รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2566

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ สถานการณ์สำคัญ

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ธนาคารกลางเมียนมาประกาศผ่อนคลายมาตรการอัตราแลกเปลี่ยน    โดยยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยน Online Trading (ประมาณ 2,900 จ๊าต/เหรียญ) ซึ่งมีราคาน้อยกว่าราคาตลาด โดยเปลี่ยนเป็นอัตราแลกเปลี่ยนตามราคาตลาด (3,300-3,500 จ๊าต/เหรียญ) รวมทั้งวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ธนาคารกลางเมียนมาประกาศผ่อนคลายมาตรการสัดส่วนการแลกเปลี่ยนรายได้จากการส่งออก (Export Earning) โดยลดสัดส่วนการแลกเปลี่ยนการส่งออกด้วยอัตราทางการ (2,100 จ๊าต/เหรียญ) จากเดิมร้อยละ 50 ของรายได้การส่งออก ลดลงเหลือร้อยละ 35 ของรายได้การส่งออก ส่วนอีกร้อยละ 65 สามารถใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามราคาตลาด (3,300-3,500 จ๊าต/เหรียญ)

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2566 ได้เกิดเหตุลอบวางระเบิดบริเวณสะพาน Kaw Nwet Bridge ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการขนส่งของถนนสายเอเชีย เมียวดี-กอกอเร็กทำให้ไม่สามารถสัญจรและขนส่งสินค้าได้ ทั้งนี้ ผลกระทบต่อเนื่องจากการปะทะกันตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 สคต. ณ กรุงย่างกุ้งได้สอบถามผู้ประกอบการขนส่งโลจิสติกส์ ทราบว่า ระหว่างนี้ใช้เส้นทางสำรองขนส่งเลี่ยงไปก่อน ซึ่งสภาพถนนไม่ดีเท่าเส้นหลักและขนส่งได้เฉพาะรถเล็ก แต่ก็พอขนส่งได้ไปพลางก่อน โดยเมื่อก่อนใช้ทางหลักขนส่งประมาณ 1 วัน แต่ตอนนี้ใช้ทางเลี่ยงใช้เวลาขนส่งอย่างน้อย 2 วัน สำหรับด่านขนส่งอื่นๆ ทดแทนแม่สอด-เมียวดี เช่น ด่านพุน้ำร้อน-ทิกิ จังหวัดกาญจนบุรี ด่านสิงขร-มะริด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด่านระนอง-เกาะสอง จังหวัดระนอง ที่แม้แต่ละด่านมีข้อจำกัด แต่ก็มีความเป็นไปได้ใช้ขนส่งทดแทน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและคุ้มค่าของแต่ละสินค้าหรือธุรกิจในการพิจารณาเลือกใช้ด่านต่างๆ ทดแทนต่อไป

เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมียนมา (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 อัตราเงินเฟ้อในปี 2566 ของเมียนมา คาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 14เพิ่มขึ้นจากปี 2565 นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP per Capita) อยู่ที่ระดับ 1,228.54เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ดังตาราง

ตารางที่ 1 – เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเมียนมา

ตัวชี้วัดทาง

เศรษฐกิจที่สำคัญ

ปี 2560 ปี 2561

 

ปี 2562

 

ปี 2563

 

ปี 2564

 

ปี 2565 ปี 2566

(คาดการณ์)

ปี 2567

(คาดการณ์)

GDP Growth (%) 5.8 6.4 6.8 3.2 -17.9 2.0% 2.6% 2.6%
GDP (billions of US$) 61.27 66.7 68.8 81.26 65.16 66.12 74.86 79.27
GDP per Capita (US$) 1,180 1,270 1,300 1,530 1,217 1,228 1,381 1,454
Inflation (%) 4.62 5.94 8.63 5.73 3.64 16 14 8

ที่มา: IMF  https://www.imf.org/en/Countries/MMR#countrydata

       1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตต่อสกุลเงินสำคัญ ธ.ค. 65 และ ธ.ค. 66

ประเทศ/สหภาพ สกุลเงิน อัตรา

สิ้นเดือน ธ.ค. 65

อัตรา

สิ้นเดือน ธ.ค. 66

USA 1 USD 2,100 MMK 2,100.00 MMK
Euro 1 EUR 2,237.80 MMK 2,335.40 MMK
Singapore 1 SGD 1,565.00 MMK 1,595.00 MMK
Thailand 1 THB 60.834 MMK 61.484 MMK

