จีนบังคับใช้มาตรฐานแห่งชาติฉบับใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรสด

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการตลาดของจีน (State Administration for Market Regulation: SAMR) ได้ประกาศบังคับใช้มาตรฐานแห่งชาติฉบับใหม่  ว่าด้วย “ข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็นสำหรับสินค้าเกษตรที่รับประทานสด” อย่างเป็นทางการ ซึ่งมาตรฐานแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีเป้าหมายในการเสริมสร้างการกำกับดูแลห่วงโซ่อย่างเต็มรูปแบบสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็น เพื่อลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ซึ่งส่งผลต่อราคาของสินค้าและเพื่อลดปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็น พร้อมทั้งชี้แนะผู้ผลิตและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่รับประทานสด ให้ใช้หีบห่อบรรจุภัณฑ์อย่างเหมาะสมและสมเหตุสมผล โดยมาตรฐานแห่งชาติฉบับใหม่ จะมุ่งเน้นไปที่ข้อกำหนดทางเทคนิคและการกำหนดบรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็นสำหรับสินค้าเกษตรที่บริโภคได้ 5 ประเภทหลัก ได้แก่ ผัก (รวมเห็ดที่กินได้) ผลไม้ เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์ประมง และไข่ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

 

  1. อัตราส่วนพื้นที่ว่างระหว่างบรรจุภัณฑ์ (interspace ratio) ควรมีพื้นที่ว่างด้านบน 10% – 25%
หมวดหมู่ น้ำหนักสุทธิ (m) อัตราส่วนระหว่างพื้นที่  (%)
ผัก (รวมเห็ดที่กินได้) ≤1

≥1

≤25

≤20

ผลไม้ ≤1

1<m≤3

>3

≤20

≤15

≤10

เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ≤1

1<m≤3

>3

≤20

≤15

≤10

ผลิตภัณฑ์ประมง ≤1

>1

≤25

≤20

ไข่ ≤3

>3

≤20

≤15

หมายเหตุ 1. ตารางนี้ไม่บังคับใช้กับสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์เพียงชิ้นเดียว

2.หากในบรรจุภัณฑ์มีสินค้าเกษตรที่รับประทานสดได้ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป น้ำหนักสุทธิคือผลรวมของสินค้าเกษตรทั้งหมดในบรรจุภัณฑ์ และข้อกำหนดของอัตราส่วนพื้นที่ว่างของบรรจุภัณฑ์กับน้ำหนักสุทธิต้องสอดคล้องกัน

 

  1. จำนวนชั้นบรรจุของผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดให้บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทผัก (รวมเห็ดที่กินได้) และไข่ ควรมีความจุไม่เกินสามชั้น ส่วนผลไม้ เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก รวมถึงผลิตภัณฑ์ประมง ควรมีความจุไม่เกินสี่ชั้น
หมวดหมู่ จำนวนชั้น
ผัก (รวมเห็ดที่กินได้) ≤3
ผลไม้ ≤4
เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ≤4
ผลิตภัณฑ์ประมง ≤4
ไข่ ≤3

 

ในการคำนวณจำนวนชั้นบรรจุภัณฑ์นั้น ถุงตาข่าย/ปลอกตาข่าย กล่องบรรจุภัณฑ์แบบเรียงซ้อนที่ประกอบด้วยวัสดุ 2 ชนิด และกล่องบรรจุภัณฑ์แบบลิ้นชักจะนับเป็นชั้นเดียว ส่วนเชือกผูกสินค้า ฉลาก โลโก้ แผ่นกั้น (ไส้กล่อง) เม็ดโฟม บรรจุภัณฑ์แนบสนิท แผ่นรองกันกระแทก และฟิล์มหดอจะไม่นับเป็นชั้นบรรจุภัณฑ์ แต่การคำนวณจะถือว่าบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสโดยตรงกับสินค้าเกษตรที่รับประทานสดได้คือชั้นแรกและนับไปจนถึงชั้นนอกสุด จะถือว่าเป็นชั้นสุดท้าย

 

จีนบังคับใช้มาตรฐานแห่งชาติฉบับใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรสด
xr:d:DAGCKR1pGLI:5,j:6272812975196682804,t:24041202

 

  1. ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดต่อราคาขาย โดยอัตราส่วนของต้นทุนบรรจุภัณฑ์จะต้องไม่เกิน 20% ของราคาขาย ส่วนต้นทุนบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่มีราคาขายมากกว่า 100 หยวน อาทิ สตรอว์เบอร์รี่ เชอร์รี่ หยางเหมย (Yumberry) ผีผา (Loquat) เนื้อปศุสัตว์และสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และไข่ จะต้องไม่เกิน 15%
หมวดหมู่ ราคาขาย (หยวน) ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ต่อราคาขาย (%)
ผัก (รวมเห็ดที่กินได้) ≤20
ผลไม้ ≤20
เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ≤100

>100

≤20

≤15

ผลิตภัณฑ์ประมง ≤100

>100

≤20

≤15

ไข่ ≤100

>100

≤20

≤15

หมายเหตุ

1. วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม่ควรใช้วัสดุที่มีมูลค่า เช่น โลหะมีค่า ไม้มะฮอกกานี ฯลฯ

2. สตรอว์เบอร์รี่ หยางเหมย (Yumberry) ผีผา (Loquat) เนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์ประมง มีราคาขายมากกว่า 100 หยวน อัตราส่วนต้นทุนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดต่อราคาขายไม่ควรเกิน 15%

 

