เนื้อหาสาระข่าว: องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ มีประกาศเตือนภัยสินค้านำเข้าเพื่อบังคับใช้กฎคุ้มครองความปลอดภัยในอาหารของสหรัฐฯ กับสินค้าอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งได้มีการออกประกาศเตือนภัยฉบับปรับปรุงล่าสุด ดังรายการต่อไปนี้
ประกาศเตือนภัยที่ได้รับการปรับปรุงในรอบ 7 วัน (จนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์)
ประกาศเตือนภัย | ประเด็น
(มาตรการดำเนินการ) |
ลิ้งก์ไปยังรายละเอียด |
IA-16-74 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้าปลาที่ยังไม่ได้ถอดเครื่องในออกหรือถอดออกเพียงบางส่วน ที่ได้รับการหมักเกลือ ทำให้แห้ง หมัก ดอง รมควันและแช่น้ำเกลือ | https://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_48.html
มี 12 บริษัทจากไทยในรายการสีแดง มี 2 บริษัทจากไทยในรายการสีเขียว |
IA-16-81 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้าอาหารทะเลที่เคยตรวจพบเชื้อ Salmonella | https://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_49.html
มี 57 บริษัทจากไทยในรายการสีแดง |
IA-45-02 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน และมีคำแนะนำสำหรับสินค้าอาหารที่ใส่สีที่ผิดกฎหมายหรือโดยไม่แจงรายละเอียดของสีที่ใช้ | https://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_118.html
มี 104 บริษัทจากไทยในรายการสีแดง |
IA-66-40 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้ายาจากบริษัทที่ไม่ผ่านมาตรฐาน GMPs | https://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_189.html
มี 2 บริษัทจากไทยในรายการสีแดง |
IA-66-41 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้ายาใหม่ที่มีการโฆษณาสรรพคุณในสหรัฐฯ แต่ยังไม่ได้รับการรับรอง | http://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_190.html
มี 33 บริษัทจากไทยในรายการสีแดง |
IA-66-79 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้ายาจากองค์กรต่างชาติที่ปฏิเสธการตรวจสอบโดย FDA | ไม่มี |
IA-80-04 | ให้เฝ้าระวังและกักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้าถุงมือแพทย์ | https://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_229.html
มี 23 บริษัทจากไทยในรายการสีแดง |
IA-95-04 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้าอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Pointers) อุปกรณ์เล็งเป้าด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Gunsights) เครื่องวัดระดับด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Level) อุปกรณ์แสดงแสงสีด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Light Show) พวงกุญแจที่มีอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งด้วยแสงเลเซอร์และสินค้าในลักษณะเดียวกันที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการใช้งานและไม่ได้ให้รายละเอียดอย่างครบถ้วนตามที่กำหนด | https://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_254.html
ไม่มีบริษัทจากไทยในรายการสีแดง |
IA-99-05 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้าเกษตรกรรมสดที่มียาฆ่าแมลง | http://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_258.html
มี 2 บริษัทจากไทยในรายการสีแดง |
IA-99-08 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้าอาหารแปรรูปทั้งสำหรับคนและสัตว์ที่มียาฆ่าแมลง | https://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_259.html
มี 35 บริษัทจากไทยในรายการสีแดง |
IA-99-38 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้าอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำหรืออาหารดองเปรี้ยวที่มีการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างไม่ถูกต้อง | https://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_1132.html
มี 10 บริษัทจากไทยในรายการสีแดง |
IA-99-39 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้าอาหารนำเข้าที่พบว่ามีการปลอมแปลงตราผลิตภัณฑ์ | https://www.accessdata.fda.gov/cms_ia/importalert_1144.html
มี 14 บริษัทจากไทยในรายการสีแดง |
IA-99-45 | ให้กักสินค้าโดยไม่ต้องตรวจสอบก่อน สำหรับสินค้าอาหารที่เป็นหรือมีส่วนผสมของสารปรุงแต่งที่มีอันตราย | ไม่มี |
บทวิเคราะห์/ข้อเสนอแนะ: บทความนี้เพิ่งจะประกาศตีพิมพ์ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ และในแต่ละประกาศเตือนภัย (ตามลิ้งก์) ก็เพิ่งจะตีพิมพ์บทปรับปรุงใหม่ในช่วงวันที่ 2-12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง เรื่องนี้ควรจะกระจายข่าวออกไปให้รวดเร็วที่สุด เพื่อที่ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะรายที่มีชื่อปรากฎอยู่ในรายการสีแดงของประกาศเตือนภัยเหล่านี้จะได้รีบเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยเร็ว หรือเตรียมการโต้แย้งก่อนจะได้ดำเนินการแจ้งกับหน่วยงานของสหรัฐฯ เพื่อขอถอดรายชื่อบริษัทออกจากรายการสีแดงได้ทันท่วงที โดยในแต่ละประกาศเตือนภัยเหล่านี้มีขั้นตอนในการขอลบชื่อออกจากรายการสีแดงซึ่งสามารถทำได้เฉพาะในบางประกาศ ผู้ประกอบการควรที่จะเร่งดำเนินการเพื่อป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่อาจจะตามมาให้โดยเร็ว ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกสัปดาห์เพื่อใช้เตือนผู้นำเข้าให้ระมัดระวังการนำสินค้าที่อาจอยู่ในข่ายที่ต้องถูกดำเนินการตามมาตรการตามที่กำหนดไว้ รวมถึงอาจต้องรับภาระความเสี่ยงต่างๆ เช่น เสียเวลาในการออกสินค้า ความล่าช้าที่เกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นจากการล่าช้า ส่งสินค้ากลับ หรือค่าทำลายสินค้า เป็นต้น
*********************************************************
ที่มา: Food Safety News เรื่อง: “FDA imposes import bans because of pesticides, additives and undeclared colors” โดย: News Desk สคต. ไมอามี /วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567