- การจำหน่าย
ยอดจำหน่ายสินค้าเวชภัณฑ์ยา (ยาที่มีใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อได้โดยทั่วไป และยาที่มีการสั่งซื้อทางออนไลน์) ในเยอรมนีปี 2021 อยู่ที่ 66.04 พันล้านยูโร จำแนกเป็นยาที่หาซื้อได้ทั่วไป (ซื้อได้ด้วยตัวเอง) 6.9 พันล้านยูโร และยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ 59.19 พันล้านยูโร (รูปที่ 1)
รูปที่ 1 แสดงตลาดเวชภัณฑ์ในเยอรมนี รูปที่ 2 แสดงแนวโน้มตลาดเวชภัณฑ์ยาในเยอรมนี
แม้ว่ายอดขายในตลาดเวชภัณฑ์ยาโดยรวมจะมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (รูปที่ 2) แต่ยอดขายของยาสมุนไพรท้องถิ่นและธรรมชาติเพื่อใช้ในการบำบัดกลับลดลงในกลุ่มผู้บริโภคชาวเยอรมัน (รูปที่ 3) โดยสามารถดูได้จากยอดจำหน่ายสินค้าดังกล่าวของปี 2021 ซึ่งยอดจำหน่าย มีการปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 0.7 เมื่อเที่ยบกับปี 2020
|
ในส่วนตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าเพื่อสุขภาพครอบคลุมสินค้าจำพวก (1) ผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ ทางการแพทย์ (2) อาหารเสริมต่างๆ และ (3) ผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนักเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะที่มีการจำหน่ายในร้านขายยาออนไลน์ (Online Drug Store) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.3% อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายผ่านร้านขายยา ทั้งร้านทั่วไปและ Online ยังครองส่วนแบ่งการตลาดที่สูง ซึ่งช่องทางการจำหน่ายและกระจายในลักษณะนี้ขยายตัวขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นช่องทางที่ ดีที่จะนำสินค้าสมุนไพรไทยมากระจายผ่านช่องทางเหล่านี้ โดยเฉพาะร้านยาทั่วไปและร้าน Online ที่มีการ เจริญเติบโต เร็วเป็นพิเศษ
|
- ข้อมูลการนำเข้า
เยอรมนีเป็นผู้นำเข้าเครื่องเทศและสมุนไพรเพื่อใช้ในการแปรรูปอาหาร โดยเน้นสรรพคุณด้านเสริมสุขภาพ ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา สินค้าสมุนไพรร้อยละ 90 – 95 เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยนำเข้าปีละกว่า 5 หมื่นตัน มูลค่านำเข้า 1 ใน 4 ของมูลค่าการนำเข้าเครื่องเทศและสมุนไพรในยุโรป คนเยอรมนีมีอัตราการบริโภคเครื่องเทศสูงสุดในสหภาพยุโรป คือ 850 กรัม/คน/ปี อีกทั้งยังเป็นทั้งผู้นำเข้า/ส่งออก (Trader) และผู้แปรรูปเครื่องเทศและสมุนไพร
เยอรมนีนิยมนำเข้าสมุนไพรท้องถิ่นและเครื่องเทศจากประเทศในสหภาพยุโรปด้วยกันเอง อาทิ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศในยุโรปตะวันออก เป็นต้น ส่วนแหล่งนำเข้านอกสหภาพยุโรปที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย เป็นต้น
สำหรับสมุนไพรและเครื่องเทศที่เยอรมนีนำเข้าส่วนใหญ่ที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร และเสริมสุขภาพ ได้แก่ พริกไทย ยี่หร่า ลูกจันทน์ อบเชย และขิง โดยมูลค่านำเข้าพริกไทยของเยอรมนีมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 30 ของมูลค่านำเข้าพริกไทย โดยรวมของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ สถิติการนำเข้าสมุนไพรต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ ปรากฏตามข้อมูลในรูปที่ ….
