รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง

  1. ภาพรวมอุตสาหกรรมละครในจีน

ในปี 2565 มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมละครในจีนรวมทั้งสิ้น 1,241,934 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.10 โดยข้อมูลจาก “รายงานสถิติอุตสาหกรรมละครในประเทศจีน ประจำปี 2565” เผยว่า ประเทศจีนมีละครที่ฉายในปี 2565 อยู่ที่ 208,200 เรื่อง ระยะเวลาการฉาย 8,789,500 ชั่วโมง ลดลง   ร้อยละ 0.61

รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง

2.ผู้บริโภคละครในประเทศจีน

  • พฤติกรรมผู้บริโภค
  • ชาวจีนให้ความสนใจแนวละครต่าง ๆ ได้แก่ แนวสืบสวน ประวัติศาสตร์ ย้อนยุค และตลกคอมเมดี้ เป็นต้น โดยแนวประวัติศาสตร์/ ย้อนยุค และสืบสวน ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ในขณะเดียวกันละครแนวสืบสวน แฟนตาซี แอคชัน ผจญภัยและสงครามได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • ทั้งนี้ ละครที่ได้รับความนิยม เช่น Youthwith you 3 (青春有你3) Mountain and

    River Order (山河令) Me and my

    Hometown (我和我的家乡) Ruyi’s Royal

    Love in the Palace (如懿传) Game of

    Thrones (权力的游戏) Our Boyhood \

    (我们的少年时代) เป็นต้น

  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • ชาวจีนนิยมรับชมละครไทย โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี มี การรับชม 1 – 2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกรับชมคือ นักแสดงไทยที่หน้าตาดี ซึ่งชาวจีนให้ความสำคัญกับเรื่องรูปลักษณ์ของดารา/ นักแสดงอย่างมาก มี      ความชื่นชอบดารา/ นักแสดงที่มีบุคคลิกร่าเริง สดใส เข้าถึงง่าย
  • ชาวจีนมองว่าละครไทยช่วยในด้านการผ่อนคลายความตึงเครียดได้ดี เนื่องจากละครไทยที่เข้าไปฉายที่ประเทศจีนส่วนใหญ่เป็นแนวตลกเบาสมอง หรือแนวความรัก ซึ่งแตกต่างจากละครของประเทศจีนที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานด้านประวัติศาสตร์ สารคดีและเส้นทางชีวิต เป็นต้น
  • ละครรีเมคของไทยได้รับกระแสตอบรับที่ดีในตลาดจีน โดยเฉพาะเป็นละครที่มีการซื้อลิขสิทธิ์จากจีน ไต้หวันและเกาหลีและนำมารีเมคเป็นของไทย และนำไปฉายต่อที่ประเทศจีน จะได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากชาววจีน เนื่องจากละครไทยที่มีการรีเมคสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต้นฉบับได้ดีและผู้ชมชาวจีนก็มีความคุ้นเคยกับเนื้อเรื่อง ผสมผสานกับเนื้อหาเวอร์ชันไทยที่มีความแปลกใหม่ จึงดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคชาวจีนได้มากขึ้น
  • ชาวจีนจำนวนไม่น้อยเรียนภาษาไทย และต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยผ่านละครไทย ที่มีการสะท้อนถึงวัฒนธรรม ทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้และเข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มคนเหล่านี้ยังมองว่าการรับชมละครไทยเป็นการช่วยเพิ่มทักษะภาษาพูด การออกเสียงตามมาตรฐานอีกด้วย
  • 2.2 กลุ่มผู้บริโภค
  •           ผู้รับชมละครส่วนใหญ่ในประเทศจีนจะเป็นเพศหญิง คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 60.10 โดยเป็นผู้ที่อยู่ในวัยทำงานหรือมีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ 22 – 30 ปี ซี่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับปานกลาง – สูง ประมาณ 5,001 – 10,000 หยวนจะให้ความสนใจรับชมละครมากกว่าผู้ที่มีรายได้ระดับปานกลาง – ต่ำ หรือน้อยกว่า 5,000 หยวน อีกทั้งเป็นผู้ที่มีสถานภาพแต่งงานและมีบุตรแล้วมักจะรับชมละครเป็นครอบครัวในช่วงเย็น นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวจีนที่มี         การรับชมละครส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในเมืองระดับ 1 และระดับ 2
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • 3.วิวัฒนาการของละครไทยในตลาดจีนช่วงปี 2543-2545

