) สามารถระบุที่มาในฉลาก ‘Welsh Agriculture’
กฏระเบียบเกี่ยวกับฉลากดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 และต้องปฎิบัติ (must be made) ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในสหราชอาณาจักร
3.4 การใช้ EU โลโก้บนฉลาก
ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคที่ผลิตในสหราชอาณาจักร ไม่จำเป็นต้องใส่โลโก้ของ EU บนฉลาก แต่หากจะใช้โลโก้ของ EU บนฉลาก ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติครบตามระเบียบฉลากสินค้าออร์แกนิค และ Statement of agricultural origin ของ EU
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.gov.uk/guidance/organic-food-labelling-rules
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.1 Department for Environment, Food and Rural Affairs (DEFRA)
ที่อยู่ Customer Contact Unit, Seacole Building, 2 Marsham Street, London, SW1P 4DF
อีเมล์ defra.helpline@defra.gov.uk
เว็บไซต์ https://www.gov.uk/government/organisations/department-for-environment-food-rural-affairs
4.2 Soil Association
ที่อยู่ Spear House, 51 Victoria Street, Bristol, England BS1 6AD
อีเมล์ https://www.soilassociation.org/?gclid=EAIaIQobChMIhMSdtcul7 gIVx7HtCh0SIg_8EAAYASAAEgLBHvD_BwE
สคต. ลอนดอน
กันยายน 2566
ที่มา
https://www.gov.uk/guidance/organic-products-import-them-into-the-uk