ข้อมูลจากธนาคารกลางเมียนมา : https://forex.cbm.gov.mm/index.php/fxrate

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับเงินสกุลท้องถิ่นเมียนมาจ๊าตในช่วงเดือนธันวาคมของปี 2566 มีความคงที่สำหรับเงินเหรียญสหรัฐฯ อยู่ที่อัตรา 2,100 MMK ต่อ 1 USD เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับเงินสกุลอื่นๆ มีการอ่อนค่าลงเล็กน้อย เนื่องจากการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางเมียนมา ทั้งนี้ ตลาดแลกเงินนอกระบบมีอัตราที่แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลาง โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 3,400 – 3,500 จ๊าตต่อ 1 USD

กราฟแสดงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินเมียนมาจ๊าต (MMK) ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ช่วงเดือนธันวาคม 2566

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2566

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ธนาคารกลางเมียนมาได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อยู่ที่ 2,100 MMK ต่อ 1 USD สําหรับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ จะมีอัตราแลกเปลี่ยนโดยคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 2,100 จ๊าต ต่อ 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธนาคารกลางเมียนมาจะออกประกาศเพิ่มเติม หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลง

1.3 ภาวะการลงทุน

1.3.1 มูลค่าการลงทุนตามรายประเทศนักลงทุนสำคัญ

ภาพรวมด้านการลงทุนทางตรงของต่างประเทศในเมียนมา (FDI) ในเดือนพฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) อนุมัติโครงการไปแล้ว คิดเป็นมูลค่า 587.242 เหรียญสหรัฐฯ ดังตาราง

ตารางที่ 3 – ประเทศที่มีการลงทุนทางตรง FDI ในเมียนมา เดือนเมษายน – พฤศจิกายน 2566

อันดับ ประเทศ มูลค่าการลงทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย.-พ.ย. 66

สัดส่วน (%)
1 สิงคโปร์ 339.622 57.83%
2 จีน 212.811 36.24%
3 ฮ่องกง 15.681 2.67%
4 ไทย 7.000 1.19%
4 ไต้หวัน 2.200 0.37%
5 เกาหลีใต้ 2.160 0.37%
6 หมู่เกาะมาร์แชล 1.300 0.22%
7 สหรัฐอเมริกา 1.087 0.19%
8 ญี่ปุ่น 1.229 0.21%
9 ซามัว 1.00 0.17%
10 บรูไน 0.835 0.14%
11 อังกฤษ 1.717 0.29%
12 อินเดีย 0.600 0.10%
รวม 587.242 100%

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนพฤศจิกายน 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 95,325.746 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ไทย 4) ฮ่องกง และ 5) สหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 3 มูลค่า 11,616.573 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 12.47 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้ว จำนวน 154 โครงการ

 ตารางที่ 4 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตสะสม จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2566

https://www.dica.gov.mm

สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024 (ณ เดือนพฤศจิกายน 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 75,713.617 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศที่ยังคงลงทุนในเมียนมาสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สิงคโปร์ 2) จีน 3) ฮ่องกง 4) สหราชอาณาจักร และ 5) ไทย ตามลำดับ โดยไทยอยู่ในลำดับที่ 5 มูลค่า 4,436.539 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 6.03 โดยมีโครงการที่ยังดำเนินการอยู่ จำนวน 104 โครงการ

 ตารางที่ 5 – มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2566

1.3.2 มูลค่าการลงทุนตามประเภทสาขาการลงทุนที่สำคัญ

ในส่วนของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติลงทุนในเมียนมาของปีงบประมาณ 2023 – 2024 ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ได้แก่ ธุรกิจพลังงาน สัดส่วนร้อยละ 63.78 และธุรกิจการผลิต สัดส่วนร้อยละ 17.44 รายละเอียดดังตาราง

ตารางที่ 6 – อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ปีงบประมาณ 2022-2023 (เม.ย. – พ.ย. 66)

อันดับ ประเภทธุรกิจ มูลค่า

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

เม.ย. – พ.ย. 66

สัดส่วน (%)
1 Power 374.525 63.78%
2 Manufacturing 102.402 17.44%
3 Transport&Communication 77.820 13.25%
4 Livestock& Fisheries 23.469 4.00%
5 Real Estate 5.639 0.96%
6 Agriculture 2.578 0.44%
7 Services 0.809 0.14%
  รวม 587.242 100%

สำหรับสาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024          สามอันดับแรกได้แก่ พลังงาน ร้อยละ 27.39 น้ำมันและแก๊ส ร้อยละ 21.18 และอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.29

ตารางที่ 7 สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2566

ตารางที่ 8 – สาขาการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังดำเนินการอยู่ จนถึงปีงบประมาณ 2023-2024

