– สินค้าราคาสูงขึ้น ส่งผลให้การบริโภคส่วนบุคลลดลง –

—————————

ข้อเท็จจริง

สำนักคณะรัฐมนตรีแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งไม่รวมผลกระทบจากความผันผวนของราคา ซึ่งแสดงให้เห็นการลดลงจริงตามฤดูกาลที่ลดลง ร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า และคิดเป็นการลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีที่ ร้อยละ 2.1 นับเป็นการเติบโตแบบติดลบครั้งแรกในรอบสาม     ไตรมาส จากการบริโภคส่วนบุคคลลดลง เนื่องจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น รวมถึงการลงทุนที่ลดลง ส่งผลให้เกิดความรู้สึกชะลอตัวในทางเศรษฐกิจ

ภายหลังจากที่มีการประกาศข้อมูลตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญตลอดเดือนกันยายนที่ผ่านมา จากการสอบถามนักเศรษฐศาสตร์เอกชนแห่ง Nihon Keizai Shimbun จำนวน 10 ราย คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในแนวการเติบโตเชิงลบมากกว่าการเติบโตเชิงบวก โดยคาดการณ์ว่า หากเป็นบวกค่าสูงสุดคือ +ร้อยละ 1.1 และค่าต่ำสุดคือ – ร้อยละ 3.1 นอกจากนี้ ตัวเลขคาดการณ์ของภาคเอกชนที่รวบรวมล่วงหน้าโดย QUICK อยู่ที่การลดลง ร้อยละ 0.5 ต่อปี อุปสงค์ในประเทศมีส่วน -1.6 จุด และอุปสงค์ภายนอก -0.5 จุดต่อปี เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

GDP ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.8 โดยอัตราการเติบโตได้รับแรงหนุน จากการนำเข้าที่น้อยลงซึ่งถูกหักออกในการคำนวณ GDP เช่นเดียวกับ ในเดือนกรกฎาคม – กันยายน ที่มีสภาพคล้ายกัน จึงมีแนวโน้มที่อาจจะแสดงอัตราการเติบโตเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน มีแนวโน้มว่าจะอยู่ในระดับที่อ่อนแอ ซึ่ง นาย  Kyohei Morita จาก Nomura Securities เห็นว่า “อุปสงค์ในประเทศยังคงเบาบาง”

ในแง่ของอุปสงค์ในประเทศ การบริโภคส่วนบุคคลซึ่งคิดเป็นส่วนใหญ่ของ GDP ลดลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน นับเป็นการเติบโตในแนวลบรายไตรมาสติดต่อกันเป็นครั้งที่สอง แม้ว่าการรับประทานอาหารนอกบ้านและการจับจ่ายซื้อโทรศัพท์มือถือจะเป็นปัจจัยบวก แต่ยอดขายรถยนต์กลับเป็นลบ สาเหตุนี้เกิดจากการระงับการผลิต ที่โรงงานในประเทศญี่ปุ่นของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น เนื่องจากระบบขัดข้องในเดือนสิงหาคม

ดัชนีแนวโน้มการบริโภครวมของกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร ซึ่งแสดงแนวโน้มการบริโภคส่วนบุคคล ลดลง ร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้าของไตรมาสเดือนกรกฎาคม-กันยายน นับเป็นการลดลงรายไตรมาสที่สองติดต่อกัน เมื่อพิจารณาถึงการเจรจาการจัดการแรงงานในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ เงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับพนักงานเต็มเวลา (ปกติ) ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.0 ในเดือนกันยายน แต่ไม่สามารถก้าวตามอัตราเงินเฟ้อได้ จนถึงเดือนเดียวกัน ค่าจ้างที่แท้จริงต่ำกว่าระดับปีที่แล้วเป็นเวลาถึง   18 เดือนติดต่อกัน

การลงทุนซึ่งเป็นอีกเสาหลักหนึ่งของ GDP ลดลง ร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อน นับเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันที่มีการเติบโตติดลบ เนื่องจากการปรับตัวในตลาดเซมิคอนดักเตอร์ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การลงทุนในอุปกรณ์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์จึงลดลง

จากข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ดัชนีการขนส่งสินค้าทุน (ไม่รวมอุปกรณ์การขนส่ง) ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ลดลง ร้อยละ 4.2 ซึ่งเป็นตัวเลขติดลบครั้งแรกในรอบสองไตรมาส ซอฟต์แวร์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ คาดว่าจะยังคงแข็งแกร่ง แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะสามารถขับเคลื่อนตลาดโดยรวมได้มากเพียงใด

การส่งออกของญี่ปุ่นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ที่ร้อยละ 1.1 ชะลอตัวลงจากช่วงก่อนหน้า เนื่องจากการนำเข้าซึ่งเป็นรายการหักก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน สัดส่วนของอุปสงค์จากต่างประเทศต่ออัตราการเติบโตรายไตรมาสต่อไตรมาสจึงอยู่ที่ – 0.1 จุด ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลังของภาคเอกชนอยู่ที่ลบ 0.3 จุด เนื่องจากการส่งออกรถยนต์ยังแข็งแกร่ง สินค้าคงคลังของผลิตภัณฑ์รถยนต์จึงลดลง

 

ที่มาข่าวและรูปภาพ : เข้าถึง วันที่  17 พฤศจิกายน 2566

https://www.nikkei.com/article/DGXZQOUA066S40W3A101C2000000/

https://www.nikkei.com/article/DGXZQOUA140PT0U3A111C2000000/

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากา

ระหว่างวันที่ 19 – 25 พฤศจิกายน 2566

thThai