กระแสวัยรุ่นจีนนิยมใส่เครื่องประดับไข่มุกมากขึ้น
เมื่อเร็วๆ นี้ สินค้าเครื่องประดับไข่มุกกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในห้องไลฟ์สดในแพลตฟอร์ม E-commerce ในตลาดจีน ซึ่งรายการได้มีการถ่ายทอดสดวิธีการเปิดหอยมุก และการแปรรูปเครื่องประดับไข่มุกที่ออกแบบตามสั่งซื้อของผู้บริโภค การจำหน่ายเครื่องประดับไข่มุกได้รับความนิยมจากผู้ชมทางออนไลน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากได้รับกระแสความนิยมจากดาราที่ใส่เครื่องประดับไข่มุกจากในละครเรื่องดังในกิจกรรมต่อสาธารณะต่างๆ ทำให้เครื่องประดับไข่มุกกลายเป็นกระแสนิยมที่มาแรงในกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นชาวจีน
ไข่มุกถือเป็นทางเลือกมีศักยภาพในหมวดหมู่สินค้าเครื่องประดับอัญมณีสำหรับกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่น เนื่องจากสินค้าเครื่องประดับไข่มุกมีความหลากหลายและราคาให้เลือกซื้อหลายระดับ จากรายงานของแพลตฟอร์มไลฟ์สดของ Taobao พบว่าประเภทสินค้าเครื่องประดับไข่มุกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สร้อยคอ ต่างหู แหวน และกําไล ข้อมูลสถิติจากห้องไลฟ์สด bee ซึ่งมีจำนวนผู้ชมมากเป็นอันดับที่ 2 ของ Taobao.com ในช่วงเทศกาลส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ 618 พบว่ายอดจำหน่ายของสร้อยคอมีสัดส่วนร้อยละ 74.7 ยอดจำหน่ายต่างหูมีสัดส่วนร้อยละ 16.9 ผู้บริโภคที่สั่งซื้อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่เป็นวัยรุ่น และชอบสร้อยคอที่เป็นสไตล์แฟชั่น
หลังจากสินค้าเครื่องประดับไข่มุกได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่น ทำให้ราคาจำหน่ายของไข่มุกมีการเพิ่มขึ้น สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมญีและหยกแห่งประเทศจีนรายงานว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ราคาของไข่มุกน้ำจืดโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 30 – 50 โดยไข่มุกบางประเภทที่ได้รับความนิยมสูงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80
เมื่อวันที่ 26 – 30 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา งานแสดงสินค้าอัญมณีนานาชาติประเทศจีนปี 2566 (China International Jewelry Fair) จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญสำหรับแวดวงธุรกิจอัญมณีของจีนในทุกปี ปีนี้มีบริษัทเข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 1,600 คูหา มีผู้ประกอบการต่างประเทศเข้าร่วมงานจาก 40 ประเทศ อาทิ ไทย ศรีลังกา เกาหลีใต้ เป็นต้น โดยผู้ประกอบการให้ข้อมูลในงานว่า ราคาของไข่มุกทะเลที่นำเข้ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทียบกับเดือนพฤษภาคม ราคาของไข่มุกดําเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 เช่น ราคาไข่มุกบางประเภทจาก 10,000 หยวนเพิ่มขึ้นเป็น 13,000 – 15,000 หยวน เทียบกับเดือนสิงหาคม ราคาของไข่มุกทองเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 นอกจากนี้ ราคาเพิ่มขึ้นของไข่มุกทะเลที่นำเข้าก็ทำให้ราคาของไข่มุกน้ำจืดที่ผลิตในจีนเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้ปริมาณการจำหน่ายไข่มุกน้ำจืดระดับพรีเมี่ยมเพิ่มขึ้นด้วย ผู้เชี่ยวชาญในวงการอัญมณีจีนให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันไข่มุกได้รับความนิยมสูงในตลาดจีน เทียบกับไข่มุกทะเลที่มีราคาสูงแล้ว ไข่มุกน้ำจืดที่มีราคาต่ำกว่าได้รับความนิยมจากผู้บริโภคจีนมากกว่า