รูปที่ 5 เยอรมนีนำเข้าขมิ้น พิกัดศุลกากร (HS Code) 091030
Reporters Export Statistics (Partners: Germany) |
|||
Products: 091030 (Tumeric (Curcuma)) |
|||
Value: Annual through 2023 |
|||
Reporter |
United States Dollars |
||
2021 |
2022 |
2023 |
|
Reporting Total |
22.807.644 |
18.106.738 |
7.281 |
India |
9.785.615 |
7.685.683 |
|
Netherlands |
6.298.649 |
5.073.544 |
|
Austria (Customs) |
1.268.464 |
865.125 |
|
Austria |
1.268.464 |
865.125 |
|
Belgium |
594.136 |
630.581 |
|
Spain |
552.663 |
337.848 |
|
Spain (Customs) |
550.107 |
337.287 |
|
Japan |
384.062 |
506.620 |
|
Poland |
288.420 |
224.549 |
|
Poland (Customs) |
288.153 |
198.652 |
|
Peru |
265.448 |
46.169 |
|
Czech Republic |
156.347 |
83.313 |
|
Switzerland |
115.615 |
61.172 |
|
Ireland (Customs) |
98.716 |
222.141 |
|
Ireland |
98.716 |
222.141 |
|
Sri Lanka |
88.821 |
17.604 |
1.654 |
รูปที่ 6 เยอรมนีนำเข้าขิง พิกัดศุลกากร (HS Code) 091012
Reporters Export Statistics (Partners: Germany) |
|||
Products: 091012 (Ginger, Crushed Or Ground) |
|||
Value: Annual through 2023 |
|||
Reporter |
United States Dollars |
||
2021 |
2022 |
2023 |
|
Reporting Total |
11.542.518 |
12.102.268 |
1.235.421 |
Netherlands |
4.001.175 |
2.655.465 |
|
Nigeria |
449.505 |
2.074.813 |
|
China with HK ReExports |
2.090.858 |
1.517.404 |
|
China |
2.090.858 |
1.517.404 |
1.094.495 |
India |
677.963 |
1.132.237 |
|
Vietnam (BOL) |
337.625 |
340.597 |
|
Belgium |
195.015 |
293.741 |
|
United Kingdom HMRC (Incl N Ireland) |
193.467 |
259.298 |
|
United Kingdom HMRC |
193.467 |
259.298 |
|
Austria (Customs) |
147.097 |
196.446 |
|
Austria |
148.415 |
196.446 |
|
Italy Istat |
100.767 |
195.532 |
|
Italy |
102.548 |
195.532 |
|
Peru |
147.914 |
193.791 |
|
Spain |
54.149 |
147.757 |
|
Spain (Customs) |
49.190 |
147.242 |
|
Costa Rica |
126.068 |
||
Poland |
132.926 |
107.606 |
|
Poland (Customs) |
132.773 |
107.595 |
รูปที่ 7 เยอรมนีนำเข้ายาสมุนไพรสำหรับรักษาหรือป้องกันโรค – พิกัดศุลกากร (HS Code) 300490
Reporters Export Statistics (Partners: Germany) |
|||
Products: 300490 (Medicaments, In Measured Doses, Etc. (Excluding Vaccines, Etc., Coated Bandages Etc. And Pharmaceutical Goods), Nesoi) |
|||
Value: Annual through 2023 |
|||
Reporter |
United States Dollars |
||
2021 |
2022 |
2023 |
|
Reporting Total |
43.782.591.062 |
44.207.366.012 |
130.309.144 |
Netherlands |
6.151.871.765 |
4.917.994.662 |
|
Ireland |
2.826.086.015 |
3.590.007.540 |
|
Ireland (Customs) |
2.825.334.586 |
3.589.375.244 |
|
United Kingdom HMRC (Incl N Ireland) |
1.464.880.362 |
3.200.178.604 |
|
United Kingdom HMRC |
1.464.880.362 |
3.200.178.604 |
|
Belgium |
3.341.670.817 |
3.036.101.689 |
|
Switzerland |
3.894.498.590 |
2.644.574.846 |
|
Italy Istat |
2.101.693.213 |
1.996.980.834 |
|
Italy |
2.112.519.386 |
1.996.980.834 |
|
United States (HS 8) |
1.610.347.683 |
1.413.455.333 |
|
United States (CIF) |
1.610.347.683 |
1.413.455.333 |
|
United States |
1.610.347.683 |
1.413.455.333 |
|
France (Customs) |
1.467.779.194 |
1.326.702.917 |
|
France |
1.462.315.481 |
1.320.392.406 |
|
Spain |
1.447.346.041 |
1.232.087.864 |
|
Spain (Customs) |
