IMF มองฟิลิปปินส์หนึ่งในเศรษฐกิจเติบโตแข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค

 

                      กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคในปีนี้ แม้ว่าแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงก็ตาม รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) ล่าสุด โดย IMF คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของฟิลิปปินส์จะเติบโต ร้อยละ 5.3 ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ ร้อยละ 6-7 และ น้อยกว่าการขยายตัวของ GDP ในปี 2565 ที่ร้อยละ 7.6 แนวโน้มการเติบโต ของผู้ให้กู้พหุภาคีสำหรับฟิลิปปินส์ในปี 2566 นั้นเติบโตเร็วเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในเอเชีย ตามหลังอินเดีย (ร้อยละ 6.3) โดยนําหน้า จีนและอินโดนีเซีย (ร้อยละ 5) เวียดนาม (ร้อยละ 4.7) มาเลเซีย (ร้อยละ 4) และไทย (ร้อยละ 2.7) การเติบโตของตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในเอเชียคาดว่าจะเฉลี่ยที่ ร้อยละ 5.2 ในปีนี้ จาก ร้อยละ 5.3 ก่อนหน้านี้ โดยการเติบโตของภูมิภาคนี้คาดว่าจะชะลอตัวลงเหลือ ร้อยละ 4.8 ในปี 2567 จาก ร้อยละ 5 ก่อนหน้านี้ IMF กล่าวว่า แนวโน้มการเติบโตของตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาจะยังคงอ่อนแอในปีนี้ โดยเสริมว่า กิจกรรมทั่วโลกถึงจุดต่ำสุดเมื่อปลายปีที่แล้ว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline inflation) และพื้นฐาน (Core Inflation)กําลังค่อยๆถูกควบคุมแต่การฟื้นตัวอย่างเต็มที่ต่อแนวโน้มก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ กลับดูเกินเอื้อมมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในกลุ่มตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา โดยการคาดการณ์ของ IMF สำหรับฟิลิปปินส์ในปีนี้ที่ ร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่มากที่สุดใน 5 ประเทศ สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยภูมิภาคอาเซียน-5 (ASEAN-5) คาดว่าจะเติบโต ร้อยละ 4.2 ในปีนี้ และ ร้อยละ 4.5 ในปีหน้า จากข้อมูลของ WEO โดย IMF คาดการณ์ว่าฟิลิปปินส์จะเติบโต ร้อยละ 5.9ในปี 2567 แม้ว่าได้รับการแก้ไขเป็น ร้อยละ 6 แล้ว เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลังจากการสรุป ภารกิจการให้คำปรึกษามาตรา 4 ที่กรุงมะนิลา (the Article IV consultation mission to Manila) ยังคงทําให้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย สำหรับกลุ่มประเทศเกิดใหม่และกําลังพัฒนา รองจากอินเดีย (ร้อยละ 6.3) ซึ่งฟิลิปปินส์ยังถูกมองว่าเป็นประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในอาเซียน-5 (ASEAN-5)  ในปีหน้า รองลงมาคืออินโดนีเซีย (ร้อยละ 5) และมาเลเซีย (ร้อยละ 4.3)