ข้อมูลการผลิตไข่มุกในประเทศจีน
ประเทศจีนเป็นประเทศที่ผลิตไข่มุกน้ำจืดใหญ่ของโลก โดยมีผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90 ของโลก ซึ่งพื้นที่เลี้ยงไข่มุกน้ำจืดส่วนมากกระจายในมณฑลเจ้อเจียง มณฑลเจียงซู มณฑลอานฮุย มณฑลหูเป่ย์ มณฑลหูหนานและมณฑลเจียงซี เป็นต้น พื้นที่เลี้ยงประมาณ 533.28 ตารางกิโลเมตร สำหรับมณฑลเจ้อเจียงเป็นมณฑลที่เลี้ยงไข่มุกนำจืดที่ใหญ่สุดของจีน พื้นที่เลี้ยงส่วนมากอยู่ในอำเภอซานเซี่ยหู เมืองจูจิ้ โดยมีปริมาณผลผลิตไข่มุกน้ำจืดคิดเป็นร้อยละ 73 ของโลก และคิดเป็นร้อยละ 80 ของทั้งประเทศจีน เมื่อปี 2565 ผลจำหน่ายไข่มุกของอำเภอนี้มากกว่า 40,000 ล้านหวน ส่วนมูลค่าจำหน่ายผ่านทางออนไลน์มากกว่า 25,000 ล้านหยวน
พื้นที่เลี้ยงไข่มุกทะเลส่วนมากอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง มณฑลไห่หนาน และเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง พื้นที่เลี้ยงประมาณ 20.08 ตารางกิโลเมตร
การผลิตไข่มุกเลี้ยงในจีนมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี 2563 ผลิตไข่มุกรวม (ไข่มุกธรรมชาติและไข่มุกเลี้ยง) ของจีนอยู่ที่ 1,000 ตัน สำหรับไข่มุกเลี้ยง 456.5 ตัน โดยประกอบด้วยไข่มุกน้ำจืด 454.4 ตัน ลดลงร้อยละ 25.4% และไข่มุกทะเล 2.1 ตัน ลดลงร้อยละ 23.74
ตลาดเครื่องประดับของประเทศจีน
ด้วยประชาชนจีนมีรายได้เพิ่มขึ้นยอดจำหน่ายเครื่องประดับอัญมณีโดยเฉลี่ยต่อคนก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอดจำหน่ายต่อคนในปี 2564 อยู่ที่ 711.29 หยวนต่อคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.55
เครื่องประดับไข่มุกเป็นหนึ่งในหมวดหมู่ของเครื่องประดับอัญมณีได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ภายใต้แรงขับเคลื่อนจากความนิยมของธุรกิจไลฟ์สดผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce ของจีน ถึงแม้ว่าตลาดเครื่องประดับไข่มุกได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่ปัจจุบันสัดส่วนเครื่องประดับไข่มุกในตลาดอัญมณีจีนยังมีสัดส่วนที่น้อยอยู่ที่ร้อยละ 2.2
การนำเข้าไข่มุกในปี 2565 ของจีน
เมื่อปี 2565 ประเทศจีนนำเข้าไข่มุก (HS Code: 7101) มีมูลค่า 486,097,385 หยวน ประเทศที่มีมูลค่าอยู่เป็น 5 อันดับแรกคือ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น พม่า ไทย ออสเตรเลีย รายละเอียด ดังนี้
ลำดับ | ประเทศ | มูลค่า (หยวน) |
1 | ฝรั่งเศส | 142,779,808 |
2 | ญี่ปุ่น | 75,389,156 |
3 | พม่า | 63,978,139 |
4 | ไทย | 57,797,336 |
5 | ออสเตรเลีย | 45,257,486 |
มณฑลที่นำเข้ามากเป็น 5 อันดับแรก คือ มณฑลกวางตุ้ง มณฑลเจ้อเจียง เซี่ยงไฮ้ มณฑลหูหนาน และปักกิ่ง ซึ่งเป็นมณฑล/เมืองที่มีเศรษฐกิจดีของจีน รายละเอียด ดังนี้
ลำดับ | มณฑล | มูลค่า (หยวน) |
1 | มณฑลกวางตุ้ง | 430,324,245 |
2 | มณฑลเจ้อเจียง | 27,300,735 |
3 | นครเซี่ยงไฮ้ | 24,876,091 |
