ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทยเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะเป็นตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิใหญ่ที่สุดเป็นลำดับที่ ๒ รองจากสหรัฐอเมริกา ชาวฮ่องกงนิยมรับประทานข้าวไทยและถือว่าเป็นข้าวระดับพรีเมียม ซึ่งข้าวไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงที่สุดในฮ่องกง และมีโอกาสขยายตัวในส่วนของข้าวเพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพดี โดยมีข้อมูลสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทย ดังนี้

 

๑. ข้อมูลทั่วไปของตลาดฮ่องกง

๑.๑ ฮ่องกงตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของจีน มีพื้นที่ประมาณ ๑.๑๑ ล้านตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะฮ่องกง คาบสมุทรเกาลูน และเขตดินแดนใหม่ (New Territories)

๑.๒ ฮ่องกงมีประชากรประมาณ ๗.๔ ล้านคน ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน (ร้อยละ ๙๒) จากข้อมูลของสำนักงานสถิติของฮ่องกง (The Census and Statistics Department) พบว่าประชากรฮ่องกงมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
แต่จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

๑.๓ ฮ่องกงเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและมีค่าเฉลี่ยนักท่องเที่ยวปีละ ๖๐ ล้านรายในช่วง ๕ ปี ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด (ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒) ในขณะที่คาดการณ์ว่าปี ๒๕๖๖ ที่ฮ่องกงเริ่มเปิดให้มีการเดินทางเข้า-ออกโดยสะดวก จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมกว่า ๓๐ ล้านราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ กว่าร้อยละ ๘๐ รองลงมาเป็น มาเก๊า (ร้อยละ ๓.๗) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ ๒.๕) ไต้หวัน (ร้อยละ ๒.๓) และยุโรป (ร้อยละ ๒.๒) ซึ่งปริมาณนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจะส่งเสริมการบริโภคข้าวจากไทยได้เป็นอย่างดี

 

๒. รูปแบบการบริโภคข้าวของชาวฮ่องกง

๒.๑ ตลาดข้าวในฮ่องกง แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่

๑) กลุ่มผู้บริโภคครัวเรือน (Household Market) ซึ่งเป็นตลาดหลักของข้าวหอมมะลิไทยมีการจำหน่ายผ่านห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ตลาดสด และช่องทางออนไลน์ โดยมีขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ข้าวระดับพรีเมียมที่นิยมใช้บรรจุภัณฑ์ขนาด ๑ – ๒ กิโลกรัม จนถึงขนาด ๕ – ๑๐ กิโลกรัม โดยช่องทางการจำหน่ายทางระบบออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับเนื่องจากสะดวกและผู้บริโภคชาวฮ่องกงส่วนใหญ่ไม่มีรถยนต์

๒) กลุ่มร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม และธุรกิจจัดเลี้ยง (Food Chain Market) ซึ่งเป็นตลาดหลักของข้าวหอมปทุมธานี รองลงมาคือ ข้าวหอมมะลิ มีอัตราการแข่งขันด้านราคาที่สูงโดยเฉพาะข้าวจากประเทศเวียดนาม

 

๒.๒ การบริโภค ชาวฮ่องกงนิยมเลือกซื้อข้าวจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและคุ้นเคย โดยอาจเป็นแบรนด์ของผู้นำเข้าฮ่องกง ผู้ส่งออกไทย หรือแบรนด์ของซุปเปอร์มาร์เก็ตที่นำเข้าข้าวจากไทยแล้วนำมาบรรจุถุงใหม่ในฮ่องกง ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจได้แก่ ราคา ชนิด คุณภาพ และรสชาติ เนื่องจากกำลังซื้อของชาวฮ่องกง อยู่ในช่วงฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิดทำให้ผู้บริโภคพิจารณาเปรียบเทียบราคาและคุณภาพของข้าวควบคู่กัน

ปัจจุบันผู้บริโภคมีแนวโน้มการเลือกบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพมากขึ้น ลดการบริโภคแป้ง รวมทั้งอาหารแห่งอนาคต (Future Food) มากขึ้น อาทิ ผลิตภัณฑ์จากไข่ขาว และเนื้อจากพืช

 

๒.๓ อัตราการบริโภคข้าวต่อรายต่อปี (Per Capita Consumption)

