ภาพรวมการค้าของมาเลเซียในเดือนมกราคม 2567 เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยดีดตัวเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 13.3 จาก 207,200 ล้านริงกิตในปีก่อนหน้า เป็น 234,700 ล้านริงกิต หลังจากภาพรวมการค้าลดลงเป็นเวลาสิบเดือนติดต่อกัน โดยในเดือนนี้การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 มีมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 112,300 ล้านริงกิต และการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 122,400 ล้านริงกิต ในขณะที่ ดุลการค้ายังคงเกินดุลอยู่ที่ 10,100 ล้านริงกิต ลดลงร้อยละ 44.2 จาก 18,100 ล้านริงกิต ในเดือนมกราคม 2566
เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 การส่งออก การนำเข้า และการค้ารวมมีการเติบโตเชิงบวกที่ร้อยละ 3.4, 5.3 และ 4.3 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน การเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 13.8
รูปที่ 1 : แผนภูมิประสิทธิภาพการค้า: รายเดือน รายไตรมาส และรายปี
การส่งออกของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2566 ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตทั้งการส่งออกภายในประเทศและการส่งออกซ้ำ (Re – Export) โดยการส่งออกภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 77.4 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จาก 86,000 ล้านริงกิตเป็น 94,700 ล้านริงกิต อีกทั้ง การส่งออกซ้ำ (Re – Export) คิดเป็นร้อยละ 22.6 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 4.1 จาก 26,600 ล้านริงกิต เป็น 27,700 ล้านริงกิ
รูปที่ 2 : การนำเข้า มูลค่า (พันล้านริงกิต) และการเปลี่ยนแปลงประจำปี (%)
รูปที่ 3 : มูลค่าการส่งออกตามจริงและมูลค่าการส่งออกตามไตรมาส (พันล้านริงกิต)
การนำเข้าของมาเลเซียในเดือนมกราคม 2567 ยังคงเติบโตขึ้นร้อยละ 18.8 โดยมีมูลค่า 112,300 ล้านริงกิต เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2566 หากเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 ตัวเลขการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 คิดเป็นมูลค่า 5,700 ล้านริงกิต หากเปรียบเทียบแบบรายเดือนตัวเลขการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 คิดเป็นมูลค่า 115,000 ล้านริงกิต โดยการนำเข้าสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 คิดเป็นมูลค่า 10,300 ล้านริงกิต ตามมาด้วยสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.8 คิดเป็นมูลค่า 4,000 ล้านริงกิต และสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 คิดเป็นมูลค่า 2,100 ล้านริงกิต
รูปที่ 4 : การนำเข้า มูลค่า (พันล้านริงกิต) และการเปลี่ยนแปลงประจำปี (%)
รูปที่ 5 : มูลค่าการนำเข้าจริงและมูลค่าการนำเข้าตามไตรมาส (พันล้านริงกิต)
บทวิเคราะห์
ภาพรวมการค้ารวมของมาเลเซียในเดือนมกราคม 2567 กลับมาอยู่ในเชิงบวกจากตัวเลขการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E) ที่เพิ่มสูงขึ้นไปยังประเทศสหรัฐฯ และประเทศกลุ่มอาเซียนที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10
อย่างไรก็ตาม มาเลเซียยังคงได้รับผลกระทบโดยตรงจากการค้าโลกยังคงขยายตัวในอัตราที่ช้าลง โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อที่สูง ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ยูเครน และความขัดแย้งในตะวันออกกลางยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์