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำเดือนธันวาคม 2566

 2 สถานการณ์การค้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเมียนมา

      2.1 สถิติการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา

ตารางที่ 9 – มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา (เมษายน – ธันวาคม 2566)

เปรียบเทียบระหว่าง ปีงบประมาณ 2022-23 และ ปีงบประมาณ 2023-24

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Export Import Trade Volume
2023-2024 2022-2023 % 2023-2024 2022-2023 % 2023-2024 2022-2023 %
(22-12-2023) (22-12-2022) change (22-12-2023) (22-12-2022) change (22-12-2023) (22-12-2022) change
10,406.273 12,194.302 -14.66% 11,788.569 12,532.776 -5.94% 22,194.842 24,727.078 -10.24

ในช่วงเดือนเมษายน – ธันวาคม 2566 ของปีงบประมาณ 2023-24 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศโดยรวมของเมียนมามีมูลค่า 22,194.842 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในส่วนของการส่งออกมีมูลค่า 10,406.273 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.66 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 11,788.569 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.94 ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2566 เมียนมาเสียดุลการค้าเป็นมูลค่า 1,382.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

2.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา

   ตารางที่ 10 – มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – ธันวาคม 2566) ที่มา : กระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 MANUFACTURING GOODS 6,676.562 64.16%
2 AGRICULTURAL PRODUCTS 2,232.961 21.46%
3 MARINE PRODUCTS 496.279 4.77%
4 MINERALS 169.841 1.63%
5 FOREST PRODUCTS 47.749 0.46%
6 ANIMAL PRODUCTS 5.645 0.05%
7 OTHER PRODUCTS 749.990 7.21%
รวม 10,406.273 100.0%

2.3 สินค้านำเข้าสำคัญของเมียนมา

ตารางที่ 11 – มูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญของเมียนมา (เมษายน – ธันวาคม 2566)

ลำดับ สินค้า มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สัดส่วน (%)
1 สินค้า Commercial Raw material 5,676.836 48.16%
2 สินค้า Investment Goods 2,531.729 21.48%
3 สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) 1,918.145 16.27%
4 อื่นๆ (CMP: Cutting, Making, Packing) 1,661.859 14.10%
รวม 11,788.569 100%

2.4 สถานการณ์การค้าระหว่างไทย – เมียนมา

ตารางที่ 12 สรุปมูลค่าการค้าระหว่างไทย – เมียนมา

รายการ มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%)
2565 2565

(ม.ค.-พ.ย)

2566

(ม.ค.-พ.ย.)

2565 2565

(ม.ค.-พ.ย.)

2566

(ม.ค.-พ.ย.)

2565 2565

(ม.ค.-พ.ย.)

2566

(ม.ค.-พ.ย.)

มูลค่าการค้า 8,227.45 7,560.17 6,942.86 15.18 17.86 -8.17 1.39 1.32 1.31
การส่งออก 4,696.58 4,338.30 4,123.75 8.72 13.09 -6.03 1.64 1.65 1.58
การนำเข้า 3,530.87 3,221.87 2,819.11 25.06 25.17 -12.05 1.16 1.16 1.05
ดุลการค้า 1,165.71 1,116.43 1,304.64 -21.85

ที่มา : OPS กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย ณ วันที่ 29 ธ.ค. 66

ปี 2566 มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยและเมียนมาตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2566     มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 6,942.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.17 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไทยมีการส่งออกไปยังเมียนมาเป็นมูลค่า 4,123.75 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.03 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการชะลอของเศรษฐกิจโลก สำหรับการนำเข้าสินค้าจากเมียนมามายังประเทศไทยมีมูลค่า 2,819.11ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.05 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ไทยได้ดุลการค้าเป็นมูลค่า 1,304.64ล้านเหรียญสหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเทศและสมุนไพร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมา ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กาแฟ ชา เครื่องเทศ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เป็นต้น

3.สถานการณ์สำคัญ

3.1 ภาคพะโคดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยอนุมัติเงินทุนเพิ่มเติมสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรม

นายโกโกลัด ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนและการบริหารบริษัทของภาคพะโคระบุว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ภาคพะโคได้รับโครงการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 1.622 ล้านดอลลาร์

นายโกโกลัด กล่าวเสริมในการประชุมครั้งที่ 7/2023 ว่า คณะกรรมการการลงทุนภาคพะโคอนุญาตให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 1.622 ล้านดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน 2566 นอกจากนี้ คณะกรรมการได้อนุมัติธุรกิจต่างประเทศที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบันให้เงินลงทุนเพิ่มเป็น 7 ล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ หน่วยงานในพื้นที่มีความประสงค์เชิญชวนนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ทางการเกษตร การผลิตปุ๋ย และการจัดตั้งห้องเย็น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแนวคิดการเกษตรครบวงจร

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงพฤศจิกายน 2566  ประเทศเมียนมามีการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 197.117 ล้านดอลลาร์ และสามารถสร้างงานให้กับชาวเมียนมาได้จำนวนมาก

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.2 ไทยจัดหาวัตถุดิบอาหารจากเมียนมาเพิ่มขึ้น

เมียนมาเล็งเห็นว่า ประเทศไทยมีความต้องการวัตถุดิบอาหารจากเมียนมาเพิ่มขึ้น และสินค้าส่งออกหลักของเมียนมาผ่านชายแดนเมียวดี-แม่สอด เช่น พริกแห้ง หัวหอม กะหล่ำปลี อาหารทะเล ตามข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ประเทศไทยมีความต้องการวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมหรือธุรกิจอาหารเพิ่มขึ้น เนื่องจากร้านอาหารและธุรกิจอาหารในประเทศไทยที่เติบโตขึ้น

ในช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2566 วัตถุดิบอาหารที่เมียนมาได้ส่งออกไปยังประเทศไทยโดยผ่านชายแดนเมียวดี-แม่สอดเป็นหลัก เช่น พริกแห้ง 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หัวหอม 1.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กะหล่ำปลี 0.399 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในขณะเดียวกัน เมียนมานำเข้าจากประเทศไทย เช่น อาหารสัตว์ จักรยาน เสื้อผ้า เครื่องเขียน ชิ้นส่วนรถยนต์ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ยา รองเท้า ผลไม้ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอุตสาหกรรม เครื่องจักร อุปกรณ์ประมง

การค้าชายแดนเมียวดีระหว่างวันที่ 1 ถึง 17 พฤศจิกายน 2566 มีมูลค่า 53.836 ล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าการส่งออก 10.389 ล้านดอลลาร์ และมูลค่าการนำเข้า 43.447 ล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

 

3.3 ธนาคารกลางเมียนมาผ่อนคลายมาตรการอัตราแลกเปลี่ยน

เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 66 ธนาคารกลางเมียนมาประกาศผ่อนคลายมาตรการอัตราแลกเปลี่ยน โดยยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยน Online Trading (ประมาณ 2,900 จ๊าต/เหรียญ) ซึ่งมีราคาน้อยกว่าราคาตลาด               โดยเปลี่ยนเป็นอัตราแลกเปลี่ยนตามราคาตลาด (3,300-3,500 จ๊าต/เหรียญ) รวมทั้ง วันที่ 6 ธ.ค. 66 ธนาคารกลางเมียนมาประกาศผ่อนคลายมาตรการสัดส่วนการแลกเปลี่ยนรายได้จากการส่งออก (Export Earning) โดยลดสัดส่วนการแลกเปลี่ยนการส่งออกด้วยอัตราทางการ (2,100 จ๊าต/เหรียญ) จากเดิมร้อยละ 50         ของรายได้การส่งออก ลดลงเหลือร้อยละ 35 ของรายได้การส่งออก ส่วนอีกร้อยละ 65 สามารถใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามราคาตลาด (3,300-3,500 จ๊าต/เหรียญ)

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

3.4 สะพานหลักบนถนนกอกอเร็ท-เมียวดี ถูกระเบิดทำลาย

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2566 กองกำลังร่วม KNLA / PDF (กองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Liberation Army : KNLA) และกองกำลังปกป้องประชาชน (People’s Defense Force : PDF)) ทำลายสะพาน Kaw Nwet (ก้อแนว่) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการขนส่งของถนนกอกอเร็ท-เมียวดี หรือ ถนนสายเอเชีย โดยผู้นำเข้า-ส่งออกกล่าวว่า ความเสียหายครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าให้ล่าช้าและราคาค่าขนส่งอาจปรับเพิ่มขึ้น โดยการขนส่งหลังจากนี้ จะใช้เส้นทางอื่นเลี่ยงถนนสายนี้ เช่น ใช้ถนนสายเก่า ชื่อถนนทอโกโก ซึ่งสภาพถนนไม่ดีและใช้รถคันเล็กในการขนส่งสินค้า จึงทำให้การขนส่งสินค้าล่าช้าและลำบากมากขึ้น แต่ก็ยังดีที่มีเส้นทางเลี่ยงใช้ขนส่งไปพลางก่อนได้

ที่มา: Global New Light Of Myanmar (www.gnlm.com.mm)

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง

 ธันวาคม 2566

 

thThai