4 | มณฑลหูหนาน | 1,255,719 |
5 | กรุงปักกิ่ง | 1,023,588 |
6 | มณฑลเจียงซู | 793,765 |
7 | มณฑลเหลียวหนิง | 188,127 |
8 | มณฑลซานตง | 174,513 |
9 | มณฑลเสฉวน | 106,475 |
10 | มณฑลฝูเจี้ยน | 30,185 |
11 | เกาะไหหลํา | 9,818 |
12 | มณฑลส่านซี | 9,564 |
13 | มณฑลยูนนาน | 4,000 |
14 | เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง | 560 |
การนำเข้าเครื่องประดับไข่มุกในปี 2565 ของจีน
เมื่อปี 2565 จีนนำเข้าเครื่องประดับไข่มุก (HS Code: 71161000) จากต่างประเทศมีมูลค่า 64,154,238 หยวน จากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี เป็นต้น รายละเอียด ดังนี้
ลำดับ | ประเทศ | มูลค่า (หยวน) |
1 | ญี่ปุ่น | 38,701,489 |
2 | สหรัฐอเมริกา | 5,122,008 |
3 | อิตาลี | 3,467,504 |
4 | ไทย | 3,176,947 |
5 | เยอรมนี | 2,395,940 |
6 | ฮ่องกง, จีน | 2,218,263 |
7 | ฝรั่งเศส | 1,016,795 |
8 | อินโดนีเซีย | 777,614 |
9 | สหราชอาณาจักร | 720,820 |
10 | เวียดนาม | 519,364 |
มณฑลที่นำเข้ามาก 5 อันดับแรก คือ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง มณฑลเจ้อเจียง มณฑลกวางตุ้ง มณฑล เหอหนาน รายละเอียด ดังนี้
ลำดับ | มณฑล | มูลค่า (หยวน) |
1 | นครเซี่ยงไฮ้ | 43,702,904 |
2 | กรุงปักกิ่ง | 9,219,773 |
3 | มณฑลเจ้อเจียง | 4,414,030 |
4 | มณฑลกวางตุ้ง | 3,818,397 |
5 | มณฑลเหอหนาน | 869,826 |
6 | มณฑลซานตง | 536,615 |
7 | มณฑลเจียงซู | 415,213 |
8 | มณฑลหูเป่ย์ | 218,110 |
9 | มณฑลเหลียวหนิง | 153,765 |
10 | มณฑลอานฮุย | 151,674 |
11 | มณฑลเสฉวน | 148,955 |
12 | เมืองเทียนจิน | 147,532 |
13 | มณฑลฝูเจี้ยน | 128,026 |
14 | มณฑลยูนนาน | 82,610 |
15 | มณฑลเฮย์หลงเจียง | 77,550 |
16 | มณฑไห่หนาน | 57,060 |
17 | มณฑลส่านซี | 9,233 |
18 | มณฑลเจียงซี | 2,299 |
19 | นครฉงชิ่ง | 666 |
การนำเข้าไข่มุกและเครื่องประดับไข่มุกจากประเทศไทย
เมื่อปี 2565 ประเทศจีนนำเข้าไข่มุกจากประเทศไทย (รวมไข่มุกธรรมชาติและไข่มุกเลี้ยง) มีมูลค่า 45,182,198 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 มณฑลที่นำเข้าทั้งหมดมี 3 แห่ง ได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง 45,012,058 หยวน มณฑลเจ้อเจียง 138,955 หยวน มณฑลฝูเจี้ยน 30,185 หยวน
สำหรับการนำเข้าเครื่องประดับไข่มุกมีมูลค่า 3,176,947 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 มณฑลที่นำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง มณฑลเจียงซู มณฑลเหอหนาน มณฑลอานฮุย รายละเอียดดังนี้
ลำดับ | มณฑล | มูลค่า (หยวน) |
1 | นครเซี่ยงไฮ้ | 1,547,081 |
2 | มณฑลเจ้อเจียง | 695,481 |
3 | มณฑลเจียงซู | 321,284 |
4 | มณฑลเหอหนาน | 271,596 |
5 | มณฑลอานฮุย | 135,425 |
6 | มณฑลกวางตุ้ง | 94,597 |
7 | กรุงปักกิ่ง | 48,328 |
8 | มณฑลไห่หนาน | 44,046 |
9 | เมืองเทียนจิน | 10,484 |
10 | มณฑลฝูเจี้ยน | 4,428 |
11 | มณฑลซานตง | 2,613 |
12 | มณฑลหูเป่ย์ | 1,118 |
13 | มณฑลเสฉวน | 466 |
อุปสรรคและปัจจัยด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดเครื่องประดับไข่มุกของจีน
