ข้อมูลสถานการณ์การค้าประเทศออสเตรเลีย เดือนพฤศจิกายน 2566

สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย

ปี 2566 เดือนมกราคม-พฤศจิกายน สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 338,283 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 10.18) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 35.00) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 27.52) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 5.72) แร่ลิเทียม (ร้อยละ 3.69) ข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 3.59) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดียและไต้หวัน สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 13 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ข้าวสาลีและเมสลิน อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ทองแดงบริสุทธิ์ และเนื้อสัตว์)

ปี 2566 เดือนมกราคม-พฤศจิกายน การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 253,303 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 4.77) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.65 ) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 14.59) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.05) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.43) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 4.08) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2566  ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 84,980 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ กระสอบและถุง (รวมถึงกรวย)  และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 6,074 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (212,590 ล้านบาท)

สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนพฤศจิกายน 2566 มีมูลค่า 30,019 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 9.44) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 33.71) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 29.61) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 5.46) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 3.81) แร่ลิเทียม (ร้อยละ 3.10) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้  อินเดียและสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ทองแดงบริสุทธิ์ และ เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค)

สำหรับการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนพฤศจิกายน 2566 มีมูลค่า 23,172 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 5.45)  โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 14.90) น้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล) (ร้อยละ 14.62) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 14.02) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 12.11) และยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 4.38) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2566 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 6,060 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่และทูน่ากระป๋อง)

สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย

เป้าหมายส่งออก มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$)
ปี 2022

(%)

ปี 2023

(%)

ปี 2022 ปี 2023 ปี 2022 ปี 2023 ปี 2022 ปี 2023
  ม.ค-พ.ย. +/- (%)   ม.ค-พ.ย. +/- (%)   ม.ค-พ.ย. +/- (%)
2.0

(1.77)

2.0 18,315.60

(6.27)

17,640.81 3.14 11,154.06

(1.77)

11,009.41 7.34 7,128.32

(13.59)

6,631.40 -2.93

ที่มา :

Source: Global Trade Atlas

Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

thThai