หากท่านเดินเข้าไปในศูนย์กลางของบริษัท Teekanne (กาน้ำชา) ก็จะได้กลิ่นสมุนไหร และผลไม้อย่างชัดเจน ซึ่งในวงการชาของเยอรมัน ซึ่งมีโรงงานตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันตกของเมือง Düsseldorf นาย Frank Schübel ผู้บริหารของบริษัทฯ ได้ให้สัมภาษณ์ด้วยความภาคภูมิใจว่า “บริษัท Teekanne ได้ทำการผลิตชากว่า 8 พันล้านถุง/ปี หรือ 1 ถุง สำหรับประชากรทุกคนทั่วโลก” ซึ่งนาย Schübel เข้ามาเป็นผู้บริหารของบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2017 โดยนำเข้าวัตถุดิบจาก 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในจำนวนวัตถุดิบหลาย ๆ ตัว ปัจจุบันวัตถุดิบจำพวกชาดำ ชบา โรสฮิป (Rose Hip – ผลของกุหลาบป่า) และยี่หร่าฝรั่ง ถือว่าหายากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก 2 เหตุผลหลัก ได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศ และ (2) กฎหมายด้านห่วงโซ่อุปทาน (Lieferkettengesetz) และนาย Schübel ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันการเก็บเกี่ยวชาและสมุนไพรมีความยากลำบากมากขึ้น เพราะบางพื้นที่ก็มีฝนตกมากหรือบางที่ก็มีปริมาณฝนที่น้อยจนเกินไป” ซึ่งที่ผ่านมา นาย Schübel ได้เดินทางไปพบกับผู้ผลิตชาจากทั่วโลก และทำให้เห็นว่า การจัดการแหล่งน้ำน่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในอนาคตโดยเฉพาะในประเทศที่มีอากาศร้อนอย่างเช่นอียิปต์ ที่ผ่านมาบริษัทฯ ซื้อดอกคาโมไมล์ส่วนใหญ่จากแหล่งปลูกบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ แต่ก็พบกับปัญหาว่าขณะนี้เอธิโอเปียปล่อยน้ำตอนบนของแม่น้ำบลูไนล์ให้ลงมายังแม่น้ำไนล์ลดลง ซึ่งแม่น้ำบลูไนล์เป็นต้นสายของแม่น้ำไนล์นั่นเอง สำหรับสาเหตุสำคัญที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเอธิโอเปียต้องการน้ำสำหรับใช้ในการเกษตรมากขึ้น จากปัญหาภัยแล้ง นอกจากนี้ นาย Schübel ได้กล่าวว่า “การต่อสู้เพื่อแย่งชิงน้ำในแม่น้ำไนล์ถือเป็นภัยคุกคามที่สำคัญและอาจกลายเป็นฉนวนสงครามได้เลยทีเดียว” ในขณะที่การสู้รบในซูดานที่รุนแรงขึ้นได้ทำให้การจัดหาดอกชบายากขึ้นไปอีก ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ “การจัดหาวัตถุดิบเริ่มมีความแปรปรวนและยากลำบากมากขึ้นเรื่อย ๆ” นอกจากนี้ การต้องปฏิบัติตามระเบียบด้านสิทธิมนุษยชนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ก็เป็นข้อจำกัดที่เพิ่มเข้ามา ดังนั้นด้วยเหตุนี้เยอรมนีและสหภาพยุโรป (EU) จึงผ่านกฎหมายด้านห่วงโซ่อุปทานออกมา โดยระบุถึงความรับผิดชอบขององค์กรในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งรวมไปถึงเรื่องการคุ้มครองแรงงานเด็กและค่าจ้างที่เป็นธรรม สิ่งเหล่านี้ทำให้ นาย Schübel ปวดหัวไม่ใช่ย่อย และกล่าวว่า “แน่นอนเจตจำนงของกฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง” ในอดีตนาย Schübel เคยทำงานให้กับบริษัท Nestlé, Weihenstephan และ Berentzen อธิบายว่า ในฐานะผู้นำตลาดและผู้ดูแลธุรกิจครอบครัวรุ่นที่ 4 บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างมาตรฐานเหล่านี้อย่างยั่งยืน