– ราคาวัตถุดิบไข่มุกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ราคาต้นทุนเพิ่มขึ้น และราคาขายสูงขึ้นตาม
– เหตุการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ช่องทางจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce เป็นช่องทางยอดนิยม ซึ่งได้ดึงดูดผู้ประกอบการเข้ามาใช้ช่องทางนี้ ส่งผลให้การแข่งขันด้านราคามีความรุนแรงมาก และกำไรต่อหน่วยลดลง
– ช่องทางการตลาดในธุรกิจเครื่องประดับอัญมณีได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยใช้ประโยชน์จากการไลฟ์สดขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce แต่มีปัญหาในการผลิตไม่เพียงพอ กับมีการจำหน่ายสินค้าเลียนแบบปลอมปน
ความคิดเห็น สคต.ณ เมืองหนานหนิง ในอดีตผู้บริโภคจีนที่ซื้อเครื่องประดับไข่มุกส่วนมากเพื่อนำมาเป็นของขวัญให้กับผู้ใหญ่ที่เคารพที่เป็นเพศหญิง เช่น คุณแม่ คุณย่าหรือคุณยาย แต่ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ด้วยกระแสความนิยมเครื่องประดับไข่มุกได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และผู้ผลิตการมีออกแบบสินค้าให้มีทันสมัยมากยิ่งขึ้น ผู้บริโภควัยรุ่นจึงนิยมซื้อเครื่องประดับไข่มุกมากขึ้น เพื่อนำมาเป็นของขวัญให้แก่คู่รักหรือตนเอง โดยเฉพาะเป็นกลุ่มวันรุ่น/วัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 18 – 40 ปี ที่สั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเห็นถึงความต้องการเครื่องประดับไข่มุกสูงจากกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่น จึงได้ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตเครื่องประดับไข่มุกให้มีความหลากหลาย และมีรูปแบบหน้าตาสินค้าที่น่าสนใจมากขึ้น และการประชาสัมพันธ์ผ่านการไลฟ์สด/คลิปวิดีโอในแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น รวมถึงโปรโมชั่นส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการจำหน่าย ช่องทางส่งเสิมการจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับไข่มุกดังกล่าว จึงเป็นช่องทางฯ ที่มีศักยภาพและโอกาสสูงสำหรับผู้ประกอบการไทยในธุรกิจสินค้าเครื่องประดับไข่มุกในการบุกตลาดจีน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถไลฟ์สดและรีวิวผ่านคลิปวิดีโอสั้นในแพลตฟอร์ม Douyin (Tiktok) เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์เครื่องประดับไข่มุกให้กับผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นจีนตามกระแสที่นิยมด้วย สำหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์เปิดบริการในแพลตฟอร์มดังกล่าวและต้องการข้อมูลเพิ่มเดิม สามารถติดต่อ สคต. ณ เมืองหนานหนิง ทาง Email: thaitcnanning@ditp.go.th
—————————————————————————————————-
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง
แหล่งที่มา
https://www.163.com/news/article/IHO67VEQ00019UD6.html
https://www.chinairn.com/scfx/20231027/172924805.shtml
http://www.xfrb.com.cn/article/survey/13343458984075.html
https://www.sohu.com/a/713619632_116152
https://www.chinabaogao.com/market/202206/599436.html
https://www.chinairn.com/scfx/20231028/223440393.shtml
https://www.chinairn.com/scfx/20231030/093612596.shtml