สินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่น

สินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่นสินค้าเครื่องดื่ม[1]ในญี่ปุ่นในปี 2022 [2]คิดเป็นมูลค่า 4.94 ล้านล้านเยน (ประมาณ 1.41 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 2.6 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาสองปีตั้งแต่ปี 2021 ซึ่งฟื้นตัวจากผลกระทบโรคโควิด 19 ที่เริ่มระบาดเมื่อปี 2020  สาเหตุที่ตลาดเครื่องดื่มขยายตัวนั้น เนื่องมาจากกิจกรรมต่างๆที่ถูกจำกัดในช่วงการระบาดของโรคโควิดได้เริ่มผ่อนคลาย ทำให้ผู้คนกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ และออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านซึ่งส่งผลให้มีการบริโภคเครื่องดื่มมากขึ้น นอกจากนั้นในฝ่ายของผู้ประกอบการเองก็กระตือรือล้นในการทำกิจกรรมการตลาด หรือพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มยอดจำหน่าย อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย กล่าวคือ ฤดูฝนที่สิ้นสุดเร็วกว่าปกติ และอากาศที่ร้อนมากในช่วงฤดูร้อน และมีการคาดการว่า ในปี 2023 ยอดจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.06 ล้านล้านเยน (1.44 ล้านล้านบาท)

ที่ผ่านมา โดยปกติผู้บริโภคญี่ปุ่นมีความต้องการดำรงสุขภาพของตนให้แข็งแรงหรือให้ดีขึ้น และเมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิด ความต้องการดังกล่าวยิ่งมีสูงขึ้นอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความเครียดเพิ่มพูนขึ้นเนื่องจากความวิตกกังวลทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก็ยิ่งทำให้มีความต้องการที่จะดูแลสุขภาพของตนให้แข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคที่เกิดจากวิถีการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน บรรเทาความเครียด หรือ ยกระดับคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น จากพฤติกรรมผู้บริโภคดังกล่าว ฝ่ายผู้ผลิตสินค้าก็ได้ตอบสนองความต้องการดังกล่าวของผู้บริโภค โดยการพัฒนาออกจำหน่ายสินค้าหลากหลายซึ่งกลายเป็นกระแสนิยมในวงกว้าง

สินค้าเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมและจำหน่ายได้ดีในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่

  • เครื่องดื่มที่ช่วยป้องกัน Heat Stroke[3] ในปี 2022 มีมูลค่า 86 แสนล้านเยน (ประมาณ 8.2 หมื่น   ล้านบาท) คาดการว่าในปี 2023 ตลาดจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เป็นมูลค่า 3.15 แสนล้านเยน (ราว 9 หมื่นล้านบาท)

สินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่นตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิดเมื่อปี 2020 การบริโภคเครื่องดื่มโดยรวมมีปริมาณลดลงเนื่องจากการจำกัดการออกนอกบ้านและกิจกรรมกีฬาต่างๆถูกยกเลิก แต่ในปี 2022 เมื่อสถานะการดีขึ้น โอกาสออกไปนอกบ้านมีมากขึ้น การจัดกิจกรรมต่างๆเริ่มกลับมาสู่สภาพปกติ ทำให้ตลาดกลับฟื้นตัวจนเกือบเท่ากับเมื่อปี 2019 โดยเฉพาะสินค้าน้ำดื่มผสมน้ำผลไม้ “Kiritto Kajitsu” ของบริษัท Santory เป็นสินค้ายอดฮิตในช่วงดังกล่าว

โดยมีส่วนผสมของวิตามินซี บี6 ไนอะซิน (Niacin) [4] ในปริมาณที่ร่างกายต้องการในหนึ่งสินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่นวัน และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคลมแดด เช่นเดียวกันกับเครื่องดื่ม Calpis The Rich  ของบริษัท Asahi ซึ่งใช้วัตถุดิบนมของฮอกไกโดและน้ำตาลเคลือบคาราเมล (Caramelized sugar) รวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอื่นๆ เช่น เครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมแบคทีเรียแลคติก (Lactococcus lactis) ของบริษัท Kirin ซึ่งช่วยดูแลภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งได้รับเลือกเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 บนแพลตฟอร์มขายสินค้า Amazon

สินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่นในญี่ปุ่น และมีโอกาสเติบโตอีกมากในช่วงครึ่งปีหลัง เป็นต้น นอกจากนี้สินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่นยังมีเครื่องดื่มผสมโซเดียมและน้ำส้มแมนดารินแบรนด์  POM  ผลิตโดยบริษัท Ehime Inryo จากจังหวัดเอฮิเมะ ในเกาะชิโกกุ ซึ่งนอกจากจะช่วยเติมน้ำและเกลือแร่ให้ร่างกายที่สูญเสียเหงื่อแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสดชื่นและปราศจากแคลลอรี่ด้วย

  • เครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของผลไม้ ในปี 2022 มีมูลค่า 2.46 แสนล้านเยน (ประมาณ 03 หมื่นล้านบาท) คาดการว่าในปี 2023 ตลาดจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เป็นมูลค่า 2.54 แสนล้านเยน (7.27 หมื่นล้านบาท)

ปัจจุบันผู้บริโภคมีความใส่ใจในสุขภาพกันมากขึ้นจึงพยายามลดการบริโภคอาหารและเครื่องสินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่นดื่มที่มีรสหวาน ทำให้เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของผลไม้จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม อย่างไรก็ตามบริษัทผู้ผลิตได้มีการพัฒนาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของผลไม้ที่มีมูลค่าเพิ่มและมีความแตกต่างจากเดิม เพื่อขยายวงของกลุ่มผู้บริโภคให้กว้างยิ่งขึ้น เช่น ในกลุ่มสินค้าน้ำอัดลม มีการเพิ่มความเข้มข้นของส่วนผสมผลไม้เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากผลไม้ธรรมชาติ และปรับให้เป็นสินค้าพรีเมียมซึ่งทำให้มีความต้องการจากผู้บริโภคที่

พร้อมจะจ่าย ขณะที่เครื่องดื่มประเภทสมู้ทตี้ (smoothies) สำเร็จรูป ที่มีส่วนผสมของเส้นใยผักผลไม้และวิตามินประเภทต่างๆก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและมีภาพลักษณ์ของสินค้าช่วยเรื่อง diet และความงาม

สินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องดื่มประเภทชาผลไม้ (Fruit Tea) ซึ่งมีส่วนผสมของผลไม้ เช่น   ชาผสมน้ำแอปเปิล Apple Tea plus ผลิตภัณฑ์ที่บริษัท Kirin  ร่วมมือพัฒนากับบริษัท FANCL ผู้ผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชั้นนำของญี่ปุ่น ซึ่งช่วยปรับปรุงสภาวะการทำงานของลำไส้ เป็นต้น

 

  • เครื่องดื่มที่บรรจุในขวดพาสติก PET ที่ไม่มีฉลาก เป็นกระแสนิยมที่กำลังมาแรงในตลาดสินค้าเครื่องดื่มอีกประเภท ซึ่งเริ่มต้นจากการออกจำหน่ายทางออนไลน์เป็นแบบแพ็คใหญ่ โดยมีการระบุชื่อสินค้าและรายละเอียดอื่นๆอยู่เฉพาะบนกล่องเท่านั้น จุดมุ่งหมายของเครื่องดื่มที่ไม่มีฉลากนี้คือ เพื่อลดปริมาณพาสติกซึ่งเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดภาระสำหรับผู้บริโภคซึ่งไม่ต้องแกะฉลากออกก่อนที่จะทิ้งเป็นขยะรีไซเคิล อีกทั้งได้ซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลง คาดว่าจะมีบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มในญี่ปุ่นที่ผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีฉลากกันเพิ่มมากขึ้น

สินค้าน้ำผลไม้ของไทยในตลาดญี่ปุ่น

         สำหรับสินค้าเครื่องดื่มที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยนั้น  เครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้นับเป็นสินค้าหลักในปัจจุบัน  ในปี 2022 ญีปุ่นนำเข้าสินค้าน้ำผลไม้ (HS Code 2009)  ปริมาณรวมราว 241.3 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่าราว 669 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แหล่งนำเข้าหลัก ได้แก่ อเมริกา บราซิลและจีน  มีการนำเข้าจากไทยรวม 5.4 ล้านลิตร มูลค่าราว 9.1 ล้านเหรีญสหรัฐฯ  หรือราวร้อยละ 1.4 ของ

สินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่น

มูลค่าการนำเข้ารวม  โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 16 ในเชิงปริมาณ และลำดับที่ 17 ในเชิงมูลค่า  ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามูลค่าการนำเข้าจากไทยลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1% – 2% ต่อปี  ปัจจุบัน  น้ำผลไม้แบรนด์ไทยมีวางจำหน่ายในญี่ปุ่นหลายแบรนด์ เช่น FOCO,  MALEE, CHABA  เป็นต้น  โดยมีวางจำหน่ายทั้งในร้านค้าปลีก  chain supermarket ร้านอาหารไทยและร้านอาหารเอเชียอื่นๆ รวมทั้งมีจำหน่ายอย่างกว้างขวางทางแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำของญี่ปุ่น  น้ำผลไม้ไทยที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่นมีจุดเด่นที่เป็นผลไม้เมืองร้อนและมีผลไม้มากมายหลายชนิด และส่วนใหญ่

สินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่น

ระบุว่าเป็นน้ำผลไม้ 100% จึงมีภาพลักษณ์ในด้านสุขภาพในระดับหนึ่ง  นอกจากนี้ มีสินค้าน้ำผลไม้ผสมเม็ดแมงลักซึ่งนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จสูงในตลาดญี่ปุ่นใน

 

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพราะมีภาพเป็นสินค้าเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ตรงกับความต้องการของตลาด กล่าวคือมีส่วนผสมของเม็ดแมงลักซึ่งเส้นใยอาหารสูง ช่วยเรื่องการขับถ่ายและการลดน้ำหนัก  จัดเป็นสินค้าเครื่องดื่มที่ไทยแทบจะไม่มีสินค้าคู่แข่งจากประเทศอื่นในญี่ปุ่น

สินค้าเครื่องดื่มที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมในตลาดญี่ปุ่นอย่างไรก็ดี   ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการระบาดของโควิดซึ่งได้ส่งผลให้เกิดความเครียดจากความวิตกกังวลทั้งทางร่างกายและจิตใจของคนญี่ปุ่น จนนำไปสู่ความต้องการรักษาสุขภาพ การปรับปรุงภูมิคุ้มกันของร่างกาย การป้องกันโรคที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพของการนอนหลับ ความต้องการใหม่ๆเหล่านี้จึงนับเป็นความท้าทายต่อสินค้าไทยในปัจจุบันด้วย

 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ผลิตผู้ส่งออกไทย

ตลาดเครื่องดื่มในญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะยังคงขยายตัวมากขึ้นเมื่อการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในญี่ปุ่นกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม ความใส่ใจในสุขภาพที่มีมากยิ่งขึ้นหลังจากเกิดการระบาดของโรคโควิด ทำให้เครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพจะเป็นสินค้าที่มีโอกาสขยายตัวมากเป็นพิเศษ ผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยควรศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่นและพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มและมีความแปลกใหม่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการแข่งขันในตลาดสินค้าเครื่องดื่มในญี่ปุ่น

….……………………………………………………………………….

สตท. ณ เมืองฮิโรชิมา

[1] ในที่นี้หมายถึง เครื่องดื่มที่มีระดับแอลกอฮอล์ไม่ถึงร้อยละ 1 และบรรจุในภาชนะเช่น ขวด PET กระป๋อง หรือภาชนะกระดาษ ซึ่งสามารถดื่มได้ทันที โดยประกอบด้วย Carbonated  drinks, Ready to drink coffee, Mineral water, Fruit juices, Tea (Black tea, green tea, Oo-long tea etc) Sport & Functional Drinks, Supplemental Drinks (including energy drinks), Milk and other milk drinks,  Lactic acid bacteria drinks, Drink yogurt, Soy milk

[2] อ้างอิงจากรายงานของบริษัท Yano Research Institute เรื่อง “The current situation and forecast of the drinks in Japan”

[3] หมายถึง เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของไนโตรเลียม 40-80 มล.กรัม ต่อปริมาณเครื่องดื่ม 100 มล.ลิตร ซึ่งช่วยป้องกันโรคลมแดดและช่วยเสริมน้ำให้ร่างกายได้

[4] ไนอะซิน คือ วิตามินบี3 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำได้ ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้

…..……………………………………………………………………….

ที่มาข้อมูล

  • รายงานผลสำรวจ เรื่อง “The current situation and forecast of the drinks in Japan” ของบริษัท Yano Research Institute
  • รายงานเรื่อง “The survey on Soft drink market“ บริษัท Fuji Keizai Group
thThai