นาย Le Minh Hoan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (Ministry of Agriculture and Rural Development- MARD) กล่าวว่าภาคเกษตรกรรมกำลังเร่งการปรับโครงสร้างไปสู่เกษตรกรรมหมุนเวียนและเกษตรกรรม
สีเขียว เพื่อปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มการบริโภคของทั่วโลกและรัฐบาลมีนโยบายการส่งเสริมการส่งออกและสร้างความร่วมมือกันในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน พ.ศ 2593
ผู้บริโภคทั่วโลกหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตสินค้าต่างๆ ตั้งแต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน หรือการละเมิดมาตรฐานของโลก สิ่งเหล่านี้จึงถือเป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรกรรมของเวียดนามให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตสีเขียวของทั่วโลก นาย Hoang เน้นย้ำว่าโครงการที่กำลังดำเนินอยู่เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ 6.25 ไร่ของนาข้าวคุณภาพสูงและมีการปล่อยคาร์บอนต่ำ ร่วมกับการเติบโตสีเขียวในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (ภาคใต้) ไปจนถึง พ.ศ 2573 ได้รับการประเมินอย่างสูงจากองค์กรระหว่างประเทศว่าเป็นโครงการแรกในลักษณะนี้ในโลกและเป็นต้นแบบการส่งเสริมการเกษตรสีเขียวในอนาคต
โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศสำหรับภคการผลิตข้าวด้วยการผสมผสานระหว่างผลผลิตและการปรับปรุงคุณภาพ โดยมีนโยบายใหม่จำนวนมากถูกนำมาใช้ในระหว่างการดำเนินโครงการเช่น การจ่ายคาร์บอนเครดิตตามผลลัพธ์ การเชื่อมโยงการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและการเติบโตสีเขียว การพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรแบบหมุนเวียนด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของผลพลอยได้จากการผลิตข้าวโดยมุ่งผลักดันการพัฒนาสีเขียว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มคุณภาพของข้าว ทำให้เป็นลักษณะเฉพาะของเวียดนามในเรื่องข้าว
นอกจากนี้ นาย Nguyen Nhu Cuong อธิบดีกรมการผลิตพืชผลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) กล่าวว่าอุตสาหกรรมการเกษตรยังได้ปรับปรุงการผลิตผลผลิตทางการเกษตรตั้งแต่การเริ่มวิจัยพันธุ์พืชไปจนถึงการพัฒนาที่ได้มาตรฐานของในพื้นที่ ซึ่งทำให้พื้นที่การผลิตขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สะอาดและมีคุณภาพสูง โดยปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมีส่วนช่วยให้ผลผลิตภาคเกษตรกรรมมีมูลค่าเพิ่มสูงมากกว่าร้อยละ 30 อีกทั้งกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) อยู่ระหว่างดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนในการเกษตรจนถึง พ.ศ 2573 ซึ่งตั้งเป้าหมายที่ร้อยละ 60 ของผลพลอยได้จากกิจกรรมการเพาะปลูกจะได้รับการบำบัดและนำกลับมาใช้ใหม่ พร้อมด้วยร้อยละ 80 ของผลพลอยได้จากการผลิตข้าว และร้อยละ 60 ของครัวเรือนเกษตรกรและฟาร์มในการบำบัดของเสียในครัวเรือน
จนถึงปัจจุบัน เวียดนามมียาฆ่าแมลงทางชีวภาพมากกว่า 800 รายการ ซึ่งนาย Hoang Trung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม (MARD) กล่าวว่ากระทรวงอยู่ในระหว่างการตรวจสอบและควบคุมการใช้ยาฆ่าแมลงในภาคเกษตรกรรมโดยยาฆ่าแมลงทางชีวภาพจะอยู่ร้อยละ 30 ของจำนวนใบอนุญาตทั้งหมดในเวียดนามและปุ๋ยอินทรีย์ร้อยละ 30 ของจำนวนทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตทางการเกษตร ใน พ.ศ 2593 เวียดนามคาดว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เกษตรกรรมจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และมีวัตถุดิบร้อยละ 100 ที่รวมอยู่ในผลพลอยได้จากการเกษตรและของเสียจากครัวเรือนจะถูกนำมาใช้เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์
(จาก https://en.vietnamplus.vn/)
ข้อคิดเห็น สคต
เศรษฐกิจสีเขียวควบคู่กับการพัฒนาสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นสามเสาหลักของการพัฒนาประเทศ โดยเวียดนามกำลังเร่งแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศ ซึ่งเป็นผลพวงจากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหามลพิษ โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการปรับเปลี่ยนมาเป็นเศรษฐกิจสีเขียวถือเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกและในประเทศ การที่เวียดนามเร่งการปรับโครงสร้างไปสู่เกษตรกรรมหมุนเวียนและสีเขียวจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของเวียดนามมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มสูงมากขึ้น