                        นาย Ragnar Gudmundsson ตัวแทน IMF ประจำประเทศฟิลิปปินส์กล่าวว่าการคาดการณ์ล่าสุดของผู้ให้กู้พหุภาคีสำหรับฟิลิปปินส์ที่ได้รับการสรุป ระหว่าง ภารกิจ Article IV เนื่องจากการคาดการณ์ในการอัปเดต WEO เสร็จสิ้นก่อนการหารือ โดยเสริมว่า มุมมองของเราเกี่ยวกับนโยบายการเงินยังคงสอดคล้องกับที่เปิดเผยในสัปดาห์ที่แล้ว โดยพื้นฐานแล้ว เราได้ปรับเปลี่ยนการคาดการณ์เล็กน้อยตามการอภิปรายและข้อมูลล่าสุดที่เราได้รับในบริบทของภารกิจ นอกจากนี้ นาย Shanaka Jayanath Peiris หัวหน้าคณะผู้แทน IMF ประจำประเทศฟิลิปปินส์กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ความเสี่ยงด้านลบที่สําคัญต่อแนวโน้มการเติบโตสําหรับฟิลิปปินส์คือ อัตราเงินเฟ้อที่คงอยู่ซึ่งอาจกระตุ้นให้ธนาคารกลางThe (Bangko Sentral ng Pilipinas (BSP)) กลับมาเข้มงวดทางการเงินอีกครั้ง โดย IMF คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ ร้อยละ 6 ในปีนี้ ก่อนที่จะลดลงเหลือ ร้อยละ 3.5 ในปี 2567 BSP มองว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 5.8 ในปีนี้ และ ร้อยละ 3.5 ในปี 2567 โดย BSP คงอัตราดอกเบี้ยหลักไว้ที่ระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี ที่ ร้อยละ 6.25 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม นาย Shanaka Jayanath Peiris เสริมว่า อาจจําเป็นต้องมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงขึ้นในระยะยาว (higher-for-longer) จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับเป้าหมาย โดย IMF คาดอัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์กลับสู่เป้าหมาย ร้อยละ 2-4 ภายในไตรมาสแรกของปีหน้า ขณะเดียวกัน IMF คาดว่าการเติบโตทั่วโลกจะชะลอตัวลงเหลือ ร้อยละ 3 ในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากการแพร่ระบาดฯ และ ความขัดแย้งระหว่างยูเครน – รัสเซีย รวมทั้ง วิกฤตค่าครองชีพ นอกจากนี้ ยังปรับลดแนวโน้มใน ปี 2567 เหลือ ร้อยละ 2.9 จาก ร้อยละ 3 ก่อนหน้านี้ และเสริมว่า แต่การเติบโตยังคงช้าและไม่สม่ำเสมอด้วยความแตกต่างทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเศรษฐกิจโลกกําลังเดินแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่เป็นการก้าวกระโดด โดย IMF คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 6.9 ในปีนี้ แต่จะผ่อนคลายลงเหลือ ร้อยละ 5.8 ในปี 2567 และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่กลับสู่เป้าหมายจนกว่าจะถึงปี 2568 ในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ Business World

 

บทวิเคราะห์และข้อคิดเห็น

                        ในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจฟิลิปปินส์มีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและโดดเด่นจากวิกฤติโควิด-19เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งมีปัจจัยเชิงบวกเช่น อัตราการว่างงานที่ลดลง แต่มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจากภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่ง เงินเฟ้อด้านอาหาร มีส่วนสำคัญทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ปัจจุบันรัฐบาลฟิลิปปินส์พยายามออกมาตรการควบคุมการปรับตัวสูงขึ้นของอาหารหลายรายการ รวมถึงการมาตรการคงอัตราดอกเบี้ยหลักไว้ที่ระดับสูงธนาคารกลางฟิลิปปินส์นอกจาหดตัวของการใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ตั้งเป้าการเติบโตของ GDP ในปี 2566 ไว้ที่ ร้อยละ 6 – 7 ทำให้ช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เป็นความท้าทายอย่างมากที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวด้วยการเติบโตของ GDP ที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้ทำให้ไม่น่าเป็นไปได้ที่ฟิลิปปินส์จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตที่ตั้งไว้ในปีนี้และยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอลงในระยะต่อไป เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอลง การบริโภคภายในประเทศอาจชะลอตัวลงจากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงและโดยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงมีปัจจัยเสี่ยงใหม่ๆ เช่น ปรากฎการณ์เอลนีโญ่ การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ผลกระทบจากภาวะสงครามรัสเซียและยูเครน ซึ่งอาจทำให้มรผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรติดตามสถานการณ์ตลาดฟิลิปปินส์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับแผนและกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา

———————————————————–

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา

27 ตุลาคม 2566

thThai