การเติบโต CPI ของมาเลเซียในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่ลดลงเหลือร้อยละ 2.5

ที่มา : The Edge Malaysia

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศมาเลเซียที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนสิงหาคม 2566เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่เท่ากันในเดือนกรกฎาคม ดัชนีนี้รวบรวมจากการเปลี่ยนแปลงราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการที่รวบรวมตามศูนย์รวบรวมราคาในแต่ละรัฐในมาเลเซีย โดย CPI ในเดือนสิงหาคม 2566 เพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาอาหาร ร้านอาหาร และโรงแรมโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างอย่างต่อเนื่อง
ราคาในร้านอาหารและโรงแรมชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 4.7 ในเดือนสิงหาคม ในขณะที่ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ตามข้อมูลจากกรมสถิติมาเลเซีย (DOSM) ณ เดือนกันยายน 2566

ภายใต้ราคากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์คิดเป็นร้อยละ 29.5 ของอัตรา CPI นอกจากนี้ราคาอาหารภายในบ้านเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.9 ในเดือนสิงหาคม เทียบกับในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.0  DOSM รายงานว่าการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารภายในบ้านในเดือนสิงหาคม สาเหตุหลักมาจากราคาเนื้อสัตว์ ข้าว ขนมปัง ธัญพืช และกลุ่มย่อยอื่นๆ อาทิ นม ชีส และไข่

สำหรับราคาอาหารนอกบ้านมีอัตราการเพิ่มขึ้นที่ช้าอยู่ที่ร้อยละ 5.9 ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ร้อยละ 6.2 ในบรรดารายการที่แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นช้าลง ได้แก่ ข้าวสวยพร้อมเครื่องเคียง สะเต๊ะ และข้าวมันไก่ ซึ่งดัชนี CPI พื้นฐานไม่รวมราคาอาหารสดที่ผันผวน และราคาที่รัฐบาลเป็นผู้บริหารจัดการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในเดือนสิงหาคม ลดลงจากร้อยละ 2.8 ในเดือนกรกฎาคม

เมื่อเทียบรายเดือน DOSM กล่าวว่า CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนสิงหาคม เทียบกับในเดือนกรกฎาคมที่ร้อยละ 0.1 โดยได้แรงหนุนหลักจากต้นทุนที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อีกทั้ง ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญอีกประการหนึ่งของการเติบโตของ CPI รายเดือนคือราคาสินค้าเพื่อสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 เทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ร้อยละ 0.2การเติบโต CPI ของมาเลเซียในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่ลดลงเหลือร้อยละ 2.5

ที่มา : จากกรมสถิติมาเลเซีย (DOSM)

ความคิดเห็น สคต.

อัตราเงินเฟ้อหรือการลดลงของกำลังซื้อของประชากรภายในประเทศมาเลเซียถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อย่างสาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนสิงหาคม 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบกับร้อยละ 0.4 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากราคาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือนสิงหาคม 2566 (กรกฎาคม 2566: ติดลบร้อยละ-0.4) นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงเหลือร้อยละ 0.7 เทียบกับร้อยละ 1.5 ในเดือนกรกฎาคม 2566 เนื่องจากราคาผลไม้ ผัก เนื้อสัตว์ และสัตว์ปีกที่ลดลง
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในมาเลเซียยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งการติดตามตัวเลข CPI จะช่วยร่างแนวโน้มปัจจุบัน ราคาต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เดินหน้าอย่างมีเสถียรภาพ

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

thThai