s ภาพรวมเศรษฐกิจ s
ผู้ว่าธนาคารกลางชิลีเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุด โดยระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศในเดือนกันยายน 2566 อยู่ที่ 0% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจในเดือนนี้ทรงตัว (ไม่ติดลบ) หลังจากที่หดตัวลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนมีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งธนาคารกลางชิลีคาดว่าเศรษฐกิจของชิลีจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ทั้งนี้ ชิลีเป็นเจ้าภาพในการจัดงานแพนอเมริกันเกมส์ (Pan American Games หรือ Panam) ระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2566 ทำให้มีนักกีฬาและผู้เข้าชมกีฬาจาก 41 ประเทศทั่วโลกเดินทางเข้ามายังชิลี ส่งผลให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น รวมถึงภาคการค้าและบริการมีการปรับตัวดีขึ้น
ในส่วนของรายละเอียดในแต่ละด้านประจำเดือนกันยายน 2566 สคต. ณ กรุงซันติอาโก ขอสรุปรายละเอียด ดังนี้
1. การบริโภคภาคเอกชน (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี)
การบริโภคภาคเอกชนในชิลีในเดือนกันยายน 2566 มีการปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเทศกาลวันชาติที่เป็นวันหยุดยาวซึ่งชาวชิลีมีการเฉลิมฉลองและเดินทางพักผ่อน ประกอบกับบางบริษัทมีการจ่ายโบนัสให้กับพนักงานในเดือนนี้ โดยสะท้อนจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ ที่เพิ่มขึ้น 22.1% ปริมาณการจำหน่ายสินค้ามีการหดตัวน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยสินค้าคงทน (รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน) หดตัวลง -4.4% ปริมาณการจำหน่ายสินค้าในหมวดสินค้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม หมวดอาหาร หมวดเครื่องดื่มและยาสูบ พบว่ามีการหดตัวที่ -8.3% , -1.9%, -1.0% ตามลำดับ
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนกันยายน 2566 มีการปรับระดับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย จากเดิมซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.1 ในเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 40.7
2.การลงทุน (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี)
บรรยากาศการลงทุนในภาคเอกชนและภาครัฐของชิลีในภาพรวมประจำเดือนกันยายน 2566 ยังคงอยู่ในช่วงชะลอตัว โดยปริมาณการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 18% ตัวเลขการขออนุญาตก่อสร้างในโครงการที่อยู่อาศัยและโครงการอาคารสำนักงาน (คิดเป็นตารางเมตร) ลดลง -4.0% และปริมาณการจำหน่ายสินค้าวัสดุและเครื่องมือในหมวดก่อสร้าง ลดลง -18.1%
สำหรับดัชนีของความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมในเดือนกันยายน 2566 มีการปรับระดับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย จากที่ระดับ 43.2 มาอยู่ที่ระดับ 43.4 โดยผลจากการสำรวจพบว่าความเชื่อมั่นในภาคการค้า ภาคการผลิต และภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอยู่ที่ระดับ 47.3 40.5 และ 25 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่มีการปรับระดับลดลง
3. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (ข้อมูลจากธนาคารกลางชิลี https://si3.bcentral.cl และสำนักงานสถิติแห่งชาติของชิลี https://www.ine.gob.cl)
ตัวเลขการว่างงานของประเทศชิลีในเดือนกันยายน 2566 อยู่ที่ 8.9% ของจำนวนผู้ใช้แรงงานทั้งหมดในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่มีการปรับระดับลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า และยังคงเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564
สภาวะเงินเฟ้อของประเทศชิลีมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนกันยายน 2566 อยู่ที่ 5.1% ทั้งนี้ สินค้า 3 หมวดแรกที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 12 เดือน ได้แก่ (1) หมวดการศึกษา (2) หมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ (3) หมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 11.0% 9.1% และ 7.9% ตามลำดับ
4. การส่งออก-นำเข้า (ข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศของชิลี SUBREI – www.subrei.gob.cl)
การส่งออกสินค้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 มีมูลค่ารวมที่ 73,182 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่
สินค้า | ม.ค.-ก.ย. (ล้านเหรียญสหรัฐ) | ขยายตัว
(65/66) |
|
ปี 2565 | ปี 2566 | ||
สินแร่ | 41,121 | 40,753 | -0.9% |