จากข้อมูลของหน่วยงาน Trade and Industry Department ของฮ่องกงพบว่าชาวฮ่องกงมีอัตราการบริโภคข้าวต่อรายต่อปีลดลงอย่างต่อเนื่อง จากรายละ ๔๕ กิโลกรัม/ปี ในปี ๒๕๕๗ เป็นรายละ ๓๗ กิโลกรัม/ปี ในปี ๒๕๖๕ โดยปัจจัยสำคัญที่อาจมีผลได้แก่พฤติกรรมของชาวฮ่องกงที่ระมัดระวังการบริโภคแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) มากขึ้น รวมทั้งคนรุ่นใหม่ฮ่องกงที่รับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารจากตะวันตกมากขึ้น

หน่วย : กิโลกรัม

๒๕๕๗ ๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑ ๒๕๖๒ ๒๕๖๓ ๒๕๖๔ ๒๕๖๕
การบริโภคข้าวต่อรายต่อปี ๔๕ ๔๓ ๔๓ ๔๒ ๔๑ ๔๐ ๔๐ ๓๗ ๓๗

แหล่งข้อมูล www.tid.gov.hk/english/import_export/nontextiles/nt_rice/monthly_rice.html#Imports

 

๓. ข้อมูลการนำเข้าข้าวของฮ่องกง

ข้าวเป็นสินค้าที่รัฐบาลฮ่องกงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นสินค้าควบคุม (Reserved Commodity) ภายใต้กฏหมาย Reserved Commodities Ordinance (Cap 296) โดยมีหน่วยงาน Trade and Industry Department เป็นผู้กำหนดมาตรการการนำเข้า การลงทะเบียนผู้นำเข้า ผู้จัดเก็บ และระบบการบริหารจัดการเพื่อให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภคภายใน

๓.๑ สถิติการนำเข้า

ฮ่องกงมีอัตราการนำเข้าข้าวจากทั่วโลกเฉลี่ยปีละ ๓๑๐,๐๐๐ ตัน ในช่วง ๕ ปี ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด (ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒) และถิติการนำเข้าปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ๒๕๖๕ ฮ่องกงนำเข้าข้าว ๒๗๕,๐๐๐ ตัน ลดลงร้อยละ ๐.๓๖ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๔ ในขณะที่ปี ๒๕๖๖ (เดือนมกราคม – พฤศจิกายน) นำเข้า ๒๓๑,๙๐๐ ตัน

 

หน่วย : ๑,๐๐๐ ตัน

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๓.๒ ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share)

ไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าข้าวในฮ่องกงเป็นอันดับที่ ๑ คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๘ รองลงมาได้แก่ เวียดนาม (ร้อยละ ๒๔.๔) จีน (ร้อยละ ๘.๔) กัมพูชา (ร้อยละ ๔.๗) ญี่ปุ่น (ร้อยละ ๔.๔) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ ๐.๒)

หน่วย : ๑,๐๐๐ ตัน

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๓.๓ ราคาการนำเข้าข้าว CIF (Cost Insurance Freight)

ในปี ๒๕๖๖ ข้าวไทยมีราคาการนำเข้า CIF เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ ๖.๙๙ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๓๑.๒๙ บาท) สูงกว่าราคาของข้าวจากจีนและเวียดนามที่มีค่าเฉลี่ยราคา CIF ที่ กิโลกรัมละ ๕.๘๘ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๒๖.๓๓ บาท) และกิโลกรัมละ ๔.๙๕ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๒๒.๑๗ บาท) ตามลำดับ

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

แหล่งข้อมูล www.tid.gov.hk/english/import_export/nontextiles/nt_rice/monthly_rice.html#Imports

 

๓.๔ ราคาการจำหน่ายปลีกข้าวในฮ่องกง (Retail prices of Rice)

ในปี ๒๕๖๖ ข้าวไทยมีราคาการจำหน่ายปลีกในฮ่องกงเฉลี่ยกิโลกรัมละ ๑๓.๖๑ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๖๐.๙๔ บาท) สูงกว่าราคาของข้าวจากจีนและเวียดนามที่มีค่าเฉลี่ยราคาจำหน่ายปลีกที่กิโลกรัมละ ๑๓.๓๖ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๕๙.๙๒ บาท) และกิโลกรัมละ ๑๑.๑๖ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๔๙.๙๗ บาท) ตามลำดับ โดยเป็นข้อมูลจากหน่วยงานศุลกากรฮ่องกง (Customs and Excise Department) และการสำรวจราคาตลาดจากซุปเปอร์มาร์เก็ตในฮ่องกง

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๔. ข้อมูลการส่งออกข้าวของฮ่องกง

