กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว หารือผลการวิจัย 3 ประเด็น

สถาบันอุตสาหกรรมและการค้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ร่วมกับสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) ได้จัดการประชุมหารือผลการวิจัย 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานท่าบกท่านาแล้ง 2) การพัฒนาพื้นที่และนิคมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของลาวให้มีความยั่งยืน และ 3) การส่งเสริมการผลิดมันสำประหลังให้มีความยั่งยืน

 

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 ที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า โดยการเป็นประธานร่วมของนายมะไลทอง กมมะสิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า นายสอนไช สิดพะไช รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และศาสตราจารย์ เทสึยะ วาตานาเบ (Prof. Tetsuya Watanabe) หัวหน้าสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยจากสถาบันต่างๆ และภาคเอกชนเข้าร่วม

 

รัฐมนตรีมะไลทอง ฯ ยังกล่าวขอบคุณสถาบัน ERIA ที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคในการศึกษาใน 3 ประเด็นดังกล่าว ที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน ผลการวิจัยจะกลายเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง ใช้ในการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ และสิ่งสำคัญเพื่อให้บรรลุการพัฒนาแบบยั่งยืน ความร่วมมือระหว่าง MOIC และ ERIA ยังหมายถึงการขยายความรู้และความเชี่ยวชาญในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะเดียวกันก็รักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน

 

สปป.ลาว เป็นประเทศที่ไม่มีชายแดนติดทะเล ซึ่งเป็นสิ่งท้าทาย และในเวลาเดียวกันก็เป็นโอกาสที่มีความได้เปรียบในด้านที่ตั้งสามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค การพัฒนาท่าบกคือพื้นฐานสำคัญของวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศเชื่อมโยงทางบก ส่งเสริมด้านการค้า และสนับสนุนการดำเนินงานในเขตพื้นที่และนิคมอุตสาหกรรมของประเทศ

 

ทั้งนี้ มันสำประหลังยังเป็นพืชเกษตรที่เป็นพืชศักยภาพของ สปป.ลาว ในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภูมิภาค และยังเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญในการผลิดพลังงานทดแทน การวิจัยหัวข้อนี้ได้เชื่อมโยงองค์ประกอบเหล่านี้เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ยังเห็นได้ถึงความสำคัญของการส่งเสริมการปลูกมันสำประหลัง ด้วยการใช้วิธีการผสมผสารและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

ส่วนสุดท้ายของการนำเสนอผลการวิจัย ของผู้เชี่ยวชาญ ERIA ใน 3 ประเด็น การขยายท่าบก การพัฒนาพื้นที่และนิคมอุตสาหกรรม และการปลูกมันสำประหลังให้มีความยั่งยืน ชี้ให้เห็นมาตรการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ภาครัฐได้นำไปใช้ในการทำงานจริง เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ชนบท ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สนับสนุนการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรม และการรักษาสิ่งแวดล้อม

 

ในช่วงท้ายของการประชุมประธานยังเน้นย้ำอีกว่า ผลการวิจัยจะถูกนำไปปฏิบัติในเชิงนโยบายของรัฐบาล เพื่อก้าวสู่ความสามารถในการดำเนินงานจริงและมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

***********************************

ที่มา หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจการค้า Lao Economic Daily

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว

thThai