เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 ทางสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส ได้มีโอกาสเข้าพบนางสาว Nora Elizabeth Capello ผู้อำนวยการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทวิภาคีแห่งชาติ ภายใต้กระทรวงการต่างประเทศแห่งอาร์เจนตินา สำนักงานส่งเสริม การค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส ได้มีการชี้แจงวัตถุ ประสงค์ของการเข้าพบ ซึ่งพูดถึงการส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ สินค้าจากไทยไปยังอาร์เจนตินารวมถึง ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอาร์เจนตินากับไทยในปัจจุบัน โดยผลิตภัณฑ์ สินค้าหลักที่อาร์เจนตินานำเข้าจากไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ยาง และอาหาร
เนื่องจากสถานการณ์การขาดดุลการค้าในปัจจุบันของอาร์เจนตินาที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับไทย ทางสำนักงาน ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส จึงยินดีที่จะช่วยส่งเสริมไม่เพียงแต่การส่งออกของไทย ไปยังอาร์เจนตินาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งออกของอาร์เจนตินาไปยังประเทศไทยอีกด้วย เนื่องจากอาร์เจนตินา ถือเป็น 1 ในประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มากมายที่สามารถเข้าสู่ตลาดไทยได้ เช่น เนื้อวัว ถั่วเหลือง ไวน์ ผลิตภัณฑ์นม และอาหารทะเล อุตสาหกรรมอาหารของไทยมีการแข่งขันสูงและมีความต้องการ สินค้าเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งโอกาสที่ดีคือการที่อาร์เจนตินาเข้าร่วมงาน THAIFEX ANUGA Fair 2567 โดยมี บูธพิเศษที่กระทรวงพาณิชย์ของไทยประสานงานกับตัวแทนผู้นำเข้า/บริษัทอาร์เจนตินาในประเทศไทยได้
นางสาว Nora Elizabeth Capello ผู้อำนวยการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทวิภาคีแห่งชาติอาร์เจนตินากล่าวว่า จะอนุมัติงบประมาณการส่งเสริมการขายในปี 2567 ให้กับตัวแทนผู้นำเข้า/บริษัทอาร์เจนตินา รวมถึงการเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าของไทยที่อาร์เจนตินาจะเข้าร่วมด้วย แต่ทีมคณะของเธอจะวิเคราะห์งานแสดงสินค้า THAIFEX เพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในปี 2568 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรสยังกล่าวถึง ความสำคัญของกิจกรรมเจรจาการค้าในรูปแบบออนไลน์ (Online Business Matching) เนื่องจากผู้นำเข้าใน ท้องถิ่นอาร์เจนตินา และบริษัทต่างๆ ต่างสนใจในทุกกิจกรรมที่กรมฯ จัดขึ้น นางสาว Nora Elizabeth Capello กล่าวว่าเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ส่งออกอาร์เจนตินาที่จะเข้าร่วมกิจกรรมที่คล้ายกัน โดยผู้นำเข้า ไทยอาจสนใจสินค้าหลายชนิดที่อาร์เจนตินาผลิต ด้วยเหตุนี้จึงจะเกิดความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเจรจา การค้าในรูปแบบออนไลน์ (Online Business Matching) ด้วยความร่วมมือของกระทรวงการต่างประเทศ อาร์เจนตินา
ผลิตภัณฑ์จำเพาะที่อาร์เจนตินาส่งออกไปยังไทย มีการอภิปรายดังต่อไปนี้
ผลิตภัณฑ์จากนม: เช่น ชีส นม จำเป็นต้องมีการรับรองร่วมกันระหว่างไทยและอาร์เจนตินา
ผลไม้จำพวกส้ม: เช่น ส้ม มะนาว ส้มแมนดาริน ยังคงรอการรับรองจากประเทศไทยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2565
เนื้อวัว: โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์บางแห่งได้รับอนุญาตให้ส่งออกมายังประเทศไทยแล้ว แต่ยังมีบริษัทอื่นบาง บริษัทที่ต้องการส่งออกมายังประเทศไทยแต่ยังไม่ได้รับอนุญาต
อาหารทะเล: มีความเป็นไปได้อย่างมากที่อาร์เจนตินาจะเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศไทยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อาหารทะเล และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส จะทำการติดต่อกับสมาคม อาหารทะเลในประเทศไทย
ถั่วเหลือง: จะมีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองในงานแสดงสินค้า THAIFEX 2568 ในประเทศไทย
ไวน์: มีความเป็นไปได้ที่อาร์เจนตินาจะเพิ่มการส่งออกไวน์ไปยังประเทศไทย และประเทศไทยจะลดภาษี นำเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์ไวน์เหลือร้อยละ 0
บทวิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทย
อาร์เจนตินานำเข้าสินค้าเป็นมูลค่ารวมกว่า 8,706 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2567 (มกราคม-กุมภาพันธ์) จาก ประเทศ ผู้ส่งออกหลัก 5 ราย ได้แก่ (1) บราซิล ร้อยละ 21.9 (2) จีน ร้อยละ 20 (3) สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 10.7 (4) ปารากวัย ร้อยละ 5.2 และ (5) เยอรมนี ร้อยละ 4.9 ประเทศไทยมีความเกี่ยวข้องกับบรรดาผู้ส่งออกของ อาร์เจนตินา โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 7 ในรายชื่อประเทศ และครองอันดับที่ 2 ในกลุ่มประเทศจากเอเชีย รองจากจีน อาร์เจนตินานำเข้าสินค้าจากประเทศไทยคิดเป็น ร้อยละ 2.6 โดยมีมูลค่ากว่า 228 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2567
สินค้าหลัก 5 รายการที่อาร์เจนตินานำเข้าจากไทยในปี 2567 ได้แก่ (1) ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ ร้อยละ 37.6 (2) เครื่องยนต์ดีเซลและชิ้นส่วน ร้อยละ 21.2 (3) เครื่องจักรและ ชิ้นส่วน ร้อยละ 11.2 (4) ยางและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยาง ร้อยละ 5.6 และ (5) เหล็กและเหล็กกล้า ร้อยละ 5.4
สินค้าหลัก 5 รายการที่อาร์เจนตินาส่งออกมายังประเทศไทยในปี 2566 ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์จากผัก ร้อยละ 36.5 (2) ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ ร้อยละ 25.5 (3) ยารักษาโรค ร้อยละ 17.8 (4) อาหารทะเลแช่แข็ง ร้อยละ 9.9 และ (5) เคมีภัณฑ์ ร้อยละ 2.9
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอาร์เจนตินาและไทยมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากไทยเป็นผู้ส่งออก หลักรายที่ 7 ของอาร์เจนตินาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 เมื่อพิจารณาถึงปี 2566 ไทยส่งออกสินค้าไปยัง อาร์เจนตินามีมูลค่ารวมกว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเกินดุลการค้ากับไทยประมาณ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ ยาง เครื่องจักร และอื่นๆ ในทางกลับกัน อาร์เจนตินาส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สินค้าไปยังประเทศไทยได้แก่ อาหารทะเล และเครื่องในวัว แต่ยอด การส่งออกไปยังประเทศไทยอาจไม่สูงนักเมื่อเปรียบเทียบกับยอดขายที่อาร์เจนตินาส่งออกไปยังประเทศใน กลุ่มอาเซียนอื่นๆ เช่น เวียดนาม หรืออินโดนีเซีย ประเทศไทยนอกจากจะได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้า ไปยังอาร์เจนตินา ความสัมพันธ์ทางการค้าก็มีอัตราการเติบโตและพัฒนาอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมไทย จำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมอาหารทะเล ได้รับวัตถุดิบในปริมาณที่มากขึ้น และมีคุณภาพดีเยี่ยมจากอาร์เจนตินา
โดยฝ่ายบริหารของนาย Javier Milei ประธานาธิบดีแห่งอาร์เจนตินาเชื่อมั่นว่า การเปิดเสรีการค้าจะช่วยควบคุม ภาวะเงินเฟ้อและจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการขจัดอุปสรรคในการนำเข้าและเปิดเสรีการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมใบอนุญาตและกระบวนการบางอย่างเกี่ยวกับการนำเข้าได้ถูกปรับเปลี่ยนให้มีความยืดยุ่นมากขึ้น นักธุรกิจไทยควรคว้าประโยชน์จากความยืดหยุ่นของกระบวนการนำเข้าและการเปิดเสรีทางการค้า ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอาร์เจนตินาแต่สิ่งสำคัญคือบริษัทไทยต้องรักษาคุณภาพสินค้าและมาตรฐานเพื่อ การส่งออกอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามบริษัทไทยมีศักยภาพเพียงพอในการเข้าร่วมกิจกรรมเจรจาการค้าใน รูปแบบออนไลน์ (Online Business Matching) ที่จะดำเนินการในอนาคตร่วมกับผู้นำเข้า/ผู้ผลิตของอาร์เจนตินา
ที่มา: Meeting with National Director of Bilateral Economic Relations, Ministry of Foreign Affairs of Argentina – March 25th 2024
————————————————————————————————————————————
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส สาธารณรัฐอาร์เจนตินา