ฮ่องกงมีการนำเข้าข้าวเพื่อส่งออก (Re-Export) จำนวนไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปมาเก๊าเป็นหลัก ๑๑,๐๐๐ ตันต่อปี ในระหว่างปี ๒๕๕๖ – ๒๕๖๕ โดยมีแนวโน้มปรับลดลงตามลำดับ ทั้งนี้ในปี ๒๕๖๖ (มกราคม – พฤศจิกายน) ฮ่องกงมีการนำเข้าข้าวเพื่อส่งออก (Re-Export) รวมจำนวนทั้งสิ้น ๘,๘๒๗ ตัน แบ่งเป็น ส่งออกไปมาเก๊า ๗,๘๘๔ ตัน (ร้อยละ ๘๙.๓๒) รองลงมาเป็นสหรัฐอเมริกา ๗๐๖ ตัน (ร้อยละ ๘.๐๐) และแคนนาดา ๑๑๘ ตัน (ร้อยละ ๑.๓๔) ตามลำดับ

หน่วย : ตัน

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๕. การส่งออกข้าวไทยไปฮ่องกง

๕.๑ ตลาดข้าวภาพรวม

๑) ไทยส่งออกข้าวไปฮ่องกงในช่วงปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ เฉลี่ยปีละ ๑๖๔,๐๐๐ ตัน และในปี ๒๕๖๖ (มกราคม – ตุลาคม) ไทยส่งออกข้าวไปฮ่องกงจำนวน ๑๑๓.๗๒ ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ ๐.๓๒ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวหอมมะลิ (ร้อยละ ๘๑) รองลงมาเป็นข้าวขาว (ร้อยละ ๑๕) และข้าวเหนียว (ร้อยละ ๒) ทั้งนี้ ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกข้าวลำดับที่ ๘ ของไทย

 

๕.๒ ตลาดข้าวหอมมะลิ

ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปฮ่องกงในช่วงปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ เฉลี่ยปีละ ๑๓๑,๐๐๐ ตัน และในปี ๒๕๖๖ (มกราคม – ตุลาคม) ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปฮ่องกงจำนวน ๙๑.๖๑ ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ ๐.๔๒ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกข้าวลำดับที่ ๒ ของไทย ของจากสหรัฐอเมริกา

 

๖. นโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

๖.๑ ฮ่องกงเป็นเมืองท่าปลอดภาษี (Free Port) จึงไม่มีการเรียกเก็บภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าและ
การส่งออกสินค้าส่วนใหญ่ แต่กำหนดให้ต้องขอใบอนุญาตในการนำเข้า-ส่งออกสำหรับสินค้าบางประเภทเช่น ข้าว

 

๖.๒ แต่เดิมฮ่องกงมีระบบจัดสรรโควต้าการนำเข้าข้าว ทำให้กลุ่มผู้นำเข้าข้าวสามารถกำหนดปริมาณการนำเข้าข้าวและและระดับราคาจำหน่ายภายในฮ่องกงได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ เป็นต้นมา รัฐบาลฮ่องกงได้ประกาศยกเลิกการจัดสรรโควต้าการนำเข้าข้าว โดยให้หน่วยงาน Trade and Industry Department มีหน้าที่บริหารจัดการ ควบคุมปริมาณการนำเข้า ขึ้นทะเบียนผู้นำเข้า เพื่อให้มีปริมาณข้าวเพียงพอต่อการบริโภคภายในฮ่องกง รวมทั้งรักษาเสถียรภาพราคา โดยมีข้อกำหนดที่สำคัญได้แก่

๑) การลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้าข้าว (Rice Stockholder)

ผู้ประกอบการสามารถลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้าข้าว (Rice Stockholder) ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วจะมีระยะเวลาการอนุญาต ๒ ปี ทั้งนี้ผู้นำเข้าจะต้องแจ้งปริมาณการนำเข้าและต้องนำเข้าข้าวตามปริมาณที่แจ้งไว้ต่อหน่วยงาน Trade and Industry Department ซึ่งจะตรวจสอบการนำเข้าใน
๔ ช่วงเวลาของทุกปี เดือนมกราคม – มีนาคม เดือนเมษายน – มิถุนายน เดือนกรกฎาคม – กันยายน และเดือนตุลาคม – ธันวาคม เพื่อบริหารจัดการเสถียรภาพของข้าวในฮ่องกง ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการฮ่องกงลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้าข้าว (Rice Stockholder) จำนวน ๒๓๘ ราย

๒) การจัดเก็บข้าวของฮ่องกง (Maintenance of Reserve Stock)

