s ภาพรวมเศรษฐกิจ s

  • เศรษฐกิจของชิลีในเดือนสิงหาคม 2566 กลับมาหดตัวอีกครั้ง ที่อัตรา -0.9% เนื่องจากได้รับผลกระทบหลักจากตัวเลขการบริโภคภาคเอกชนที่ลดลง อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางชิลีระบุว่าเป็นการหดตัวลงเพียงเล็กน้อยแต่ในภาพรวมถือว่ามีการปรับตัวดีขึ้น โดยตัวเลขภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่และภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการขยายตัวที่ 1.7% และ 0.5% ตามลำดับ สำหรับในส่วนของภาคธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก และภาคบริการแม้ว่าจะยังคงติดลบแต่ถือว่าปรับตัวดีขึ้นกว่าเดิม โดยหดตัวที่ -1.9% และ -1.2% ตามลำดับ
  • ในส่วนของรายละเอียดในแต่ละด้านประจำเดือนสิงหาคม 2566 สคต. ณ กรุงซันติอาโก ขอสรุปรายละเอียด ดังนี้

1. การบริโภคภาคเอกชน

การบริโภคภาคเอกชนในชิลีในเดือนสิงหาคม 2566 ถือว่าอยู่ในช่วงชะลอตัว โดยตัวเลขการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าลดลง –2.0% ปริมาณการจำหน่ายสินค้าคงทน (รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน) หดตัวลง -4.9% ปริมาณการจำหน่ายสินค้าในหมวดสินค้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม หมวดยางรถยนต์และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ หมวดอาหาร  หมวดเครื่องดื่มและยาสูบ และหมวดยาและเวชภัณฑ์ พบว่ามีการหดตัวที่  -13.9% ,  -11.9% -7.1%,  5.4%  และ     -5.3%  ตามลำดับ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนสิงหาคม 2566 มีการปรับระดับลดลงเล็กน้อย จากเดิมซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.2 ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 40.1

2.การลงทุน

บรรยากาศการลงทุนในภาคเอกชนและภาครัฐของชิลีในภาพรวมประจำเดือนสิงหาคม 2566 พบว่าอยู่ในระดับทรงตัวอีกครั้งหลังจากที่มีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยปริมาณการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการก่อสร้างลดลง -14.2% และตัวเลขการขออนุญาตก่อสร้างในโครงการที่อยู่อาศัยและโครงการอาคารสำนักงาน (คิดเป็นตารางเมตร) ลดลง -19.7%

สำหรับดัชนีของความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมในเดือนสิงหาคม 2566 มีการปรับระดับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากที่ระดับ 41.1 มาอยู่ที่ระดับ 43.2 โดยผลจากการสำรวจพบว่าความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ระดับ 64.29 รองลงมา ได้แก่ ภาคการค้า ภาคการผลิต และภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยอยู่ที่ระดับ 46.6  41.1 และ 21.4 ตามลำดับ

 

3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ตัวเลขการว่างงานของประเทศชิลีในเดือนสิงหาคม 2566 อยู่ที่ 9.0% ของจำนวนผู้ใช้แรงงานทั้งหมดในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่มีการปรับระดับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 และถือเป็นตัวเลขการว่างงานที่สูงที่สุดในรอบสองปี นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564

สภาวะเงินเฟ้อของประเทศชิลีมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนสิงหาคม 2566 อยู่ที่ 5.3%  ทั้งนี้ สินค้า 3 หมวดแรกที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 12 เดือน ได้แก่ (1) หมวดการศึกษา (2) หมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ (3) หมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 11.2%  10.9% และ 9.2% ตามลำดับ

 

4. การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกสินค้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 มีมูลค่ารวมที่ 65,713 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.6%  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่

สินค้า ม.ค.-ส.ค. (ล้านเหรียญสหรัฐ) ขยายตัว

(65/66)

ปี 2565 ปี 2566
สินแร่ 36,548 36,225 -0.9%
เนื้อสัตว์ 8,431 8,646 2.6%
เคมีภัณฑ์ 6,006 7,279 21.2%
ผลไม้ 4,395 4,918 11.9%
ปลาแซลมอน 3,934 4,067 3.4%
เยื่อกระดาษ 1,831 1,598 -12.7%
ไวน์ 1,097 835 -23.9%

 

การนำเข้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 มีมูลค่ารวมที่ 53,277 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -18.1% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่

 

สินค้า ม.ค-ส.ค. (ล้านเหรียญสหรัฐ) ขยายตัว

(65/66)

ปี 2565 ปี 2566
สินค้าหมวดพลังงาน 38,729 31,004 -19.9%
สินค้าอุปโภคบริโภค 20,220 14,660 -27.5%
สินค้าทุน 13,029 11,781 -9.6%
 -รถยนต์เชิงพาณิชย์ 2,083 1,553 -25.5%
 -เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมก่อสร้าง 805 953 18.4%

จากการที่ตัวเลขการส่งออกของชิลีสูงกว่าตัวเลขการนำเข้า ทำให้ชิลีได้ดุลการค้า จำนวน 12,436 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

5. การค้าของชิลีกับไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน

ชิลีนำเข้าสินค้าจากไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 มูลค่า 372.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -37.72% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งสินค้าที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  • รถยนต์และส่วนประกอบ (91 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -55.48%)
  • เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (87 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -32.82%)
  • ปลากระป๋อง (40 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 49.96%)
  • เครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้า (75 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.30%)
  • อัญมณีและเครื่องประดับ (18.67 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -15.82%)

สำหรับตัวเลขการนำเข้าของชิลีจากกลุ่มประเทศอาเซียนใน 5 อันดับแรก ได้แก่

ชิลีนำเข้าจากเวียดนาม 774.33 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -18.26%)

ชิลีนำเข้าจากไทย 372.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -37.72%)

ชิลีนำเข้าจากอินโดนีเซีย 198.46 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -34.38%)

ชิลีนำเข้าจากมาเลเซีย 198.46 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -37.53%)

ชิลีนำเข้าจากสิงคโปร์ 52.12 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -8.26%)

 

ชิลีส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 ที่มูลค่า 434.25 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -6.25% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า)  ซึ่งสินค้าที่ส่งออกไปยังไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  • ทองแดง (83 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -16.47%)
  • ปลาแซลมอนและอาหารทะเล (24 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง  -11.29%)
  • เยื่อกระดาษ (34 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -12.00%)
  • สินแร่อื่น ๆ (34.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 711%)
  • ผลไม้และผลิตภัณฑ์จากธัญพืช (37 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.27%)

สำหรับตัวเลขการส่งออกของชิลีไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนใน 5 อันดับแรก ได้แก่

ชิลีส่งออกไปยังไทย 434.25 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -6.25%)

ชิลีส่งออกไปเวียดนาม 236.14 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -21.69%)

ชิลีส่งออกไปมาเลเซีย 235.50 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 9.73%)

ชิลีส่งออกไปอินโดนีเซีย 100.21 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -29.25%)

ชิลีส่งออกไปยังสิงคโปร์ 46.30 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -72.67%)

               มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย-ชิลี ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 อยู่ที่ 806.64 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -23.98%) โดยชิลีส่งออกสินค้าไปยังไทยมากกว่านำเข้าจากไทย จึงทำให้ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าที่ 61.86 ล้านเหรียญสหรัฐ

___________________________

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก

ตุลาคม 2566

 

 

 

thThai