เทรนด์การช็อปปิ้งออฟไลน์ของผู้บริโภควัยรุ่นจีน

เทรนด์การช็อปปิ้งออฟไลน์ของผู้บริโภควัยรุ่นจีน

เมื่อเร็วๆ นี้ หัวข้อเกี่ยวกับ “วัยรุ่นไปช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้า แต่ไปเฉพาะที่ชั้น B1 และ B2 เท่านั้น” ขึ้นเป็นหัวข้อยอดนิยมบนอินเทอร์เน็ตจีน ซึ่งได้ดึงดูดชาวอินเทอร์เน็ตจีนจำนวน  190 ล้านคนเข้าร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับ หัวข้อดังกล่าว รวมถึงผู้บริโภครุ่นใหม่จํานวนมากมีความรู้สึกเดียวกันกับหัวข้อนั้นด้วย

เทรนด์การช็อปปิ้งออฟไลน์ของผู้บริโภควัยรุ่นจีน

ความหมายของ ชั้น B1 และ B2 ในหัวข้อที่กล่าวข้างต้น คือ พื้นที่ชั้นใต้ดิน 1 และชั้นใต้ดิน 2 ของห้างสรรพสินค้าที่ติดกับรถไฟใต้ติน แต่ก่อนพื้นที่ 2 ชั้นนี้ในห้างสรรพสินค้าส่วนมากประกอบด้วยสิ่งอำนวยความพื้นฐานเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้พัฒนาเต็มไปด้วยร้านสินค้าต่างๆ อย่างครบวงจร และมีราคาจำหน่ายที่ไม่สูงมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอาหาร ของทานเล่น อาหารว่าง เครื่องดื่ม เครื่องประดับ และสินค้าแฟชั่นเป็นหลัก ซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการและความนิยมของผู้บริโภควัยรุ่น

มีชาวอินเทอร์เน็ตได้กำหนดรูปแบบการช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้า ของวัยรุ่น ดังนี้ เดินออกจากชั้นใต้ดิน – เข้าสู่ชั้น B1 ของห้างสรรพสินค้า – ซื้อชานม 1 แก้ว – ช็อปปิ้งที่ร้าน MINISO – เล่น Blind box เพื่อได้ประสบการณ์ที่มีความสุข – รับประทานอาหารที่ร้านอาหารขนาดเล็ก (Quick Menu)  นอกจากนี้ ชาวอินเตอร์เน็ตยังให้ความเห็นว่า ตอนไปช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้านิยมไปที่ชั้น B1 และ B2 เพื่อไปเดินเล่น ดูสินค้า และการออกแบบ อาจไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในสุดท้าย

รูปแบบการช็อปปิ้งอย่างเสรีภาพดังกล่าวได้รับความนิยมจากผู้บริโภครุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสการใช้จ่ายจากผู้บริโภคกลุ่มนี้ หลายแบรนด์ที่มีชื่อเสียงเริ่มมีการย้ายหน้าร้านจากชั้นบนมาที่ชั้น B1 และ B2 เพิ่มขึ้น และทำให้ห้างสรรพสินค้าให้ความสำคัญกับพัฒนาชั้น B1 และ B2 มากขึ้น และเพิ่มประเภทสินค้าสมัยใหม่ เช่น อุปกรณ์วิดีโอเกม สินค้าหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลื้ยง นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมสนุกสนานสำหรับผู้บริโภครุ่นใหม่ด้วย เช่น นิทรรศการ IP กิจกรรมป็อปอัพ เทศกาลดนตรี เป็นต้น ทั้งนี้ การได้รับความนิยมของชั้น B1 และ B2 ได้รับผลประโยชน์จากพฤติกรรมบริโภคของผู้บริโภควัยรุ่นที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะนำโอกาสใหม่มาให้กับการค้าออฟไลน์

เพื่อวิเคราะห์เทรนด์การช็อปปิ้งออฟไลน์ของผู้บริโภควัยรุ่นจีน หลังจากเกิดหัวข้อ “วัยรุ่น          ช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้า แต่ไปเฉพาะที่ชั้น B1 และ B2 เท่านั้น” หนังสือพิมพ์ Tonight News Paper ซึ่งเป็นสื่อจากเมืองเถียนจีน คอลัมน์ “Tonight’s Investigation” ได้จัดทำการสํารวจโดนเฉพาะเรื่องความสนใจการช็อปปิ้งออฟไลน์ของผู้บริโภควัยรุ่น และได้ทำแบบสอบถามทั้งหมด 307 ชุด มีผลสรุปว่า กิจกรรมส่วนลดและกิจกรรมส่งเสริมการขายไม่สามารถดึงดูดผู้บริโภควัยรุ่นจีนได้สำหรับร้านค้าออฟไลน์ เพียงแต่ตอบสนองความต้องการด้านการช็อปปิ้ง เสนอการสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ที่จะสามารถดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ความถี่ในการช็อปปิ้งออฟไลน์ของผู้บริโภควัยรุ่น