และแม้ว่าตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ ยังไม่สามารถปฏิบัติตามได้หมด แต่บริษัทมีพนักงาน จำนวน 1,300 คนทั่วโลก แต่มีพนักงานน้อยกว่า 1,000 คนในประเทศ ทำให้ในปี 2024 บริษัทฯ ยังคงต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายระบุไว้ นอกจากนี้นาย Schübel ยังรู้สึกตื่นตระหนกกับระบุรายละเอียดในกฎหมายด้านห่วงโซ่อุปทาน และกล่าวว่า “ข้อกำหนดในกฎหมายด้านห่วงโซ่อุปทานจะทำให้เกิดความซับซ้อนของระบบราชการจะทำให้ผู้ผลิต EU จะเสียเปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งนานาชาติ”
เกษตรกรรายย่อยทั่วโลกต่างต้องรับคำแนะนำอย่างละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชว่าชนิดใดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ และยังจะต้องรับรองสภาพการทำงานว่ายุติธรรมและปลอดภัย รวมไปถึงต้องแสดงหลักฐานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งระบบเอกสารเหล่านี้สร้างภาระเพิ่มขึ้นให้กับพวกเขา เพราะตามปกติแล้ว การจ้างงานตามฤดูกาลมีบทบาทสำคัญในภาคเกษตรกรรม เช่น ดอกชบา และโรสฮิป ไม่สามารถปลูกในไร่ขนาดใหญ่ได้ ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผู้รับจ้างตามฤดูกาลก็จะออกไปพร้อมกับตะกร้าเพื่อเก็บวัตถุดิบเหล่านี้ ซึ่งหากพวกเขาหิ้วลูกเล็กเด็กแดงหรือแอบพาครอบครัวไปเพื่อเก็บด้วย ประเด็นดังกล่าวเราจะจัดการอย่างไร หรือเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้หญิงถูกเลือกปฏิบัติในชีวิตประจำวันหรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบ นาย Schübel กล่าวว่า “นี้จึงกลายเป็นขีดจำกัดของกฎหมายห่วงโซ่อุปทาน” ผลลัพธ์จากเรื่องดังกล่าวก็คือ “ปัจจุบันผู้ผลิตหันมาจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าที่มีความต้องการซับซ้อนน้อยกว่า อย่างลูกค้าเอเชีย หรือสหรัฐอเมริกา มากกว่าที่จะขายให้กับลูกค้าชาวยุโรป” โดยนาย Schübel ตั้งข้อสังเกตว่า “ในเวลานี้ความต้องการวัตถุดิบมีมากกว่าอุปทาน พวกเขาจึงสามารถเลือกลูกค้าได้” นาย Schübel กล่าวต่อว่า ผู้ผลิตรายหนึ่งบอกเขาโดยตรง ๆ ว่า “หากพวกเราสามารถขายสินค้าในราคาที่ดีพอ ๆ กัน และไม่ต้องใช้ความพยายามมาก ผู้ซื้อจาก EU ก็จะถูกลดความสำคัญลดลงเรื่อย ๆ พูดจริง ๆ นะ ยุโรปเอาจริงเอาจังกับตัวเองมากเกินไป ซับซ้อนเกินไป และพวกคุณก็มีขนาดเล็กเกินไปที่จะมีอิทธิพลต่อตลาดโลกได้โดยอัตโนมัติ” ผู้บริหารของบริษัท Teekanne สรุปว่า “หากปราศจากความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ปลูก 100 รายทั่วโลก ที่มีมายาวนาน เราก็คงจะมีปัญหาอย่างหนักในการรับรองคุณภาพและการจัดหาสินค้าในปัจจุบัน” นอกจากนี้ กฎระเบียบของ EU ในแง่ของความยั่งยืนก็มีเพิ่มมาก และซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน นาย Schübel ลองคำนวณดู สำหรับบริษัท Teekanne เองแล้ว “ภาระผูกพันที่เกิดขึ้นจาก Green Deal ของ EU รวมถึงกฎหมายห่วงโซ่อุปทาน เมื่อเราคำนวณจากยอดจำหน่ายส่งผลให้เรามีต้นทุนเพิ่มขึ้น 2% โดยประมาณ หรือประมาณ 6 ล้านยูโร” เมื่อเร็ว ๆ นี้ต้นทุนวัตถุดิบของบริษัท Teekanne