จีนบังคับใช้มาตรฐานแห่งชาติฉบับใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรสด
xr:d:DAGCKq85uP8:4,j:6658996645061716858,t:24041202

 

บรรจุภัณฑ์จำหน่ายที่รวมอยู่ในต้นทุนบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วย วัสดุบรรจุภัณฑ์  ตาข่าย/ถุงเชือกผูก แผ่นรอง เครื่องมือขนาดเล็ก ของแถมที่ไม่ใช่สินค้าเกษตรที่รับประทานสดได้ ฯลฯ นอกจากนี้ เนื่องด้วยสินค้าเกษตรที่รับประทานสด มีลักษณะพิเศษที่เน่าเสียง่ายและต้องคงความสด บรรจุภัณฑ์สำหรับการจำหน่ายยังมีหน้าที่ ในการเก็บรักษาความสดใหม่ ในคำจำกัดความมาตรฐานของ “บรรจุภัณฑ์สำหรับการจำหน่าย” ระบุว่า “ไม่รวมถึงบรรจุภัณฑ์ป้องกันด้านโลจิสติกส์และอุปกรณ์เพื่อรักษาความสด เช่น การทำความเย็น การควบคุมแก๊ส การป้องกันความชื้น ฯลฯ

 

จีนบังคับใช้มาตรฐานแห่งชาติฉบับใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรสด
xr:d:DAGCKqyTW3c:19,j:6658996647497526296,t:24041203

 

การบรรจุผลไม้ด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์เป็นการช่วยถนอมและป้องกันผลไม้เสียหายระหว่างการขนส่ง อย่างไรก็ตาม ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการใช้บรรจุภัณฑ์อย่างสิ้นเปลืองมากขึ้น โดยออกแบบให้มีความสวยงาม ขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและดึงดูดผู้บริโภค ซึ่งจะก่อให้เกิดขยะและสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีนหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่สิ้นเปลืองและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงราคาที่ผู้บริโภคต้องจ่ายแพงขึ้น             โดยส่งเสริมให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าอย่างมีสติและไม่ซื้อสินค้าที่ห่อบรรจุภัณฑ์มากเกินไป มาตรฐานดังกล่าวกำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 6 เดือน โดยมีข้อยกเว้น กำหนดว่า “สินค้าเกษตรรับประทานสดที่ผลิตหรือนำเข้าก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ สามารถจำหน่ายได้จนกว่าสินค้าจะหมดอายุ (end of the shelf life)”  นอกจากนี้ ตามมาตรา 25 ของ “กฎหมายมาตรฐานของสาธารณรัฐประชาชนจีน” ผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานบังคับไม่สามารถผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือจัดหาได้ ดังนั้นการนำเข้าสินค้าเกษตรที่รับประทานสดเพื่อจำหน่ายภายในประเทศจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานแห่งชาติฉบับดังกล่าว

 

จีนบังคับใช้มาตรฐานแห่งชาติฉบับใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรสด

 

 

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย และแนวทางการปรับตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย

ด้วยกระแสความนิยมรักสุขภาพที่มาแรงของจีน ชาวจีนจึงนิยมมอบผลไม้เป็นของขวัญในช่วงเทศกาลสำคัญ บรรจุภัณฑ์จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่จะดึงดูดให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้า ส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าผลไม้ในรูปแบบของขวัญเป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดจีน จะเห็นได้จากในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา ชาวจีนจำนวนมากเดินทางไปเยี่ยมญาติและเพื่อนฝูงเพิ่มมากขึ้น กล่องของขวัญผลไม้ระดับไฮเอนด์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการมอบของขวัญในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ รวมถึงกล่องของขวัญผลไม้แบบถาดก็ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากสะดวกและราคาไม่แพง โดยผู้ส่งออกสามารถใช้โอกาสจากกระแสความนิยมการมอบผลไม้เป็นของขวัญมาปรับใช้กับสินค้าผลไม้ส่งออก เพื่อสามารถสร้างการรับรู้แบรนด์ผลไม้ไทย และส่งเสริมให้ผู้บริโภคนิยมผลไม้ไทยมากขึ้น จนนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าผลไม้ไทยได้

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้าทางการเกษตรสด โดยเฉพาะสินค้าผลไม้ในระดับไฮเอนท์หรือส่งออกผลไม้ในรูปแบบของขวัญ ควรศึกษากฎระเบียบมาตรฐานแห่งชาติฉบับใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรสดดังกล่าวให้เข้าใจ เพื่อที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับสินค้าที่จะส่งออกไปยังจีนได้อย่างเหมาะสมและถูกระเบียบ

นอกจากนี้ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานงานที่เกี่ยวข้องสามารถเจรจาความร่วมมือกับหน่วยงานจีน ในการจัดกิจกรรมรับสมัครผู้นำเข้าจากจีนไปเยี่ยมชมสวนผลไม้ในจังหวัดต่างๆ ของไทย ตลอดจนเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพในการส่งออก เพื่อส่งเสริมโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าถึงผู้นำเข้าศักยภาพของประเทศจีน รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้สถานการณ์ตลาดสินค้าเกษตรของจีน จนนำไปสู่การผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป

 

ที่มา:

https://mp.weixin.qq.com/s/7Z1RNexEoJ2fREWvZB-73g

https://mp.weixin.qq.com/s/-VnBR1u6PN2q75maU_52pw

ภาพ : https://k.sina.com.cn/article_1644114654_61ff32de02001rjao.html

จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว

12 เมษายน 2567

thThai