การค้าระหว่างประเทศเดือนธันวาคม 2566

ภาพรวมการค้ารวมของมาเลเซียหดตัวร้อยละ 4.3 โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 225,100 ล้านริงกิตในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 เมื่อเทียบกับมูลค่า 235,200 ล้านริงกิตในเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกติดลบร้อยละ 10.0 ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในส่วนของดุลการค้าลดลงร้อยละ 57.8 มีมูลค่า 11,800 ล้านริงกิต

ภาพรวมการค้าของมาเลเซียในเดือนธันวาคม 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (พฤศจิกายน 2566) มีตัวเลขการส่งออก การนำเข้า การค้ารวม และการเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 2.7, 2.6, 2.6 และ 3.6 ตามลำดับ อีกทั้ง การค้าภาพรวมและการเกินดุลการค้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2565 โดยการค้าในภาพรวมลดลงร้อยละ 3.2 ในขณะที่การเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 45.9 จากที่มีมูลค่า 68,200 ล้านริงกิต เป็น 36,900 ล้านริงกิต

 

การส่งออกของมาเลเซียในเดือนธันวาคม 2566 ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2565 สอดคล้องกับการลดลงของการส่งออกภายในประเทศและการส่งออกซ้ำ (Re – Export) โดยการส่งออกในประเทศคิดเป็นร้อยละ 82.1 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงร้อยละ 7.4  จากที่มีมูลค่า 105,000 ล้านริงกิตเป็น 97,300 ล้านริงกิต ในขณะที่การส่งออกซ้ำ (Re – Export) คิดเป็นร้อยละ 17.9 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงร้อยละ 20.3 จากที่มีมูลค่า 26,600 ล้านริงกิต เป็น 21,200 ล้านริงกิต

การค้าระหว่างประเทศเดือนธันวาคม 2566

รูปที่ 1 : การนำเข้า มูลค่า (พันล้านริงกิต) และการเปลี่ยนแปลงประจำปี (%)

การค้าระหว่างประเทศเดือนธันวาคม 2566

รูปที่ 2 : มูลค่าการส่งออกตามจริงและมูลค่าการส่งออกตามไตรมาส (พันล้านริงกิต)

 

การนำเข้าของมาเลเซียในเดือนธันวาคม 2566 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอยู่ที่ร้อยละ 2.9 จาก 103,600 ล้านริงกิตในเดือนเดียวกันของปีก่อนเป็น 106,700 ล้านริงกิต เมื่อเทียบเป็นแบบรายปี การนำเข้าเพิ่มขึ้นโดยสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และ 24.6 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 0.7

การค้าระหว่างประเทศเดือนธันวาคม 2566

รูปที่ 3 : การนำเข้า มูลค่า (พันล้านริงกิต) และการเปลี่ยนแปลงประจำปี (%)

 

การค้าระหว่างประเทศเดือนธันวาคม 2566

รูปที่ 4 : มูลค่าการนำเข้าจริงและมูลค่าการนำเข้าตามไตรมาส (พันล้านริงกิต)

 

บทวิเคราะห์

ภาพรวมการค้ารวมของมาเลเซียในเดือนธันวาคม 2566 ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการค้าโลกยังคงขยายตัวในอัตราที่ช้าลง โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อที่สูง ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ยูเครน และความขัดแย้งในตะวันออกกลางยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ของมาเลเซียมีอัตราลดลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่สูงขึ้นส่งผลโดยตรงต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ

แม้จะมีภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกที่ท้าทาย แต่การค้าของมาเลเซียในปี 2566 ก็ยังสามารถทะลุเป้าที่มากกว่า 2 ล้านล้านริงกิตเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน และยังคงรักษาการเกินดุลไว้เป็นเวลา 26 ปีติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 1998 การส่งออกทะลุ 1 ล้านล้านริงกิตเป็นปีที่สามติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียนำโดยกระทรวงการคลัง (MOF) ได้ว่างแผนผลการดำเนินงานทางการค้าของประเทศ Economic Outlook 2024 โดยตั้งเป้าการค้าภาพรวม การส่งออก และการนำเข้าที่ ร้อยละ 100.1, ร้อยละ 99.7 และ ร้อยละ 100.5 ตามลำดับ

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

thThai