จากการศึกษาแนวโน้มแฟชั่นปีของประเทศเปรูประจำปี 2024 ของ the Peruvian consultancy Consumer Truth and the Colombian Raddar CKG พบว่าชาวเปรูมีการใช้จ่ายด้านสินค้าแฟชั่นเฉลี่ยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญต่อการบริโภคสินค้าแฟชั่นของชาวเปรู โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นต่อความทนทานของสินค้า (ร้อยละ 90.3) คุณภาพ (ร้อยละ 89.3) และนวัตกรรมการทอผ้า (ร้อยละ 65.5) ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวเปรูซื้อเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายมากกว่ารองเท้าถึง 3 เท่า หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.26 ของการใช้จ่ายด้านสินค้าแฟชั่น ในขณะที่การซื้อรองเท้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.74  ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) ในปี 2563 ยอดการจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มในเปรูลดลงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47  อย่างไรก็ดี ยอดการจัดจำหน่ายสื้อผ้าฯ ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย

 

ในส่วนของสินค้ารองเท้ามียอดการจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 ตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกลดลง เนื่องจากผู้นำเข้าสินค้ารองเท้าในต่างประเทศมีการจัดเก็บสินค้าจำนวนมากในช่วงสถานการณ์การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในปี 2564 – 2565

 

เศรษฐกิจของเปรูมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 รวมถึงอัตราความยากจนที่ลดลง และหลังสถานการณ์โควิด-19 เปรูมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี การขยายตัวดังกล่าวมีอัตราลดลงในช่วงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จากอัตราความยากจนที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและรัฐบาลเปรูสามารถจัดการกับสถานการณ์เงินเฟ้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ[1] ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น

 

การบริโภคสินค้าแฟชั่นของชาวเปรูในช่วงปี 2564 – 2565 เริ่มมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศที่กระทบต่อเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อของเปรู ทำให้การซื้อสินค้าเสื้อผ้าและรองเท้าของชาวเปรูลดลง จากการบริโภคเสื้อผ้าที่มีการขยายตัวร้อยละ 22 ในปี 2564 ลดลงในอัตราร้อยละ 6.4 ในปี 2565 และการบริโภครองเท้าที่มีการขยายตัวร้อยละ 19.5 ในปี 2564 ลดลงในอัตราร้อยละ 14.4 ในปี 2565 ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการใช้จ่ายสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคชาวเปรู พบว่าชาวเปรูมีค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าเสื้อผ้าเฉลี่ยคิดเป็นจำนวน 288 เหรียญสหรัฐ ในปี 2564 และเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 368 เหรียญสหรัฐในปี 2565 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้ารองเท้าเฉลี่ยคิดเป็นจำนวน 131 เหรียญสหรัฐ ในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 176 เหรียญสหรัฐในปี 2565

ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวเปรูในกลุ่มสินค้าแฟชั่น[1] ประกอบด้วย สินค้าเพื่อความงาม เสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าผู้ชาย รองเท้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  เครื่องใช้ส่วนตัว และสินค้าสำหรับประดับตกแต่ง  โดยสินค้าเสื้อผ้า (ผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 30 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 33 ในปี 2565 ส่วนสินค้ารองเท้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 12 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 13 ในปี 2565 นอกจากนี้ สินค้าแฟชั่นมีการซื้อขายมากที่สุดเป็นลำดับที่ 2 ในช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.50 รองจากสินค้าเทคโนโลยี ที่มีสัดส่วนร้อยละ 50.60[2]

 

บทวิเคราะห์ /ความเห็น สคต.

