กว่า 40 ประเทศในทวีปแอฟริกากำลังประสบปัญหาหนี้สินและการผันผวนของค่าเงินสกุลท้องถิ่นที่ดิ่งลงในขณะเดียวกันการพัฒนาเพื่อการเติบโตในวันข้างหน้าของประเทศและการรักษาสเถียรภาพของค่าเงินก็เป็นสิ่งที่ยังต้องดำเนินต่อไป
ปัญหาเหล่านี้เพิ่มความกดดันให้แต่ละประเทศมากขึ้น นับแต่ปี พ.ศ. 2565 เมื่ออัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ธนาคารกลางรายใหญ่ทั่วโลกเริ่มออกมาตรการทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในรอบหลายทศวรรษเพื่อมาบังคับใช้ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางต่างๆ พากันปรับขึ้น อันเป็นผลให้การชำระคืนเงินกู้ภายนอกพุ่งสูงขึ้นและเพิ่มภาระหนี้ที่สะสมนช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา
ความพยายามในการแก้ปัญหาอย่างนึงอาจทำให้ปัญหาอื่นแย่ลงนับเป็นสิ่งที่ยากลำบากที่แอฟริกาต้องผ่านพ้นไปให้ได้ ตัวอย่างเช่น การชะลอหรือลดการเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะและการปรับลดอัตราแลกเปลี่ยนจะทำให้รัฐบาล
มีความยากลำบากในการบริหารค่าใช้จ่ายของรัฐบาลประเทศนั้นๆ การลำดับความสำคัญของความต้องการใช้จ่ายที่สูงขึ้นและการลดความตึงเครียดของสกุลเงิน ทำให้เกิดความเสี่ยงให้รัฐบาลมีหนี้เพิ่มขึ้น เป็นต้น
ภาพกราฟแสดงการเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะในแอฟริกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่ลดลงต่ำเป็นประวัติการณ์ในช่วงทศวรรษหลังวิกฤตการเงินโลกในปี 2551 มีส่วนอย่างมากในการเพิ่มหนี้โดยเอื้อให้ง่ายต่อการกู้ยืมเงินจำนวนมากพร้อมอัตราดอกเบี้ยที่ถูก แนวโน้มหนี้ของประเทศต่างๆ แย่ลงอย่างรวดเร็วนับแต่นั้นเป็นต้นมา ผนวกกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การแพร่ระบาดของโควิด-19 อันนำมาซึ่งวิกฤตค่าครองชีพ การต่อสู้ระหว่างรัสเซียและยูเครนซึ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ความเจ็บปวดจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นนั้น รุนแรงมากสำหรับรัฐบาลของหลายประเทศในแอฟริกา โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะคิดเป็นเกือบร้อยละ 60 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของภูมิภาคในปี พ.ศ. 2565 ประเทศในแอฟริกา 19 ประเทศ ไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันทางการเงินได้ หรือบางประเทศก็มีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหานี้ ประเทศเคนยาก็ต้องเผชิญกับปัญหาการเงินเช่นกัน หลังจากที่หนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) การจ่ายดอกเบี้ยหนี้ของเคนยาเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 หลังจาก
ปี 2563 ส่งผลให้ทุนสำรองลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 20 ทำให้เกิดความกดดันต่อสกุลเงินเคนยาชิลลิ่งที่สูญเสียส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนต่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมากกว่าร้อยละ 19 ในปีที่ผ่านมา ปัญหาค่าเงินท้องถิ่นที่อ่อนค่าลง ยังทำให้การชำระหนี้ต่างประเทศมีต้นทุนสูงขึ้น ผลที่ตามมาคือหนี้ที่ไม่สามารถจัดการได้ตามที่ควรจะเป็น อีกทั้งการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่ลดลงยังเพิ่มความเสี่ยงด้านหนี้สินอีกด้วย