    ละครไทยได้เข้าสู่ตลาดจีนพร้อม ๆ กับละครเกาหลี ในช่วงปี 2543 ละครเกาหลีที่กำลังโด่งดังคือ เรื่อง Endless Love ทำให้บริษัท Han Media Culture Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนนำเข้าและส่งออกละครโทรทัศน์ของไทย มองเห็นโอกาสในการนำละครไทยเข้าไปฉายยังตลาดจีน แต่ในช่วงนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เนื่องจากกระแสความดังของละครเกาหลีที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น อีกทั้งละครเกาหลีที่เข้าสู่ตลาดจีนล้วนเป็นละครที่คนทั่วโลกรู้จัก

    ช่วงปี 2545-2549

    บริษัท Han Media Culture Co., Ltd. มีความมุ่งมั่นในการนำละครไทยเข้าสู่ตลาดจีน และได้เข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์และโทรทัศน์ที่จัดขึ้นในนครเซี่ยงไฮ้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2545 ทำให้ขณะนั้นบริษัทได้นำละครไทยเรื่องแรก คือ เรื่อง “สาวใช้หัวใจชิคาโก้ (俏女佣)” เข้าฉายในประเทศจีนผ่านสถานีโทรทัศน์ CCTV8

  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • ช่วงปี 2549-2551ในช่วงปี 2549 มีละครไทยที่ได้ออกฉายในประเทศจีน

    เพิ่มขึ้น ได้แก่ เรื่อง “เลือดหงส์ (凤凰血)” ออกอากาศผ่าน

    สถานีโทรทัศน์ CCTV1 และ CCTV8 ซึ่งขณะนั้นละครเกาหลี

    เรื่อง “แดจังกึม” และ “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” ก็

    กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีน ทำให้ละครไทยซบเซาลง

    ช่วงปี 2551-2555

    สถานีโทรทัศน์หูหนานได้นำละครไทยเรื่อง “เลือด

    ขัตติยา (出逃的公主) เข้าฉายในประเทศจีน พร้อมกับการฉาย

    ละครไทย เรื่อง “คุณนายสายลับ (卧底警花) ผ่านสถานี

    โทรทัศน์ CCTV8 แต่ขณะนั้นแนวละครของทั้ง 2 เรื่องยังไม่ใช่

    แนวละครที่ชาวจีนชื่นชอบ จนกระทั่งละครเรื่อง “สงคราม

    นางฟ้า (天使之争)” ได้ถูกฉายผ่านสถานีโทรทัศน์อันฮุย โดยฉายได้เพียงแค่อาทิตย์เดียวก็สามารถทำให้เป็นกระแสได้โลกโซเชียลได้จนติด 10 อันดับละครที่มีจำนวนผู้เข้าชมมากที่สุด ทำให้ในช่วงปี 2552 – 2554 ถือว่าเป็นปีทองของละครไทยเลยทีเดียว ตั้งแต่นั้นมาชาวจีนนิยมชมละครไทยกันมากขึ้น และมีละครไทยหลายเรื่องที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์นำเข้าไปฉายที่ประเทศจีน จนกระทั่งเกิดกลุ่มแฟนคลับที่ให้ความชื่นชอบในดารา/ นักแสดงของไทย ละครไทย รวมถึงวัฒนธรรมไทยอีกด้วย

  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • ช่วงปี 2555 – 2561หน่วยงาน State Administration of Radio, Film, and Television ของจีนได้ออกนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมละครในประเทศจีน โดยสนับสนุนให้ชาวจีนรับชมละครภายในประเทศ อีกทั้งมี   ความเข้มงวดในด้านการเซ็นเซอร์ นอกจากนี้ยังมีการย้ายช่วงเวลาการออกอากาศของละครไทยไปยังช่วงหลังเที่ยงคืน ทำให้กระแสละครไทยซบเซาลงอีกครั้ง

