ปี 2566 ส่งออกไทยมาอิตาลีโตตามคาด บวก 2.48% ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกของไทยอันดับ 3 ในสหภาพยุโรป

ปี 2566 การค้าระหว่างไทย-อิตาลี มีมูลค่าทั้งสิ้น 5,062.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.32% แบ่งเป็น การส่งออกมูลค่า 2,098.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.48% และการนำเข้ามูลค่า 2,963.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.93% อย่างไรก็ตาม ไทยยังขาดดุลการค้ากับอิตาลี คิดเป็นมูลค่า 865.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลง 7.61% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
ปี 2566 ส่งออกไทยมาอิตาลีโตตามคาด บวก 2.48% ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกของไทยอันดับ 3 ในสหภาพยุโรป
สำหรับการส่งออกของไทยมายังสหภาพยุโรป (27) ไม่รวมสหราชอาณาจักร ปี 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 21,838.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 4.21% ในขณะที่อิตาลี ยังคงเป็นตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2564 นับตั้งแต่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 (ปี 2564 เพิ่มขึ้น 29.63% ปี 2565 เพิ่มขึ้น 10.64%) ทำให้อิตาลี ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยในสหภาพยุโรปในอันดับที่ 3 รองจาก เนเธอร์แลนด์ (มูลค่าการส่งออก 5,832.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.01%) และเยอรมนี (มูลค่าการส่งออก 4,472.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 6.46%)
ปี 2566 ส่งออกไทยมาอิตาลีโตตามคาด บวก 2.48% ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกของไทยอันดับ 3 ในสหภาพยุโรป
สำหรับปี 2566 การส่งออกของไทยไปอิตาลีมีมูลค่าทั้งสิ้น 2,098.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.48% เมื่อเทียบกับปี 2565 (ที่มีมูลค่า 2,047.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ทั้งนี้ อิตาลีถือเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย อันดับ 25 ของตลาดส่งออกทั่วโลกของไทย (ปี 2565 อิตาลีอยู่อันดับ 28) และอันดับ 5 ของตลาดส่งออกในภูมิภาคยุโรปของไทย (อันดับ 1-4 ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์) โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ปลาหมึก มีชีวิต สด แช่เย็น แช่แข็ง และเครื่องนุ่งห่ม
โดยปี 2566 พบว่า กลุ่มสินค้าที่ไทยส่งออกมายังอิตาลีขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.05% มีมูลค่า 1,770.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (+26.66%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+5.73%) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ (+51.98%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+41.08%) เป็นต้น ในขณะที่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร หดตัวลง 26.98% มีมูลค่า 168.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าสำคัญที่ลดลง เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง (-25.85%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (-32.70%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (-30.07%) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (-87.70%) เป็นต้น และกลุ่มสินค้าเกษตรกรรม หดตัวลง 17.55% มีมูลค่า 159.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าสำคัญที่ลดลง เช่น ปลาหมึก มีชีวิต สด แช่เย็น แช่แข็ง (-23.04%) ยางพารา (-28.50%) กล้วยไม้ (-3.27%) เป็นต้น ในขณะที่สินค้าบางรายการขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว (+51.57%) และผลไม้สด (+40.02%) เป็นต้น
ปี 2566 ส่งออกไทยมาอิตาลีโตตามคาด บวก 2.48% ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกของไทยอันดับ 3 ในสหภาพยุโรป
โดยเดือนธันวาคม 2566 ไทยส่งออกมาอิตาลีมีมูลค่า 156.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น 5 อันดับแรก (มีสัดส่วนรวมกันถึง 50.41% ของสินค้าที่ไทยส่งออกมายังอิตาลีทั้งหมด) เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ได้แก่ อันดับ 1 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มูลค่า 23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+26.02%) อันดับ 2 หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มูลค่า 16.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+24.53%) อันดับ 3 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 15.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+42.17%) อันดับ 4 อาหารสัตว์เลี้ยง มูลค่า 13.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+53.62%) และอันดับ 5 รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ มูลค่า 10.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+31.81%)
