การนำเข้าอาหารทะเลของเกาหลีใต้มีมูลค่ารวม 6.47 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากปีก่อนหน้า โดยการนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 171 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเทศไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่เป็นอันดับ 8 ของเกาหลี โดยมีส่วนแบ่งทางตลาดถึงร้อยละ 2.6 ซึ่งผู้บริโภคชาวเกาหลีโดยทั่วไปยังคงมองว่าสินค้าประมงของไทยมีคุณภาพดีและปราศจากมลพิษ แต่คู่แข่งในภูมิภาคมักมีราคาต่ำกว่า

 

ภาพรวมตลาด

การผลิตสินค้าประมงในเกาหลีใต้

  • การผลิตอาหารทะเลของเกาหลีในปี 2565 มีจำนวน 3.6 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.7 จากปี 2564 ซึ่งหากอ้างอิงการผลิตสินค้าจากประเภทของแหล่งน้ำ สามารถแบ่งได้ 4 ประเภทหลัก ดังนี้
    • ผลผลิตจากแหล่งประมงน้ำตื้น ซึ่งเป็นหมวดที่ใหญ่ที่สุด รวมสินค้า อาทิ สาหร่ายทะเล ลดลงร้อยละ 4
    • ผลผลิตจากแหล่งประมงในทะเลและชายฝั่งลดลงร้อยละ 7
    • ผลผลิตจากแหล่งประมงน้ำลึกลดลงมากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 809
    • ผลผลิตจากแหล่งน้ำผิวดินเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14

ตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ ปี 2566

ด้วยการผลิตสินค้าอาหารทะเลภายในประเทศเกาหลีมีความผันผวนอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จึงคาดการณ์ว่าผลผลิตในประเทศจะไม่เติบโตขึ้นมากกว่านี้ในอนาคต เนื่องจากการขาดแคลนทรัพยากรในแหล่งประมงในทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้น การปนเปื้อนของน้ำทะเล และการสูญพันธุ์ของพันธุ์ปลาบางชนิด นอกจากนี้ ข้อตกลงการประมงทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึง เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zones) ของประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ญี่ปุ่นและจีน ก็ส่งผลต่อการจำกัดเขตการประมงเช่นกัน

 

นอกจากนี้ จำนวนเรือประมงของเกาหลีมีการลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วง 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้จึงพยายามเร่งส่งเสริมแหล่งประมงน้ำตื้นเป็นทางเลือกจนประสบความสำเร็จ ปัจจุบัน มีสัดส่วนในตลาดถึงร้อยละ 63 ของการผลิตอาหารทะเลของเกาหลีทั้งหมด อีกทั้ง รัฐบาลก็กำลังหาวิธีที่จะได้รับและซื้อโควต้าการประมงที่สูงขึ้นในน่านน้ำต่างประเทศ เช่น รัสเซีย รวมถึง มาตรการจากกระทรวงมหาสมุทรและประมงเกาหลี (MOF) ที่กำหนดขีดจำกัดการจับที่ได้รับอนุญาต (TAC: Total Allowable Catch) สำหรับสัตว์น้ำ 16 ชนิด และในปี 2561 ได้เปลี่ยนจาก TAC สำหรับตลอดทั้งปีเป็นเฉพาะเดือนกรกฎาคม-มิถุนายน และได้กำหนดข้อจำกัดสำหรับฤดูประมง พื้นที่ประมง จำนวนเรือประมง และวิธีการประมง

 

นอกจากการแบ่งตามแหล่งน้ำผลิตแล้ว ก็ยังสามารถแบ่งได้ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วย ปลาชนิดต่างๆ สาหร่ายทะเล ปลาหมึก และอื่นๆ

  • ชนิดสัตว์น้ำที่สามารถเก็บเกี่ยวได้จากแหล่งประมงในทะเลและชายฝั่ง อาทิ ปลาแมกเคอเรล ปลาหมึก ปลาอินทรีบั้ง ปลาดาบเงินใหญ่ ปลาสีกุน ปลากะตัก ปลาจวด ปลาแมกเคอเรลแปซิฟิก ปูม้า ปลาค็อด ปลาปักเป้า และปลามังค์ฟิช เป็นต้น
  • ผลผลิตของสาหร่ายทะเลซึ่งเป็นส่วนผสมในอาหารเกาหลีและอาหารแปรรูป มีปริมาณมากกว่าการผลิตปลา ตั้งแต่ปี 2559 และได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองการบริโภคและการส่งออกผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเลแห้งปรุงรสไปยังผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งเป็นผลจากกระแส K-Wave และ K-Food
  • การจับปลาหมึกในประเทศลดลงอย่างมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องด้วยอุณหภูมิของน้ำที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ราคาปลาหมึกในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แต่ความความต้องการนำเข้าปลาหมึกยังคงเพิ่มขึ้น มีการนำเข้าปลาหมึก (HSK 03074) ปริมาณ 1.2 แสนตันในปี 2561เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 และยังคงนำเข้าปลาหมึกอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณนำเข้าอยู่ที่ 1.08 แสนตันในปี 2565
  • เมื่อไม่นานมานี้ เรือประมงปลาหมึกจากจังหวัดคังวอนจัดซื้อโควต้าการจับปลาจาก Russia Federal Agency มูลค่า 14 ล้านวอน หรือประมาณ 1.05 หมื่นเหรียญสหรัฐต่อเรือ โดยเรือหนึ่งลำสามารถจับปลาหมึกได้ถึง 91 ตัน และปลาปักเป้า 1.8 ตัน ซึ่งโควต้านี้ใช้ได้ถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

ตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ ปี 2566

 

สำหรับการผลิตสินค้าอาหารทะเลแปรรูปนั้น มีปริมาณ 1.3 ล้านตันในปี 2565 ลดลง 5.4% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการหดตัวของการบริโภคจากราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูงและการชะลอตัวของการส่งออกอันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย

ตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ ปี 2566

 

การบริโภคสินค้าประมง

การบริโภคสินค้าประมงชนิดปลาและสัตว์น้ำที่มีเปลือกต่อหนึ่งคนของเกาหลีมีความคงที่มาตลอด 10 ปีนี้ แต่ในทางกลับกัน การบริโภคสาหร่ายทะเลต่อหนึ่งคนได้เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งสถาบันทางทะเลของเกาหลีใต้ (Korea Maritime Institute) คาดการณ์ว่าการบริโภคอาหารทะเลต่อหัว จะเพิ่มขึ้นเป็น 70.1 กิโลกรัมในปี 2566

ตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ ปี 2566

ชนิดของอาหารทะเลที่นิยมบริโภคในเกาหลีเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ปลาอลาสก้าพอลล็อค หมึกกล้วย ปลาแมกเคอเรล กุ้ง ปลาซีกเดียว ปู ปลามังค์ฟิช ปลากะตัก หอยนางรม และหมึกสาย แต่อุปทานภายในประเทศมีจำนวนจำกัดและมีราคาสูง ส่งผลให้ตลาดอาหารทะเลเกาหลีมักขึ้นอยู่กับอาหารทะเลนำเข้าแช่แข็งเป็นหลัก โดย ณ สิ้นปี 2564 ส่วนแบ่งโดยประมาณของอาหารทะเลนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 68 ของทั้งหมด และมีการบริโภคอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคและอุตสาหกรรมที่นำไปผลิตหรือจำหน่ายต่อไป

  • โรงแรมและห้างสรรพสินค้ามักใช้อาหารทะเลมีคุณภาพในราคาที่สูง โดยรวบรวมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลสหรัฐอเมริกา แคนาดา นอร์เวย์ เช่น กุ้งมังกร ปลาคอด หอยแมลงภู่ และปลาแซลมอน
  • แตกต่างกับภาคบริการอาหารทั่วไปที่มักจะใช้ชนิดที่ราคาถูกกว่า โดยอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคบริการนี้ ได้แก่ ปลาซีกเดียวแช่แข็ง ปลาจวด ปลาแมกเคอเรล กุ้ง ปลาอลาสก้าพอลล็อค และปลาแซลมอนจากฟาร์มเลี้ยง
  • อีกทั้ง อุตสาหกรรมอาหารทะเลของเกาหลีประสบความสำเร็จในการส่งเสริมอาหารทะเลเพื่อทดแทนเนื้อแดง การบริโภคอาหารทะเลยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปริมาณการผลิตจะชะลอตัว โดยอัตราการบริโภคอาหารทะเลเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2543-2561 เติบโตร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์

นอกจากนี้ ความต้องการต่ออาหารทะเลที่พร้อมปรุง อาหารทะเลสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ HMR ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มความสะดวกสบายในการทำอาหาร ซึ่งเป็นผลจากการมีบทบาททางเศรษฐกิจของผู้หญิงและครัวเรือนเดี่ยวที่เพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลคาดการณ์ว่ายอดขายของสินค้า HMR ชนิดอาหารทะเลจะเติบโตเฉลี่ย 14% ต่อปีจนถึงปี 2573