    ช่วงปี 2561-2563

  • ประเทศจีนมีการเปิดกว้างมากขึ้น และยอมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่ ทำให้ชาวจีนสามารถดูละครได้เปิดกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชมผ่านทาบงออนไลน์ ที่สามารถรับชมละครไทยได้ทุกแนวโดยไม่ผ่านเซ็นเซอร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ผีหรือสิ่งเร้นลับ การสลับร่างหรือข้ามภพข้ามชาติ การเมือง หรือซีรีส์วาย โดยในขณะนั้น ซีรีส์วาย เรื่อง “รักแห่งสยาม” “วัยว้าวุ่น” เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีน ทำให้เกิดฐานแฟนคลับของดารา/ นักแสดงซีรีส์วาย เช่น พิช-วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล และโอ้-มาริโอ้ เมาเร่อ ต่อมาซีรีส์วายของไทยเริ่มเป็นที่รู้จักและเป็นกระแสในตลาดจีนมากขึ้น โดยจะหาชมได้แพลตฟอร์มชมวีดีโอออนไลน์
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • ช่วงปี 2563-ปัจจุบันละครไทยเข้าสู่ตลาดจีนอย่างล้นหลาม และมีผู้ให้ความสนใจละครไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างกระแสความนิยมไทย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษาไทย การแต่งชุดไทย การแต่งชุดนักเรียนไทย หรือ     การรับประทานอาหารไทย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีการเลียนแบบพฤติกรรมจากละครไทย หรือ Soft Power จนเกิดมูลค่าทางการค้า ในขณะเดียวกันซีรีส์วายของไทยก็ยังเป็นที่นิยมและมีผู้ติดตามจำนวนมาก เรื่องที่โด่งดัง เช่น “แปลรักด้วยใจเธอ (以你的心诠释我的爱)” “ข้ามฟ้าเคียงเธอ (穿越天际只为) ” ด้วยเหตุนี้ ทำให้มีดารา/ นักแสดงซีรีส์วายไทยโด่งดังเพิ่มขึ้นในประเทศจีน เช่น พีพี กฤษฏ์และบิวกิ้น พุฒิพงศ์ ซี พฤกษ์และนุนิว ชวรินทร์ เป็นต้น
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิงรายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • รายงาน Soft Power : Soft Power ละครไทยสู่ตลาดจีน สคต.คุนหมิง
  • ความคิดเห็น สคต.     จีนมีการเปิดกว้างในการรับวัฒนธรรมและสื่อบันเทิงจากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมบันเทิงของต่างประเทศ รวมถึงไทยด้วย อุตสาหกรรมบันเทิงของไทยที่โดดเด่นที่สุดในประเทศจีน คือ ผลงานละครไทย ซึ่งเนื้อหาละครและศิลปินนักแสดงของไทยได้กลายเป็นที่รู้จักและมีฐานแฟนคลับกระจายไปทั่วประเทศจีน ตลอดจนกลายเป็นกระแสไวรัล ถูกพูดถึงกันบนโลกโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้มาสนับสนุนข้อมูลทางดิจิตอล โดยละครไทยสามารถหาดูได้ง่ายและสะดวกในแฟลตฟอร์มต่าง ๆ ของจีน รวมถึงการสนับสนุนนโยบายส่งเสริมความเป็นเมือง ผลักดันให้ประชากรมีรายได้สูงขึ้น และการผ่อนปรนการควบคุมอุตสาหกรรมบันเทิง เป็นต้น

         ละครไทยมีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์สายตาชาวจีน ด้วยลักษณะเนื้อหาของละครที่สื่อถึงความเป็นไทยและมีการสอดแทรกวัฒนธรรมไทยลงไปละคร ทำให้มีจุดขายและสร้างความแตกต่างจากละครชาติอื่นอย่างชัดเจน  

         โดยปัจจุบันชาวจีนมีความสนใจและชอบในวัฒนธรรมไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยผ่านละคร หรือแม้กระทั่งละครจีนที่ถ่ายทำในไทย ทำให้ละครกลายเป็นหนึ่ง Soft Power ที่สำคัญ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมจากละครไทย จนนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการค้าสินค้าไทยต่าง ๆ เช่น การแต่งกายชุดนักเรียน ชุดไทย หรือการเลือกซื้อสินค้าไทย เป็นต้น ทั้งนี้ ประเทศไทยควรมีการยกระดับคุณภาพละครไทย หรือสถานที่ถ่ายทำละครในประเทศไทย ก็จะไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ยังส่งผลให้เกิดมูลค่าการซื้อขายสินค้าและบริการของไทยตามมา

    ****************************************

    แหล่งที่มา : https://baike.baidu.com/item/2022%E5%B9%B4%E5%85%A8%E5%9B%BD%E5%B9%BF%E6%92%AD%E7%94%B5%E8%A7%86%E8%A1%8C%E4%B8%9A%E7%BB%9F%E8%AE%A1%E5%85%AC%E6%8A%A5/62940402?fr=ge_ala

    https://www.ditp.go.th/post/150984

    https://baijiahao.baidu.com/s?id=1764305995871812162&wfr=spider&for=pc

    https://www.tcjapress.com/2023/03/01/thai-drama/

    https://baijiahao.baidu.com/s?id=1629150770775097035&wfr=spider&for=pc

    https://wapbaike.baidu.com/starmap/view?nodeId=6d6b44f74115b31e14d81eff&fr=api_bake_search_starmap

    สคต. คุนหมิง

    ธันวาคม 2566

thThai