ปี 2566 ส่งออกไทยมาอิตาลีโตตามคาด บวก 2.48% ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกของไทยอันดับ 3 ในสหภาพยุโรป
ปี 2566 ส่งออกไทยมาอิตาลีโตตามคาด บวก 2.48% ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกของไทยอันดับ 3 ในสหภาพยุโรป
แนวโน้มและโอกาสของสินค้าไทยในตลาดอิตาลี
จากข้อมูลตัวเลขการส่งออกปี 2566 แสดงให้เห็นว่า กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมยังคงเป็นกลุ่มสินค้าหลักที่ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลี โดยมีมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2564 ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งถือเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยมายังอิตาลีในอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ มีสัดส่วนสูงที่สุด 12.75% ของสินค้าส่งออกของไทยมายังอิตาลีทั้งหมด สำหรับกลุ่มสินค้าเกษตรกรรมของไทยที่ยังคงมีแนวโน้มสดใส ได้แก่ ข้าว ซึ่งถือเป็นสินค้าที่ไทยยังมีโอกาสในการขยายมูลค่าและปริมาณการส่งออกมายังอิตาลีได้ (ปริมาณส่งออก 28,472 ตัน มูลค่า 23.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 69.93% และ 51.57% ตามลำดับ) โดยเฉพาะข้าวขาวและข้าวหอมมะลิ ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการที่อินเดียงดส่งออกข้าวขาว และราคาจำหน่ายข้าวหอมมะลิไทยในท้องตลาดมีการปรับราคาลดลง ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อข้าวหอมมะลิไทยเพิ่มขึ้น ในส่วนของกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยที่มีโอกาสขยายการส่งออกมายังอิตาลีเพิ่มขึ้น เช่น สิ่งปรุงรสอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ผักกระป๋องและผักแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าว เป็นต้น
ความคิดเห็นของ สคต. มิลาน
1. จากข้อมูลตัวเลขดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการส่งออกสินค้าของไทยมายังอิตาลี ปี 2566 ยังคงขยายตัวได้ดี เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกยุโรปอื่น ๆ ที่การส่งออกของไทยอยู่ในภาวะหดตัว ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี (-7.12%) ฝรั่งเศส (-8.81%) เบลเยี่ยม (-23.41%) และสเปน (-1.41%) โดยปี 2567 สินค้าไทยหลายรายการที่ยังคงมีโอกาสในการขยายการส่งออกมายังตลาดอิตาลี เช่น สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับต้น ๆ ของไทย โดยเฉพาะสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีมูลค่าการส่งออก ขยายตัวเกือบเท่ากับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในรอบ 19 ปี (นับตั้งแต่ปี 2548) และไทยถือเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่สำคัญของอิตาลี อันดับ 2 รองจากประเทศจีน
2. สำหรับการส่งออกสินค้าไทยมายังอิตาลีในช่วงไตรมาสแรก ปี 2567 อาจมีมูลค่าการส่งออกลดลง เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า อันสืบเนื่องมาจากผลกระทบของสถานการณ์การโจมตีเรือขนส่งสินค้าที่ใช้เส้นทางผ่านทะเลแดง/คลองสุเอซ ที่ส่งผลให้เรือขนส่งสินค้าจากเอเชียไปยังยุโรปจำนวนมาก ต้องเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือโดยด่วน ทำให้เกิดความเสียหายในการส่งมอบชิ้นส่วน/อุปกรณ์ และสินค้าต่าง ๆ รวมถึงบริษัทให้บริการขนส่งทางเรือได้ปรับราคาค่าระวางเรือเพิ่มขึ้นจากราคาเดิมสูงถึง 200 – 300% และระยะเวลาการส่งมอบสินค้าที่คาดว่าจะใช้ระยะเวลากว่า 1 เดือน ซึ่งอาจส่งผลให้สินค้า/ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในด้านการผลิต และการวางจำหน่ายในท้องตลาดขาดตลาด อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การดังกล่าวส่งผลให้ผู้นำเข้าอิตาเลียนที่นำเข้าสินค้าจากไทย อาจพิจารณาปรับลดการนำเข้า หรือชะลอการนำเข้าสินค้าไทยในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 หรือจนกว่าสถานการณ์การโจมตีดังกล่าวจะเริ่มคลี่คลาย
——————————————————————-
ที่มา: 1. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
2. Global Trade Atlas
3. สำนักข่าว Il sole 24 ore

thThai