1.425.409.629 |
1.232.083.559 |
|
Sweden |
583.246.041 |
892.461.319 |
|
United States (Consumption/Domestic) |
733.521.653 |
771.383.360 |
|
Puerto Rico |
929.382.475 |
628.931.503 |
|
Czech Republic |
641.647.325 |
613.370.583 |
|
Austria (Customs) |
527.138.541 |
379.189.552 |
|
Austria |
527.138.591 |
379.189.552 |
|
Poland (Customs) |
405.474.051 |
366.386.371 |
|
Poland |
406.848.018 |
365.445.373 |
|
Hungary |
362.774.646 |
350.686.737 |
|
Greece |
287.185.258 |
315.869.614 |
|
India |
256.633.398 |
238.892.227 |
|
Slovenia |
187.514.460 |
200.615.405 |
|
Portugal |
146.811.439 |
178.445.482 |
|
Romania |
148.993.590 |
142.359.908 |
|
Bulgaria |
91.622.794 |
107.737.010 |
รูปที่ 8 เยอรมนีนำเข้าพันธ์ไม้ที่มีสรรพคุณทางยา วัตถุดิบสมุนไพร – พิกัดศุลกากร (HS Code) 121190
Reporters Export Statistics (Partners: Germany) |
|||
Products: 121190 (Plants And Parts Of Plants (Including Seeds And Fruits), Used Primarily In Perfumery, Pharmacy Or For Insecticides, Etc., Fresh Or Dried, Etc., Nesoi) |
|||
Value: Annual through 2023 |
|||
Reporter |
United States Dollars |
||
2021 |
2022 |
2023 |
|
Reporting Total |
693.831.530 |
711.916.648 |
26.727.777 |
India |
53.735.755 |
61.060.036 |
|
Poland |
44.696.517 |
47.036.318 |
|
Netherlands |
23.665.265 |
42.951.263 |
|
Poland (Customs) |
40.856.028 |
42.732.210 |
|
Egypt (UN) |
32.956.158 |
32.425.078 |
|
Egypt |
33.977.360 |
31.728.374 |
|
United States (HS 8) |
27.225.546 |
24.440.636 |
|
United States (CIF) |
27.225.546 |
24.440.636 |
|
United States |
27.225.546 |
24.440.636 |
|
United States (Consumption/Domestic) |
27.160.715 |
24.286.321 |
|
Spain |
30.798.816 |
24.152.135 |
|
Spain (Customs) |
29.059.377 |
24.149.336 |
|
Canada |
20.299.257 |
22.208.368 |
|
Austria |
26.579.391 |
21.164.069 |
|
Austria (Customs) |
26.547.137 |
21.156.863 |
|
China with HK ReExports |
17.120.452 |
19.760.205 |
|
China |
17.105.266 |
19.758.118 |
18.655.629 |
Denmark |
11.509.571 |
16.157.896 |
|
Chile |
12.344.680 |
15.298.299 |
|
Croatia |
12.705.709 |
14.206.208 |
|
Bulgaria |
15.222.937 |
13.812.903 |
|
Albania |
11.230.117 |
11.515.764 |
|
France (Customs) |
12.420.632 |
10.498.534 |
|
France |
12.358.509 |
10.446.019 |
3. กฎระเบียบและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ขมิ้นชัน ขิง และ ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร
- ผู้ที่มีบทบาทในการค้าเครื่องเทศและสมุนไพรใน EU ได้แก่
-
- นายหน้า/ ตัวแทน ซึ่งเป็นบริษัทอิสระ คนกลางระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย แต่ไม่ซื้อหรือขายในนาม ของบริษัทตัวเอง
- ผู้นำเข้า ซึ่ง จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าด้วยตัวเอง จำหน่ายให้แก่ผู้แปรรูป
- ผู้แปรรูป จะนำสินค้ามาทำความสะอาด บด ผสม และบรรจุใหม่ต่อไป
- ผู้ใช้ ก็คือผู้ค้าปลีกสินค้า เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ร้านค้าต่างๆ หรือโรงแรมเป็นต้น
- อัตราภาษีนำเข้า
การนำเข้าสินค้าในเยอรมนีนั้นหลักๆ ต้องมีผู้นำเข้าที่มีตัวตนใน EU ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลโดยในขั้นแรกอัตราภาษีนำเข้าจะอยู่ที่19% และ 7% และจะตามมาด้วยภาษีแล้วแต่ตัวสินค้า สคต. เบอร์ลิน จึงเลือกบางตัวสินค้า พร้อมทั้ง อัตราภาษี มาแสดงให้เห็น ณ ที่นี้