ผู้บริโควัยรุ่นที่ไปช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้าหรือย่านการค้าครั้งล่าสุดในเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว            มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 41.04 ผู้บริโควัยรุ่นที่ไปช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้าหรือย่านการค้าครั้งล่าสุดในสัปดาห์ที่แล้วมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 45.6 ผู้บริโควัยรุ่นที่ไปช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้าหรือย่านการค้าครั้งล่าสุดภายใน 1 สัปดาห์มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 13.36

นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2023 เป็นต้นมา ผู้บริโภควัยรุ่นที่มีความถี่การช็อปปิ้งออฟไลน์ต่อหนึ่งสัปดาห์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.6 สำหรับความถี่ที่ลดลงมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 43.98 และความถี่ที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 10.42 ซึ่งดูจากภาพรวมแล้ว ผู้บริโภควัยรุ่นที่ออกไปช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้าหรือย่านการค้าลดลง

อิทธิพลของกิจกรรมโปรโมชั่นที่เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายต่อผู้บริโภควัยรุ่นลดลง

ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความอ่อนไหวสูงต่อปัจจัยด้านราคาของสินค้า แต่เมื่อเทียบกับการลดราคาบนแพลตฟอร์ม E-commerce ความน่าดึงดูดใจของโปรโมชั่นส่วนลดทางออฟไลน์จากผู้บริโภควัยรุ่นกําลังลดลง จากผลแบบสอบถามพบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 31.27 เห็นว่าโปรโมชั่นออฟไลน์ เช่นคูปอง กิจกรรมช่วงฤดูกาลส่วนลดและกิจกรรมส่วนลดการเฉลิมฉลองร้านค้า สามารถเพิ่มความสนใจในการช็อปปิ้ง และผู้บริโภควัยรุ่นร้อยละ 21.82 เห็นว่าไม่นิยมกิจกรรมโปรโมชั่นดังกล่าว ผู้บริโภควัยรุ่นอีกร้อยละ 46.91 เห็นว่าไม่สนใจกิจกรรมโปรโมชั่นดังกล่าวและไม่ได้รับผลกระทบใดๆ  ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภควัยรุ่นไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกิจกรรมโปรโมชั่นในการช็อปปิงออฟไลน์แล้ว และกลับให้ความสำคัญกับการบรรยากาศและการสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ มากขึ้น

การเลือกชั้นช็อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า

ระหว่างการช็อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า ผู้บริโภควัยรุ่นที่นิยมไปช้น 1 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.22 ชั้นใต้ดินคิดเป็นร้อยละ 26.71 ชั้น 2-3 คิดเป็นร้อยละ 17.26 และชั้น 4 ถึงชั้นบนสุดคิดเป็นร้อยละ 22.81

ซึ่งตัวเลขนี้ได้ตอบหัวข้อ “วัยรุ่นช็อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้า แต่ไปเฉพาะที่ชั้น B1 และ B2 เท่านั้น” ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าชั้นใต้ดินของห้างสรรพสินค้ามีความได้เปรียบด้านคมนาคมที่ติดต่อกับรถไฟใต้ดินและมีสินค้าครบวงจร ราคาจำหน่ายสินค้าไม่สูงมากที่ได้ดึงดูดผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก แต่ผู้บริโภคบางส่วนก็มีการเลือกไปช็อปปิ้งชั้นอื่นด้วย

การไปเดินห้างสรรพสินค้าและย่านการค้าเพื่อรับประทานอาหารเป็นหลัก

จากผลแบบสอบถาม พบว่าผู้บริโภควัยรุ่นร้อยละ 44.3 ไปเดินห้างสรรสินค้าและย่านการค้าเพื่อรับประทานอาหาร จากตัวเลขของกรมสถิติแห่งชาติจีน พบว่า ช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม 2023 มูลค่าขายปลีกสินค้าทางสังคมของจีนอยู่ที่ 34,353,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา รายได้จากร้านอาหารมีมูลค่า 4,190,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 ซึ่งอัตราการเติบโตของรายได้ร้านอาหารนี้สูงกว่ารายได้จากประเภทสินค้าอื่นๆ อาทิ อัญมนี (ร้อยละ 12) สุราและบุหรี่ (ร้อยละ10.3) สินค้าสิ่งทอ (ร้อยละ 10.2) ซึ่งการเติบโตที่รวดเร็วของการบริโภคอาหารส่งเสริมให้ความเคลื่อนไหวของลูกค้ารวบรวมไปที่ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้ามากขึ้น