เปรูเป็นประเทศหนึ่งที่มีอุปสรรคทางการค้าในระดับต่ำที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา ต้นทุนการผลิตที่แข่งขันได้ และมีอัตราการขยายตัวของสินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เปรูมีการนำเข้าสินค้าแฟชั่นในกลุ่มเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มจากหลายประเทศ เช่น บังคลาเทศ โคลอมเบีย เวียดนาม ตุรกี กัมพูชา ปากีสถาน ฮอนดูรัส เอกวาดอร์ เมียนมา ศรีลังกา ไทย  โดยนำเข้าหลักประเทศจีน อย่างไรก็ดี สินค้าแฟชั่นจากไทยยังมีส่วนแบ่งในตลาดเปรูค่อนข้างน้อย เนื่องจากหลายประเทศที่เปรูนำเข้าสินค้าประเภทเดียวกันมีต้นทุนและราคาจำหน่ายที่ถูกกว่า ทั้งนี้ เปรูมีจำนวนประชากรประมาณ 34.19 ล้านคน ในปี 2566[1] โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้น

 

ของประชากรประมาณร้อยละ 0.8 ระหว่างปี 2565 – 2566 และประชากรเพศหญิงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.5 ของประชากรทั้งประเทศ และประชากรเพศชายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.5 ของประชากรทั้งประเทศ ประชากรส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 25 – 34 ปี หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.9 ของประชากรทั้งหมด รองลงไปคือช่วงอายุ 35 – 44 ปี หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.8 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งประชากรทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นวัยทำงานและมีความสามารถในการจับจ่าย รวมทั้ง การบริโภคของภาคเอกชนมีการขยายตัวโดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้า / เครื่องแต่งกาย และรองเท้า

 

เปรูและไทยมีการจัดทำความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขยายการค้าระหว่างกันของไทยและเปรู โดยผู้ประกอบการไทยสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งออกสินค้าแฟชั่นในส่วนขอเสื้อผ้า / เครื่องแต่งกาย และรองเท้าภายใต้ความตกลงดังกล่าว เนื่องจากสินค้าในกลุ่มดังกล่าวได้รับการยกเว้นภาษีการนำเข้าแล้ว และการที่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นของเปรูมีการปรับตัวรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มการนำเข้าสินค้าแฟชั่นจากต่างประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ ผู้ผลิตจากต่างประเทศเห็นว่าตลาดเสื้อผ้า / เครื่องแต่งกาย และรองเท้าของเปรูมีโอกาสเติบโตได้มากในอนาคต และผู้ผลิตดังกล่าวยังสามารถใช้เปรูเป็นประตูการค้าจำหน่ายสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

 

แนวโน้มความต้องการสินค้าของผู้บริโภคเปรูที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดสินค้าแฟชั่น โดยผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย-เปรู อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการและนักออกแบบเสื้อผ้าของไทยควรผลิตสินค้าที่ตรงความต้องการของผู้บริโภคเปรูที่ต้องการการออกแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และควรสร้างความแตกต่างของสินค้าไทยให้เป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคชาวเปรู รวมทั้งให้ความสำคัญกับคุณภาพของผ้าและการตัดเย็บ และการใช้ผ้าไทยที่มีความละเอียดประณีตจะเป็นโอกาสให้เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มของไทยสามารถเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคชาวเปรูที่ต้องการความแตกต่าง นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจของผู้นำเข้าชาวเปรู จะให้ความสำคัญต่อการรับประกันคุณภาพและราคาจากผู้ส่งออกจากต่างประเทศ และต้องการความสัมพันธ์ทางการค้าร่วมกันในระยะยาว

_____________________________

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก

ตุลาคม 2566

 

[1] https://datareportal.com/reports/digital-2023-peru#:~:text=Peru’s%20population%20in%202023,of%20the%20population%20is%20male.

[1] A consulting company –  https://www.kantar.com/latin-america/inspiracion/consumidor/2023-wp-peru-consumo-ropa-y-calzado

[2] An online newspaper- https://www.infobae.com/peru/2023/03/25/cyber-days-2023-cuales-son-los-productos-que-mas-compran-los-peruanos-via-online/

 

 

[2] An online newspaper- https://www.infobae.com/peru/2023/03/25/cyber-days-2023-cuales-son-los-productos-que-mas-compran-los-peruanos-via-online/

[1] Consumption and retail online news about Latin America – https://www.america-retail.com/marketing/peruanos-gastan-alrededor-del-5-de-su-sueldo-en-moda/

Fahion online platform – https://pe.fashionnetwork.com/news/Los-peruanos-compran-tres-veces-mas-ropa-que-calzado,1537181.html

thThai