พิกัดศุลกากร |
รายละเอียดสินค้า |
อัตราภาษีนำเข้า (%) |
อัตราภาษีประเทศที่ 3 (%) |
090411 |
เมล็ดพริกไทย |
0 |
0 |
090412 |
พริกไทยบดหรือป่น |
7 |
4 |
0906 |
อบเชย |
0 |
0 |
0907 |
กานพลู |
0 |
8 |
090831, 090832 |
กระวาน |
7 |
0 |
0909 |
โป๊ยกั๊ก, ยี่หร่า, ผักชี, ยี่หร่า และยี่หร่า;จูนิเปอร์เบอร์รี่ |
7 |
0 |
091030 |
ขมิ้น |
0 |
0 |
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า และเอกสารประกอบการนำเข้า
สมุนไพรไทยน่าจะอยู่ใน 3 หมวดสินค้า ได้แก่ (1) หมวดสินค้าเกษตร (2) หมวดสินค้าเคมี และ (3) หมวดสินค้าเวชภัณฑ์ยา ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้ในการนำเข้าก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภทของสินค้า โดยมีรายละเอียดในเว็บไซต์ของกรมศุลกากรเยอรมัน เรื่องการเคลื่อนย้ายสินค้า และบริการจากประเทศที่ 3 นอกอาณาเขตสหภาพยุโรป[1]
นอกจากนี้ เยอรมนีได้กำหนดระเบียบการนำเข้าสมุนไพรและเครื่องเทศที่สำคัญภายใต้กฎหมาย Food and Drugs Act ของสหภาพยุโรป และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับฉลากสินค้า ซึ่งควรมีการแจ้งชื่อสินค้าเป็นภาษาละติน และอธิบายสรรพคุณอย่างละเอียดแนบไปกับสินค้า และหากสินค้าผ่านการฉายรังสี ต้องติด เครื่องหมายแสดงการฉายรังสีด้วยสมุนไพร และเครื่องเทศที่ส่งไป เยอรมนีต้องได้รับใบรับรอง ปลอดศัตรูพืชจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยก่อน
- ช่องทางการตลาด และแนวโน้มตลาด
กว่า 90-95% ของสมุนไพรที่ใช้ในเยอรมนีได้มาจากการนำเข้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแปรรูปอาหารและเน้นสรรพคุณด้านเสริมสุขภาพ เยอรมนีถือเป็นตลาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา โดยในแต่ละปี มีการนำเข้ากว่า 50,000 ตัน และคนเยอรมนีมีอัตราการบริโภคเครื่องเทศสูงสุดในสหภาพยุโรป คือ 850 กรัม/คน/ปี อีกทั้งยังเป็นทั้งผู้นำเข้า/ส่งออก (Trader) และผู้แปรรูปเครื่องเทศและสมุนไพร
สำหรับแหล่งนำเข้าสมุนไพรและเครื่องเทศส่วนใหญ่มาจากประเทศสมาชิก EU ด้วยกันเอง อาทิ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศแถบ ทางยุโรปตะวันออก เป็นต้น ในขณะที่แหล่งนำเข้านอก EU ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย
สมุนไพรและเครื่องเทศที่เยอรมนีนำเข้าส่วนใหญ่ครอบคลุมพริกไทย ยี่หร่า ลูกจันทน์ อบเชย และขิง ทั้งนี้ มูลค่านำเข้าพริกไทยของ เยอรมนีมีสัดส่วนสูงถึง 30% ของมูลค่านำเข้าพริกไทย โดยรวมของ สหภาพยุโรป
ข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าไพลและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไพลในเยอรมนี และสรุปผลการหารือกับ
ประธานสมาคมไทยสปาแห่งประเทศเยอรมนี (นางสุปราณี บัลเทอร์) |
- ข้อมูลทั่วไป สมาคมฯ จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายของเยอรมนีมา 15 ปี มีภารกิจสำคัญในการผลักดัน Soft Power ด้านการนวดแผนไทย ครอบคลุมตั้งแต่ (1) สอน/ฝึกอบรมให้ความรู้แก่หมอนวดแผนไทย และ (2) นำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพร/สปาไทยมายังตลาดเยอรมนี เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สปาไทย/สมุนไพรไทยให้สามารถวางขายและกระจายในตลาดยุโรปได้มากขึ้น ปัจจุบันสมาคมฯ ประสบปัญหาไม่สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพร/ผลิตภัณฑ์สปา (น้ำมัน ครีมนวด ครีมพอก และลูกประคบ) ที่มีไพลเป็นส่วนผสมได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายได้