 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีความกังวลที่เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้บริโภคชาวเกาหลีถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในอนาคตซึ่งเป็นผลกระทบจากการปล่อยน้ำเสียของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เมืองฟุกุชิมะ จากการสำรวจโดยองค์กรสิ่งแวดล้อมเกาหลี (KFEM) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ผู้ตอบแบบสอบถามประมาณร้อยละ 79 กล่าวว่า พวกเขาอาจจะลดหรือหยุดบริโภคอาหารทะเลเมื่อการปล่อยน้ำเสียเริ่มขึ้น แม้ว่ารัฐบาลรับรองว่าจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมอาหารทะเลในท้องถิ่น แต่ความกังวลของประชาชนยังคงมีอยู่มากต่อการปนเปื้อนในมหาสมุทรและความปลอดภัยอาหารทะเล ปัจจุบัน เกาหลีใต้ได้เริ่มสั่งห้ามการนำเข้าอาหารทะเลจาก เพียง 8 จังหวัดของญี่ปุ่น รวมถึงฟุกุชิมะเท่านั้น แตกต่างจากจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าอาหารทะเลญี่ปุ่นรายใหญ่ที่สุด แต่ได้กำหนดห้ามการนำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดจากญี่ปุ่นแล้ว รัฐบาลเกาหลีกำลังดำเนินมาตรการเพื่อประเมินระดับรังสีในอาหารทะเลนำเข้าจากทุกแหล่งผลิต เพื่อรับรองความปลอดภัยของอาหารทะเลและผลการวิเคราะห์จะถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ของกระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา (MFDS) ในแต่ละวัน

 

การค้าของสินค้าประมง

การนำเข้าทั้งหมด

  • ด้วยความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้นและอุปทานอาหารทะเลที่จำกัด ส่งผลให้เกาหลีกลายเป็นผู้นำเข้าอาหารทะเลตั้งแต่ปี 2544 ซึ่ง มีการนำเข้าอาหารทะเลมูลค่าถึง 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 คาดได้ว่าการนำเข้าอาหารทะเลของเกาหลีจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ส่งออกอาหารทะเลมายังเกาหลีใต้ รวมถึงไทย ประเภทอาหารทะเลที่นำเข้ามากที่สุดของเกาหลีในปี 2565 ได้แก่ กุ้ง ที่มูลค่า 747 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ ปี 2566

 

จากสถิติการนำเข้าที่จัดทำโดยสมาคมการค้าระหว่างประเทศเกาหลี (KITA) อ้างอิงถึงศุลกากรเกาหลี (KSC) แสดงถึง การนำเข้าอาหารทะเลของเกาหลีจากต่างประเทศมีมูลค่ารวม 6.47 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 16.6% จากปี 2564 โดยมาจากรัสเซียถึง 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นมูลค่ามากที่สุด ตามมาด้วยจีน เวียดนาม นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา และไทยอยู่อันดับที่ 8

ตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ ปี 2566

ตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ ปี 2566

การนำเข้าจากประเทศไทย

จากการตรวจสอบศุลกากรของเกาหลี (KCS) เกาหลีใต้นำเข้าอาหารทะเลไทยมูลค่า 170 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 ลดลงจากปีก่อนหน้า โดยส่วนแบ่งของตลาดอาหารทะเลของไทยในอุตสาหกรรมอาหารทะเลเกาหลีใต้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.6

ตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ ปี 2566

ตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ ปี 2566

*ตารางข้างต้นครอบคลุมเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพื่อการบริโภคเท่านั้น ไม่รวมผลิตภัณฑ์สำหรับส่วนผสมของอาหารสัตว์

สินค้าอาหารทะเลทั้ง 20 รายการนี้ คิดเป็นร้อยละ 96 ของสินค้านำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดจากประเทศไทยมายังเกาหลี

 

กฎระเบียบการนำเข้าและอัตราภาษีศุลกากร

  • ผู้นำเข้าอาหารทั้งหมดสามารถนำเข้าอาหารได้ หลังจากเสร็จสิ้นการจดทะเบียนการนำเข้าอาหารต่อกระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา (MFDS)
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าอาหารต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยของอาหารนำเข้า และพระราชบัญญัติส่งเสริมการประหยัดและรีไซเคิลทรัพยากร
    • ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการประหยัดและรีไซเคิลทรัพยากร ผู้นำเข้าทุกคนต้องรายงานต่อ Korea Environment Corporation เพื่อชำระค่าธรรมเนียม
  • อาหารทะเลไทยได้รับประโยชน์จากการยกเลิกภาษีนำเข้าภายใต้ Korea-ASEAN FTA ภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าประมงที่นำเข้าจากไทยลดลงเหลือ 0 ตั้งแต่ปี 2550 รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FTA เกาหลี-อาเซียน รวมถึงภาษี สามารถดูได้ที่หน้าหลักของ FTA Portal
    • สินค้าชนิด Non-FTA มีอัตราภาษีตั้งแต่ร้อยละ 5-20