เนื้อสัตว์ | 9,576 | 9,639 | 0.7% |
เคมีภัณฑ์ | 6,737 | 8,017 | 19% |
ผลไม้ | 4,650 | 5,133 | 10.4% |
ปลาแซลมอน | 4,479 | 4,515 | 0.8% |
เยื่อกระดาษ | 2,065 | 1,799 | -13% |
ไวน์ | 1,224 | 926 | -24% |
การนำเข้าของชิลีระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 มีมูลค่ารวมที่ 59,643 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -18.% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่
สินค้า | ม.ค-ก.ย. (ล้านเหรียญสหรัฐ) | ขยายตัว
(65/66) |
|
ปี 2565 | ปี 2566 | ||
สินค้าหมวดพลังงาน | 43,660 | 34,662 | -21% |
สินค้าอุปโภคบริโภค | 22,334 | 16,459 | -26% |
สินค้าทุน | 14,791 | 13,177 | -11% |
–รถยนต์เชิงพาณิชย์ | 2,333 | 1,730 | -26% |
–เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมก่อสร้าง | 923 | 1,091 | 18% |
จากการที่ตัวเลขการส่งออกของชิลีสูงกว่าตัวเลขการนำเข้า ทำให้ชิลีได้ดุลการค้า จำนวน 13,539 ล้านเหรียญสหรัฐ
5. การค้าของชิลีกับไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน (ข้อมูลสถิติทางการค้าจาก Global Trade Atlas)
ชิลีนำเข้าสินค้าจากไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 มูลค่า 425.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -33.68% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งสินค้าที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
- รถยนต์และส่วนประกอบ (09 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -50.06%)
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (13 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -31.41%)
- ปลากระป๋อง (66 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 53.38%)
- เครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้า (21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.46%)
- อัญมณีและเครื่องประดับ (21.48 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -15.52%)
สำหรับตัวเลขการนำเข้าของชิลีจากกลุ่มประเทศอาเซียนใน 5 อันดับแรก ได้แก่
ชิลีนำเข้าจากเวียดนาม 887.80 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -15.54%)
ชิลีนำเข้าจากไทย 425.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -33.68%)
ชิลีนำเข้าจากอินโดนีเซีย 223.60 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -33.26%)
ชิลีนำเข้าจากมาเลเซีย 130.46 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -36.86%)
ชิลีนำเข้าจากสิงคโปร์ 57.85 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -5.82%)
ชิลีส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 ที่มูลค่า 496.07 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -2.01% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งสินค้าที่ส่งออกไปยังไทยมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
- ทองแดง (31 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -11.01%)
- ปลาแซลมอนและอาหารทะเล (66 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -9.93%)
- เยื่อกระดาษ (54 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง -5.38%)
- สินแร่อื่น ๆ (38.69 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 738%)
- ผลไม้และผลิตภัณฑ์จากธัญพืช (71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.38%)
สำหรับตัวเลขการส่งออกของชิลีไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนใน 5 อันดับแรก ได้แก่
ชิลีส่งออกไปยังไทย 496.07 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -2.01%)
ชิลีส่งออกไปเวียดนาม 259.52 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -20.39%)
ชิลีส่งออกไปมาเลเซีย 243.29 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 6.74%)
ชิลีส่งออกไปอินโดนีเซีย 113.13 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -24.58%)
ชิลีส่งออกไปยังสิงคโปร์ 50.32 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -71.48%)
มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย-ชิลี ระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 อยู่ที่ 921.46 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง -19.71%) โดยชิลีส่งออกสินค้าไปยังไทยมากกว่านำเข้าจากไทย จึงทำให้ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าที่ 70.68 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก
พฤศจิกายน 2566