- ภาพรวมตลาด เยอรมนีผู้นำเข้าสินค้าเครื่องเทศและสมุนไพรสำหรับใช้ในการแปรรูปอาหาร (เน้นสรรพคุณด้านเสริมสุขภาพ) ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ โดยสมุนไพรที่มีอยู่ในตลาดร้อยละ 90 – 95 เป็นสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ เฉลี่ยปีปีละกว่า 5 หมื่นตัน คนเยอรมนีมีอัตราการบริโภคเครื่องเทศสูงสุดในตลาดสหภาพยุโรปที่ 850 กรัม/คน/ปี อีกทั้งยังเป็นทั้งผู้นำเข้า/ส่งออก (Trader) และผู้แปรรูปเครื่องเทศและสมุนไพรด้วย แหล่งนำเข้า เยอรมนีนำเข้าสมุนไพรหรือเครื่องเทศท้องถิ่นจากประเทศสมาชิก EU ด้วยกันเอง อาทิ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศในยุโรปตะวันออก เป็นต้น ในขณะที่แหล่งนำเข้านอก EU ที่สำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐฯ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย เป็นต้น ชนิดของสมุนไพรที่นำเข้า ส่วนใหญ่มักเป็นสมุนไพรที่ใช้ในการแปรรูปอาหารและเสริมสุขภาพ อาทิ พริกไทย ยี่หร่า ลูกจันทน์ อบเชย และขิง
ปัจจุบันชาวเยอรมันนิยมใช้หรือบริโภคสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมากขึ้นต่อเนื่อง โดยไม่จำกัดเฉพาะสินค้าในกลุ่มอาหาร แต่รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ของใช้ในบ้าน และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ/ความงาม จึงทำให้สินค้ากลุ่มนี้แพร่หลายและหาง่ายตามท้องตลาดทั่วไป เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (ร้าน Bio)
- ประเภทของสินค้าสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่จำหน่ายในเยอรมนี
- สินค้ายาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Phytopharmaceuticals and Nutraceuticals)
- สินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สปา รวมทั้งเครื่องสำอาง เครื่องประทินผิวหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย (Cosmeceuticals and Personal care Products)
- สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ( Natural Food and beverage )
- สินค้าอื่นๆ เช่น อาหารสัตว์ (Pet Food) น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาซักล้าง/ทำความสะอาดเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น
- “ไพล” มีชื่อ วิทยาศาสตร์ คือ Zingiber cassumunar roxb โดยมีฤทธิ์ลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดเฮกเซนของไพล มีฤทธิ์ต้านฮิสตา-มีน สารสกัดจากไพลด้วยไดคลอโรมีเทนแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ในขณะที่ “ขิง” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Zingiber officinale roscoe โดยมีฤทธิ์ในการขับลม ขับน้ำดี ช่วยย่อย เป็นต้น ประเด็นสำคัญ แม้ไพลและขิงจะมีชื่อวิทยาศาสตร์, องค์ประกอบทางเคมี และสรรพคุณทางยาที่แตกต่างกัน แต่การนำเข้าไพลในตลาดเยอรมนีกลับนำเข้าภายใต้พิกัดศุลกากรเดียวกัน คือ HS 09101200 ดังนั้น กฎ/ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้ามายังตลาดเยอรมนีจึงเป็นไปในลักษณะเดียวกัน
- สมาคมฯ ประสงค์จะนำเข้าไพลที่เป็นส่วนผสมในสินค้าจำพวกลูกประคบและน้ำมันนวดหอมระเหย และผลิตภัณฑ์อี่นๆ ที่สัมผัสกับร่างกาย ดังนั้น การนำเข้าสินค้าดังกล่าวจะเข้าข่ายของสินค้าเครื่องสำอาง ตามที่ระบุ Regulation (EC) No 1223/2009 of European Parliament and of the Council of 30 November 2009 on Cosmetic products ระบุว่า “cosmetic product’ means any substance or mixture intended to be placed in contact with the external parts of the human body (epidermis, hair system, nails, lips and external genital organs) or with the teeth and the mucous membranes of the oral cavity with a view exclusively or mainly to cleaning them, perfuming them, changing