โอกาสสำหรับผู้ส่งออกไทย

เกาหลีนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศต่างๆ ประมาณ 100 ประเทศ โดยมีประเทศคู่ค้าผลิตภัณฑ์ประมงรายใหญ่ ได้แก่ รัสเซีย จีน เวียดนาม นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา เปรู ญี่ปุ่น ไทย แคนาดา และไต้หวัน ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่เป็นอันดับ 8 ของเกาหลี

 

ราคา คุณภาพ และประสิทธิภาพในการขนส่ง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการส่งออกอาหารทะเลของไทยมายังเกาหลีใต้ แม้จะมีการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดอาหารทะเลเกาหลี แต่อาหารทะเลของไทยยังคงเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ของผู้นำเข้าเกาหลี เนื่องจากมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพและอุปทานที่มั่นคง โดยทั่วไป ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทยมีคุณภาพสูง แต่ก็มีราคาสูงกว่าคู่แข่งในภูมิภาคอื่นๆ เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตาม ความกังวลของผู้บริโภคเกาหลีต่อความปลอดภัยของอาหารทะเลหลังการปล่อยน้ำเสียจากเมืองฟุกุชิมะ อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการอาหารทะเลของประเทศโดยทั่วไป รวมถึง อาหารทะเลนำเข้าจากประเทศใกล้เคียงกับมหาสมุทรแปซิฟิกได้ อีกทั้ง ผู้นำเข้าเกาหลียังคาดว่าอาจจะกระจายการนำเข้าจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น

 

โดยรวมแล้ว ผู้นำเข้าอาหารทะเลมักจะจำหน่ายโดยตรงให้กับโรงแรมและอุตสาหกรรมบริการอาหาร หรือตัวแทนจำหน่ายที่ขายให้กับตลาดและร้านอาหารท้องถิ่นต่อไป

  • สำหรับการนำเข้าในปริมาณมาก ผู้นำเข้าโดยทั่วไปจะขายโดยตรงไปยังร้านค้าปลีก เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้า
  • สำหรับการนำเข้าในปริมาณน้อย ผู้นำเข้าจะจำหน่ายให้กับผู้จัดจำหน่ายต่อไป

นอกจากนี้ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ประเทศเกาหลีใต้ ก็ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าได้ดี โดยหลายประเทศ อาทิ จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา ชิลี แคนาดา และอินโดนีเซีย ได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้า Busan International Seafood & Fisheries Expo เป็นประจำ ภายในงาน มีการแสดงสินค้าอาหารทะเลหลากหลายประเภท รวมถึง ผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก โรงแรม ร้านอาหาร และผู้แปรรูปอาหาร เป็นต้น โดยงานแสดงสินค้าอาหารทะเลที่สำคัญสองรายการในเกาหลีใต้ ได้แก่

ตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ ปี 2566

ความเห็นสำนักงานฯ โดยรวมตลาดอาหารทะเลของเกาหลีใต้ยังมีโอกาสเติบโตขึ้น แต่คาดว่าจะไม่ก้าวกระโดด เนื่องจากเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิตในประเทศ อาทิ ปัญหาทรัพยากรประมงที่ขาดแคลน ความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานนิวเคลียร์ เมืองฟุกุชิมะ ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกาหลีต่ออาหารทะเลเป็นอย่างมาก ด้วยการผลิตในประเทศที่มีอุปสรรค การนำเข้าสินค้าอาหารทะเลจากต่างประเทศมายังเกาหลีใต้จึงมีโอกาสเติบโตขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็ถือเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าที่ส่งออกอาหารทะเลมาเป็นประจำ

 

ด้วยคุณภาพและความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้สินค้าอาหารทะเลไทยเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภคชาวเกาหลีและเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ในประเภทสินค้าอาหารทะเลนี้ แต่ด้วยการแข่งขันทางด้านราคาจากประเทศอื่นๆ ส่งผลกระทบให้มูลค่าการนำเข้ามายังเกาหลีใต้ลดลงไป แต่ว่าก็ยังมีผู้นำเข้าที่สนใจในสินค้าของไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึง ผู้นำเข้ารายใหม่ๆ เพื่อเป็นการพบปะกับผู้นำเข้ามากขึ้น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้ารวมถึงกิจกรรมการจับคู่การค้าออนไลน์เป็นวิธีที่ส่งเสริมและเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างกันต่อไป

 

******************************

สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล

 30 พฤศจิกายน 2566

thThai