ICIS บริษัทให้คำปรึกษาธุรกิจการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ระบุว่า ในปี 2023 สหรัฐฯเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าเศษพลาสติกใช้แล้ว (plastic scrap) อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก โดยนำเข้าเศษพลาสติก polyethylene terephthalate (PET) เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ร้อยละ 33 ข้อมูลของ U.S. Census Bureau ระบุว่าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาการนำเข้าสหรัฐฯเศษพลาสติก รหัส HS 3915 เติบโตต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ปริมาณนำเข้าในปี 2023 มากกว่า 446,700 เมตริกตัน โดยแหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญคือแคนาดาและเม็กซิโก อย่างไรก็ดี การนำเข้าจากประเทศส่งออกในเอเซียมีการเติบโตอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเศษพลาสติกกลุ่ม PET โดยมีประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญในเอเซีย มีส่วนแบ่งในตลาดนำเข้าร้อยละ 11 ในปี 2023

 

สินค้าเศษพลาสติกที่สหรัฐฯนำเข้ารวมถึง ขวดพลาสติก วัตถุดิบตั้งต้นที่รีไซเคิลได้ (recycled feedstock) ต่างๆ เช่น purge plastic, leftover pairing และ flake material

 

แม้ว่าการนำเข้าเศษพลาสติกจะเติบโต แต่ปัจจุบันสัดส่วนการใช้พลาสติก recycled ในการผลิตสินค้าพลาสติกในสหรัฐฯกำลังลดลงอย่างมาก เนื่องจากความต้องการเศษพลาสติกหลายเกรดที่มีความอ่อนไหวด้านราคา (price sensitive) ที่ปกตินิยมนำไปใช้ในการผลิตสินค้า เช่น วัสดุก่อสร้าง สินค้าประเภท durable goods และบรรจุภัณฑ์ ความต้องการที่ลดลงสืบเนื่องจากการไหล่บ่าเข้าสู่ตลาดของสินค้าประเภท low-cost virgin material (recycled resin ที่ผลิตตรงจากเศษที่เหลือจากปิโตรเลียม – Petrochemical feedstock เช่น แก๊สธรรมชาติ หรือน้ำมันดิบ ที่ไม่เคยถูกนำไปใช้หรือถูกนำเข้ากระบวนการผลิต – process มาก่อน เช่น rPET flake หรือ recycled PET flake)

 

ที่มา: Recycling Today: “ICIS: US is importing plastic scrap to meet its demand.”, by Brian Taylor, February 22, 2024

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อคิดเห็น และคำแนะนำของ สคต. ลอสแอนเจลิส
สหรัฐฯเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความต้องการใช้ขยะพลาสติกเป็นจำนวนมาก แต่มีรายงานว่า เพียงร้อยละ 5 ของขยะพลาสติกในสหรัฐฯถูกนำเข้าสู่กระบวนการ recycle ในตลาด plastic recycle ซึ่งในปี 2022 มีมูลค่าประมาณ 4.4 พันล้านเหรียญฯ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระบวนการ recycle ในสหรัฐฯมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ตั้งแต่ค่าพลังงานซึ่งจำเป็นต้องใช้เป็นจำนวนมากและค่าแรงในการคัดเลือกและทำความสะอาดเศษขยะ เป็นต้น

 

ดังนั้น เมื่อสหรัฐฯมีความต้องการเศษขยะพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะพลาสติกที่เป็น PET (polyethylene terephthalate) ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตบรรจุภัณฑ์สินค้าต่างๆ และในอุตสาหกรรม
รถยนต์และอุตสาหกรรมก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องพึ่งขยะพลาสติกนำเข้า ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งอุปทานนำเข้าสำคัญสูงสุดของสหรัฐฯ

ความต้องการเศษพลาสติกใช้แล้ว (plastic scrap) ในตลาดสหรัฐอเมริกา

ความต้องการเศษพลาสติกใช้แล้ว (plastic scrap) ในตลาดสหรัฐอเมริกา

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทำและนำเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นำมารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส | ข่าวประจำสัปดาห์ 11 – 15 มีนาคม 2567 

 

 

 

 

thThai