their appearance, protecting them, keeping them in good condition or correcting body odours; การนำเข้าเครื่องสำอางเป็นสินค้าที่มีข้อบังคับเข้มงวดเป็นอย่างมาก ดังนั้น รายชื่อสารเคมีที่เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ต้องระบุ เลข CAS-NUMBER โดย CAS ย่อมาจาก Chemical Abstracts Service เครื่องสำอางต้องไม่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ (อาทิ Parabens, Phthalates, Aluminium Salts, Bithionol, Dioxane, Tretamine และ Carbon Tetrachloride รวมทั้งสารเคมีตกค้างต่าง ๆ เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมี่ยม) ฉลากติดที่ภาชนะต้องระบุรายละเอียดส่วนผสมต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและถูกต้องตามกฎหมาย ในใบประกอบที่สอดแทรกในกล่องหรือบรรจุภัณฑ์อาจเพิ่มเติมรายละเอียดอื่น ๆ เช่น คุณสมบัติของวัตถุดิบ ความปลอดภัยผลิตภัณฑ์และของสารแต่ละชนิดที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง รวมทั้งหลักฐานการกล่าวอ้างสรรพคุณ เป็นต้น ใบรับรองคุณภาพและความปลอดภัยต่าง ๆ สำหรับการรับรองมาตรฐานการผลิตเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ใบรับรองคุณภาพที่เป็นที่นิยมกันทั่วโลก คือ ISO GMP (Good Manufacturing Practice) สารประกอบต่าง ๆ ที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต ซึ่งเป็นทั้งสารเคมี และสารสกัดจากธรรมชาติ วัตถุดิบที่ใช้ต้องปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น REACH ซึ่งเป็นระเบียบของยุโรปในเรื่องของความปลอดภัย สำหรับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่มีมาตรฐานค่อนข้าง
- จากประเด็นข้อ 4 และ 5 ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีไพลเป็นองค์ประกอบได้ เพราะแม้ไพลและขิงจะเป็นสินค้าที่ใช้พิกัดศุลกากรเดียวกัน และมีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น สมาคมฯ จึงเรียกร้องให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดัน “ไพล” ให้อยู่ในสารบน/ฐานข้อมูลสินค้านำเข้า/สารเคมีของสหภาพยุโรป เพื่อให้สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีไพลเป็นส่วนประกอบได้ในอนาคตต่อไป
- ข้อมูลเพิ่มเติม การนำเข้าเครื่องสำอางต้องสอดคล้องกับ Regulation (EC) No 1223/2009 of European Parliament and of the Council of 30 November 2009 on Cosmetic products
- Safety : เพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค/ผู้ใช้งาน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่จะวางขายจะต้อง (1) นำเสนอข้อมูลที่สอดคล้องกับข้อกำหนดใน Directive 87/357/EEC (2) ข้อมูลในบนฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ครบถ้วน (3) ข้อมูลการใช้งาน (Instruction for Use) และ (4) ข้อมูลผู้รับผิดชอบ (Responsible Person)
- ต้องมีผู้รับผิดชอบ (Responsible Person) ทางกฎหมายเพื่อรับผิดชอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ว่าจะต้องได้มาตรฐานตามที่กฎระเบียบกำหนด และต้องให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ หากสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคและควบคุมสินค้าอุปโภคบริโภค (BVL) ตรวจพบสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ผู้รับผิดชอบจะต้องสามารถให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ ว่าผู้ผลิตสินค้าคือใคร และมีสินค้าชนิดนี้จำหน่ายที่ใดบ้าง นอกจากจะต้องมีผู้รับผิดชอบแล้ว ผู้การกระจายสินค้า (Distributors) จะต้องทราบข้อมูลว่าสินค้าที่ได้กระจายส่งไปนั้น ส่งต่อไปจำหน่ายในห้าง/ร้านใดบ้าง กฎ/ระเบียบนี้จะทำให้เจ้าหน้าที่ของเยอรมนีสามารถกำจัดสินค้าออกจากตลาดได้อย่างรวดเร็ว หากตรวจพบสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
