อุปสงค์การลงทุนสินทรัพย์ของภาคเอกชน (ไม่รวมคำสั่งซื้อจากอุตสาหกรรมเรือและอุตสาหกรรมไฟฟ้า) ในปี 2566 ลดลง ร้อยละ 3.6 จากปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่าที่ 10.355 ล้านล้านเยน นับเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบสามปี ซึ่งเป็นผลมาจากแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมการผลิต ทั้งยังมีปัจจัยด้านความกังวล เช่น      การปลอมผลทดสอบด้านความปลอดภัยของ Daihatsu Motor Corporation ด้วย

 

ตามรายงานของสำนักคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ การลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นลดลง ร้อยละ 7.3 โดยมีมูลค่า 4,969.4 พันล้านเยน เนื่องจากการหดตัวของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ คำสั่งซื้ออุปกรณ์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์และเครื่องจักรไฟฟ้าจึงลดลง ร้อยละ 27.7 ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อเศรษฐกิจโดยรวม เช่นเดียวกับ คำสั่งซื้อโลหะที่ไม่ใช่เหล็กที่ก่อนหน้านี้ในปี 2565 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 ได้ลดลง ร้อยละ 32.2

 

ภาคอุตสาหกรรมที่มีการหดตัว คือ ภาคอุตสาหกรรมการขนส่งและไปรษณีย์ โดยลดลง ร้อยละ 1.6เช่นเดียวกับ ภาคการค้าส่งและค้าปลีก โดยลดลง ร้อยละ 9.6 ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การผลิต มีอัตราการขยายตัวคงที่มูลค่า 5,407.5 พันล้านเยน เช่น อุตสาหกรรมการเงินและการประกันภัยขยายตัว ร้อยละ 11.2

 

สำหรับแนวโน้มในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2567 (หลังปรับฤดูกาลแล้ว)  คาดการณ์ว่าการลงทุนสินทรัพย์ของภาคเอกชน จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของคำสั่งซื้อมอเตอร์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบสี่ไตรมาส

 

หมายเหตุ : การรายงานสถานการณ์เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ อิงมูลค่า ณ เดือนธันวาคม 2566 ซึ่งยังไม่ได้สะท้อนถึงผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่คาบสมุทรโนโตะ และการระงับการขนส่ง เนื่องจากการปลอมผลทดสอบด้านความปลอดภัยของ Daihatsu Motor Corporation

 

ที่มาข่าว : เข้าถึง วันที่  20 กุมภาพันธ์ 2567

https://www.nikkei.com/article/DGXZQOUA192410Z10C24A2000000/

 

thThai