นอกจากไปรับประทานอาหารแล้ว ยังมีผู้บริโภคบางส่วนไปเที่ยวสังสรรค์และซื้อของด้วย เช่น ผู้บริโภควัยรุ่นร้อยละ 28.66 ไปเดินเล่นและดูหนัง ร้อยละ 26.06 ไปนัดพบกับเพื่อน ร้อยละ 22.15 ไปซื้อเสื้อผ้า ร้อยละ 18.57 พาลูกไปเที่ยว เป็นต้น

แหล่งช็อปปิ้งที่ผู้บริโภควัยรุ่นนิยม

จากผลแบบสอบถามพบว่า แหล่งช็อปปิ้งที่ผู้บริโภควัยรุ่นที่นิยมไปมากที่สุดคือ ตลาดสด โดยมีสัดส่วนจำนวนผู้บริโภคคิดเป็นร้อยละ 78.5 พฤติกรรมผู้บริโภควัยรุ่นรุ่นใหม่ในปัจจุบันมีความแตกต่างกับช่วงก่อนหน้าที่นิยมไปซูเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมี่ยมและสั่ง delivery ทุกวัน แต่ปัจจุบัน วัยรุ่นจีนจำนวนมากที่กำลังนิยมไปช็อปปิ้งที่ตลาดสด แล้วแชร์ประสบการณ์ในการเดินตลาดสดของตนเองเข้าสื่อสังคมออนไลน์ และยังมีวัยรุ่นบางส่วนตั้งใจไปเที่ยวตลาดสดระหว่างไปท่องเที่ยวที่เมืองอื่น เนื่องจากว่าตลาดสดในสมัยนี้มีสินค้าควบวงจร มีสภาพแวดล้อมที่เรียบร้อยและสะอาด รวมถึงมีบรรยากาศชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาความเครียดและให้ความสุข ความอบอุ่นแก่วัยรุ่น

อันดับต่อไปคือ คือซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้ามีสัดส่วนร้อยละ 45.6 ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านร้อยละ 44.95 และซูเปอร์มาร์เก็ตจำหน่ายสินค้าอาหารนำเข้าโดยเฉพาะ

ทั้งนี้ สรุปได้ว่า พฤติกรรมบริโภคของผู้บริโภควัยรุ่นจีนเน้นลักษณะความเป็นแปลกใหม่และความแตกแต่ง ขณะเดียวกันนิยมแสดงท่าทีตนเองโดยใช้ของที่ตนเองชอบ นิยมรูปแบบช็อปปิ้งออฟไลน์ที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นการเปิดประสบการณ์ที่ดี และมีความคิดริเริ่มมากขึ้น

ความคิดเห็น สคต. ณ เมืองหนานหนิง ด้วยการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของสังคมจีน ผู้บริโภควัยรุ่นจีนนิยมซื้อของผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce ทางออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากมีความได้เปรียบด้านราคาที่ไม่แพงและความสะดวก ทำให้ผู้บริโภคซื้อของผ่านร้านค้าทางออฟไลน์น้อยลง การไปช็อปปิ้งออฟไลน์ของผู้บริโภควัยรุ่นนิยมประเภทสินค้าที่ให้การสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ เป็นหลัก เช่น การรับประทานอาหาร สันทนาการและความบันเทิง เป็นต้น ขณะเดียวกัน พฤติกรรมบริโภคของผู้บริโภควัยรุ่นจะเปลี่ยนแปลงตามกระแสที่นิยม จึงนำโอกาสให้กับร้านค้าทางออฟไลน์ด้วย เช่น ตลาดสด ร้านค้าในชั้น B1 และ B2 ของห้างสรรพสินค้าที่กล่าวข้างต้น ดังนั้น อาจจะเป็นโอกาสใหม่สำหรับสินค้าและบริการไทยที่ประสงค์มาทดลองตลาดออฟไลน์ของจีน โดยเฉพาะสำหรับสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ประจำวัน สินค้าด้านการบันเทิง และสินค้าแบบความคิดสร้างสรรค์ และธุรกิจบริการ เช่น ร้านอาหารไทย ร้านนวดไทย และร้านวัฒนธรรมไทยอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังคงต้องติดตามพฤติกรรมบริโภควัยรุ่นจีนอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างบรรยากาศและรูปแบบการบริโภคที่มีลักษณะเฉพาะที่เป็นจุดขาย เพื่อดึงดูดและสร้างการสัมผัสประสบการณ์แบบพิเศษ รวมถึงคุณภาพที่ดีของสินค้าและยกระดับการให้บริการกับผู้บริโภควัยรุ่นจีน

 

…………………………………………………………………………………………………………………………..

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง

แหล่งที่มา

http://www.ce.cn/cysc/sp/info/202312/13/t20231213_38827191.shtml

https://mp.weixin.qq.com/s/-gwltHc5V_LJ2WL62TIUQg

https://zjnews.zjol.com.cn/zjnews/202311/t20231126_26471677.shtml

thThai