- ฉลาก (Labelling) ข้อมูลที่ปรากฏบนฉลากของผลิตภัณฑ์ต้องมีข้อมูลอย่างน้อย เหล่านี้
- ชื่อ/ที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิตหรือชื่อผู้รับผิดชอบ (Responsible Person)
- ประเทศผู้ผลิต (Country of Origin)
- ปริมาณที่บรรจุ อาจกำหนดเป็นน้ำหนักหรือปริมาตร ยกเว้นในกรณีบรรจุภัณฑ์ที่มีปริมาณน้อยกว่าห้ากรัมหรือห้ามิลลิลิตร ตัวอย่างฟรี และชุดใช้งานครั้งเดียว
- วันที่ที่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางถูกจัดเก็บภายใต้สภาวะที่เหมาะสม จะยังคงใช้งานได้ตามปกติ โดยระบุคำว่า “ใช้ดีที่สุดก่อนสิ้นสุด” โดยต้องระบุวันที่มีความคงทนขั้นต่ำไว้อย่างชัดเจน โดยให้ประกอบด้วยเดือน ปี หรือวัน เดือน ปี ตามลำดับ หากจำเป็น ข้อมูลนี้จะต้องเสริมด้วยข้อบ่งชี้เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อรับประกันความคงทนที่ระบุไว้ นอกจากนี้ ไม่บังคับให้ระบุวันที่มีความคงทนขั้นต่ำสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีอายุขั้นต่ำมากกว่า 30 เดือน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องระบุระยะเวลาภายหลังการเปิดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและสามารถใช้ได้โดยไม่มีอันตรายต่อผู้บริโภค
- ข้อควรระวังเฉพาะที่ต้องปฏิบัติตามในการใช้งาน
- หมายเลขรุ่นการผลิตหรือข้อมูลอ้างอิงในการระบุผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ในกรณีที่เป็นไปไม่ได้ด้วยเหตุผลในทางปฏิบัติเนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีขนาดเล็กเกินไป ความต้องการข้อมูลดังกล่าวจะปรากฏบนบรรจุภัณฑ์เท่านั้น
- สรรพคุณ/หน้าที่ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เว้นแต่จะแสดงให้เห็นชัดเจนจากการนำเสนอ
- รายละเอียดของส่วนผสมในผลิตภัณฑ์
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตสินค้ายาสมุนไพร และธรรมชาติบำบัดมาก เพราะมีสถาบันต่างๆ รองรับ เช่น กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย หรือ อย. เป็นต้น และข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นถึงทิศทางของการใช้ผลิตภัณฑ์ยา ทั้งยาประจำบ้าน และ ยาสมุนไพรท้องถิ่น และธรรมชาติบำบัด ของผู้บริโภคชาวเยอรมัน และข้อมูลดังกล่าว ยังสามารถแสดงถึงประเภทของโรค และการเลือกใช้ยา และสมุนไพรท้องถิ่นประเภทใด ทั้งนี้ ผู้บริโภคจำนวนมาก ได้หันมาให้ความสำคัญกับยาสมุนไพร และธรรมชาติบำบัดมากขึ้น เนื่องจากตัวเลขการบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพ มีอัตราการขยายตัวขึ้นอย่างมาก แต่สิ่งสำคัญในการที่จะนำเข้าผลิจภัณฑ์ดังกล่าวคือ การขออนุญาต และกฎหมายบังคับต่างๆ ในเรื่องของ ยาสมุนไพร และธรรมชาติบำบัด ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอนุญาตให้ใช้งานในเยอรมนี หรือในสหภาพยุโรป ได้หรือไม่ มากและน้อย เพียงใด โดยเฉพาะการระบุว่า ยาสมุนไพร และธรรมชาติบำบัดต้อง ผ่านมาตราฐานการผลิตตามหลัก GMP (Good Manufacturing Practice) และต้องมีการควบคุมคุณภาพ อย่างสม่ำเสมอ และแหล่งที่มาของวัตถุดิบ รวมไปถึงการระบุบประเภท เป็นอะไร ว่าเป็นอาหารเสริม เพื่อสุขภาพ หรือเป็นยา เป็นต้น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อที่ผู้นำเข้าจะสามารถนำเข้าสินค้าดังกล่าวมายัง EU และเยอรมนีได้
****************************************
[1] https://www.zoll.de/EN/Businesses/Movement-of-goods/Import/Restrictions/ Goods/Medicinal-products-and-narcotics/medicinal-products-and-narcotics_node.html