เพิ่มขึ้น 10% ถึง 20% บริษัทฯ จึงต้องปรับราคาสินค้าขึ้น อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นตาม โดยคาดว่ายอดจำหน่ายจะสูงถึงเกือบ 300 ล้านยูโร จนถึงช่วงสิ้นปีงบประมาณ นาย Schübel กล่าวเน้นย้ำว่า “ธุรกิจยังมีผลกำไร” อย่างไรก็ตาม ราคาเมื่อคูณราคาขายแล้วกำไรของบริษัท Teekanne น่าจะลดลง 1 – 2% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แม้ว่าอุตสาหกรรมชาจะเติบโตขึ้น นาย Schübel อธิบายว่า “ในฐานะยี่ห้อ Teekanne บริษัทได้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดจำนวนหนึ่งเนื่องจากผู้บริโภคประหยัดเงินมากขึ้นและซื้อสินค้าแบบ Private Label มากกว่า” ในเวลานี้ผลิตภัณฑ์ No-Name มีส่วนแบ่งตลาดถึง 1 ใน 4 แล้ว หรือ 40% โดยประมาณ บริษัทวิจัยตลาด Nielsen ระบุว่า ปัจจุบันบริษัท Teekanne มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที 32% ตามมาด้วยบริษัท Laurens Spethmann Holding (Meßmer Tee) ที่ 25% ในระดับโลกแล้วสินค้ายี่ห้อ Teekanne รั้งอันดับ 3 ตามหลัง Lipton และ Twinings เท่านั้น
ปัจจุบันการบริโภคชาในเยอรมนีมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ การบริโภคกาแฟลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ตลาดกาแฟมีขนาดใหญ่กว่าตลาดชาถึง 6 เท่า โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 4.5 พันล้านยูโร ตามข้อมูลของสมาคมชาและชาสมุนไพรเยอรมัน ในปี 2022 ชาวเยอรมันทุกคนดื่มชาโดยเฉลี่ย 69 ลิตร โดยเป็นชาสมุนไพรและชาผลไม้มากถึง 41 ลิตร บริษัท Teekanne เป็นผู้นำด้านชาผลไม้และสมุนไพร ตลาดโลก จากข้อมูลของสมาคมชา เทรนด์ชาในเวลานี้ก็คือชา “เสริมสร้างสติ” ซึ่งมีความนิยมก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคหมู่คนหนุ่มสาว นอกจากนี้ชาออร์แกนิกมีส่วนแบ่งตลาดเกือบ 16% เช่นกัน นาย Werner Motyka ผู้เชี่ยวชาญตลาดชา หุ้นส่วนของบริษัทให้คำปรึกษา Munich Strategy เชื่อว่า เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ อุตสาหกรรมชาจำเป็นต้องทำให้เครื่องดื่มชามีความ “เซ็กซี่ขึ้น” นอกจากนี้เครื่องดื่มสกัดเย็น (Cold Brew) และชาที่มีประโยชน์เพิ่มเติม ก็มีบทบาทในตลาดสำคัญมากมากขึ้นเช่นกัน บริษัท Teekanne ได้พัฒนาชาเปปเปอร์มินต์ผสมคาเฟอีน อีกทั้งบริษัทยังมีการวางแผนผลิตชาช่วยให้นอนหลับง่ายที่มีเมลาโทนินห่อหุ้มไว้ที่ถุงชา ล่าสุดบริษัท Teekanne ยังได้นำเสนอชาบรรจุขวดพร้อมดื่มออกสู่ตลาดอีกด้วย เพราะชาเหล่านี้เป็นสินค้าที่มีความแพร่หลายในญี่ปุ่นและเกาหลีมาเป็นเวลานานแล้ว” นาย Motyka ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า “น้ำชาบรรจุขวดมีความสะดวกและทำให้เข้าถึงผู้บริโภคใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น บริษัท Teekanne ประกอบธุรกิจในต่างประเทศไปแล้วกว่า 55% ของธุรกิจโดยรวม และมีความประสงค์ที่จะขยายธุรกิจเพิ่มออกไปอีก โดยเฉพาะในแอฟริกาและเอเชีย นาย Schübel กล่าวว่า “ชาเขียวมีวัฒนธรรมมากจากญี่ปุ่น แต่เราก็สามารถทำคะแนนที่นั่นได้ด้วย ชาผลไม้ และ ชาสมุนไพร”
จาก Handelsblatt 26 มกราคม 2567