สิ่งที่รัฐบาลสามารถทำได้เพื่อบรรเทาปัญหาขาดดุลอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินท้องถิ่นกับสกุลเงินต่างประเทศ อันดับแรก คือจัดลำดับความสำคัญของมาตรการใช้จ่ายหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้จ่ายที่สำคัญด้านการศึกษา สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนที่ส่งเสริมการเติบโต เมื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นแนวโน้มที่จะสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลเพิ่มขึ้นเพื่อนำมาชำระหนี้ด้วย นอกจากนี้ การปฏิรูปด้านธรรมาภิบาล ลดปัญหาคอรัปชั่นในทุกภาคส่วน ซึ่งภูมิภาคนี้ยังมีความล่าช้ากว่าประเทศในภูมิภาคอื่นๆ อีกทั้งมาตรการ การควบคุมคุณภาพ การกำกับดูแลหลักนิติธรรม การต่อต้านการทุจริตและความรับผิดชอบของรัฐบาล
ประการที่สอง ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องแก้ปัญหาการจัดเก็บรายได้ของตน แม้ว่าการเติบโตจะนำไปสู่เศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น สร้างรายได้เพิ่มขึ้น แต่การจัดเก็บรายได้ในประเทศในระดับต่ำจะจำกัดความสามารถของรัฐบาลในการชำระหนี้และการเติบโตที่สำคัญ
ประการสุดท้าย คือ รัฐบาลจำเป็นต้องปรับโครงสร้างพอร์ตการลงทุนของตนใหม่ เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงวิกฤตหนี้ได้ การปรับโครงสร้างหนี้ ก็อาจสามารถลดจำนวนเงินที่ค้างชำระต่อเจ้าหนี้ได้โดยการปรับจำนวนหนี้ค้างชำระและระยะเวลาในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย
ประเทศอื่นๆ ที่มีภาระหนี้สูงควรต้องพยายามปฏิบัติตามแนวทางที่กล่าวมาเพื่อให้การชำระหนี้ดำเนินไปได้ และส่งผลดีต่อประเทศ ในขณะเดียวกันความกังวลด้านความคืบหน้าที่ล่าช้ากรอบเวลการทำงานร่วมกันกับภาคต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้การดำเนินงานต้องสะดุด
ความเห็นของ สคต.
ปัญหาเรื่องหนี้ของประเทศในแอฟริกาต่างเป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการของภาครัฐในอันที่จะทำให้ ประเทศมีความน่าสนใจในด้านการลงทุน และยังกระทบต่อความสามารถในการนำเข้าสินค้า หรือ ลงทุนต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ สำหรับในเคนยา รัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหา เช่น การเพิ่มภาษีนำเข้าในสินค้า
หลายรายการจากร้อยละ 25 เป็ย 35 เพิ่มค่าธรรมเนียมในการทำการค้า เช่น ค่าธรรมเนียมในการใช้ถนนเพื่อการขนส่งสินค้า เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ต้นทุนการทำธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการความสามารถในการนำเข้าสินค้าของประเทศเหล่านี้ หรือ เคนยาลดลง อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น เมื่อสถานะของประเทศไม่ดี ก็ส่งผลต่อค่าเงินท้องถิ่นของประเทศเคนยา หรือ ประเทศในแอฟริกาอ่อนค่าลงอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น เงินเฟ้อสูงขึ้น กำลังชื้อของประชาชนลดลง ล้วนแต่ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ของหลายประเทศมีแนวโน้มลดลง
สคต. มีความเห็นว่า ผู้ประกอบการไทยที่สนใจทำการค้ากับแอฟริกา ควรต้องติดตามสถานการณ์ในเรื่องนี้ ด้วยความเข้าใจ เพราะตลาดมีความเสี่ยงด้านการเงินมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการที่เราเข้มงวดมากเกินไป ก็อาจทำให้ไม่สามารถทำการค้ากับประเทศเหล่านี้ได้ จึงควรปรับธุรกิจหรือหาทางออกการนำเข้าสินค้าแบบเข้าใจตลาดและผู้นำเข้ามากยิ่งขึ้น เช่น หากเป็นผู้นำเข้าที่มีประวัติการชำระเงินดี การปรับให้ส่วนนึงในการชือขายเป็นการให้เครติดบางส่วนนั้น ก็จะช่วยให้ผู้นำเข้ายังสามารถนำเข้าสินค้าได้ปกติ หรือ การทำการส่งออกแบบรวมตู้หลายสินค้า (Consolidated Container) ก็อาจเป็นคำตอบในสถานการณ์การค้าที่เหมาะสมมากขึ้นได้
ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke
ที่มา : The EastAfrican