รัฐบาลฮ่องกงมีมาตรการให้มีปริมาณข้าวจัดเก็บในฮ่องกงเพียงพอต่อการบริโภคภายในไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน โดยมีค่าเฉลี่ยปริมาณข้าวที่ต้องจัดเก็บในฮ่องกงจำนวน 12,500 ตัน โดยต้องจัดเก็บในสถานที่ที่ได้รับการอนุญาต (Approved rice storage places) จากหน่วยงาน Trade and Industry Department ให้เป็นสถานที่จัดเก็บ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสถานที่จัดเก็บข้าวที่ได้รับอนุญาตรวม ๑๔๓ แห่ง

๓) มาตรการด้านความปลอดภัยสำหรับสินค้าข้าว (Food Safety of Rice)

ผู้ประกอบการและผู้จัดจำหน่ายข้าวในฮ่องกงปฏิบัติตามข้อกำหนดของรัฐบาล (Part V of the Public Health and Municipal Services ordinance, Cap 132, and its subsidiary legislation) โดนต้องไม่มีสิ่งอื่นเจือปน เหมาะสมต่อการบริโภค และมีการติดฉลากที่ถูกต้อง โดยหน่วยงาน Food Safety, Food and Environmental Hygiene Department (FEHD) เป็นผู้มีหน้าที่ในการสุ่มตรวจสินอาหารที่จำหน่ายในฮ่องกง

 

แหล่งข้อมูล www.tid.gov.hk/english/import_export/nontextiles/nt_rice/files/rice_guidelines.pdf

 

๗. โอกาสและแนวทางการขยายตลาด

จากการที่ข้าวไทยในตลาดฮ่องกงเป็นสินค้าที่มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสายตาผู้บริโภค ได้รับความเชื่อมั่นในคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวหอมมะลิ จึงถือเป็นหนึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดฮ่องกง

อย่างไรก็ตาม หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเริ่มเปลี่ยนไป โดยหันมาให้ความใส่ใจกับสุขภาพและบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น  การสร้างโอกาสในการขยายตลาดข้าว อาจจำเป็นต้องเพิ่มชนิดของข้าวที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อขยายฐานกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ถึงคุณประโยชน์ต่าง ๆ สู่กลุ่มผู้บริโภค อาทิ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายทั้งในกลุ่ม Food Chain และ Household การให้ความรู้ความเข้าใจในการบริโภคข้าวชนิดต่างๆอย่างถูกต้อง รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและผู้มีอิทธิพลทางความคิด (KOL) อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสุขภาพในฮ่องกงเพิ่มมากขึ้น พร้อมนำเสนอข้าวไทยในกลุ่มที่แตกต่าง อาทิ ข้าวเพื่อสุขภาพ ข้าว กข43 ข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำ ข้าวออแกนิกส์ และข้าวไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูงและพร้อมที่จะทดลองสินค้าใหม่ที่มีมาตรฐานคุณภาพที่ดีและดีต่อสุขภาพ

 

๘. ข้อมูลราคาจำหน่ายข้าวในตลาดฮ่องกง (ราคาปลีก)

๘.๑ ซุปเปอร์มาร์เก็ต / ร้านสะดวกซื้อ

๑) ข้าวหอมมะลิไทย บรรจุถุง ๘ กิโลกรัม ราคา ๑๓๘ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๖๒๐ บาท)

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๒) ข้าวหอมมะลิไทย บรรจุถุง ๕ กิโลกรัม ราคา ๘๕ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๓๘๐ บาท)

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๓) ข้าวหอมมะลิ บรรจุถุง ๕ กิโลกรัม ราคา ๗๘.๙ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๓๕๕ บาท)

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566 รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๔) ข้าวหอมมะลิผสม บรรจุถุง ๕ กิโลกรัม ราคา ๗๖.๙ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๓๔๖ บาท)

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๕) ข้าวหอมมะลิผสม บรรจุถุง ๒ กิโลกรัม ราคา ๓๒ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๑๔๔ บาท)

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๖) ข้าวออแกนิกส์ บรรจุถุง ๒ กิโลกรัม ราคา ๖๒.๙ เหรียญฮ่องกง (ประมาณ ๒๘๐ บาท)

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566 รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

 

๘.๒ แพลตฟอร์มออนไลน์

๑) ข้าวหอมมะลิบรรจุถุง ๕ กิโลกรัม

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๒) ข้าวไรซ์เบอร์รี่ บรรจุถุง ๑ กิโลกรัม

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

๓) ข้าวบรรจุถุง ๕ กิโลกรัม จากประเทศอื่น

รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566 รายงานสถานการณ์ตลาดข้าวในฮ่องกง ปี 2566

 

thThai