การรวมเกษตรกรปาล์มน้ำมันอิสระและรายย่อย ประเทศมาเลเซีย

ที่มา : สำนักข่าว Bernama

การดำเนินการตามแบบจำลองเกษตรกรปาล์มน้ำมันรายย่อย คาดว่าทางภาครัฐจะมีส่วนช่วยในการสนับสนุนทะลายปาล์มสด ประมาณ 9,000,000 พวง และ น้ำมันปาล์มดิบ 1.8 ล้านตัน ต่อพื้นที่ทุก 10,000 เฮกตาร์หรือประมาณ 25,000,000 ตารางวา ในการปลูกปาล์มน้ำมัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและสินค้าโภคภัณฑ์ Datuk Seri Johari Abdul Ghani กล่าวว่า“ทางกระทรวงมีการดำเนินการรวมเกษตรกรปาล์มน้ำมันอิสระและรายย่อยทั้งหมดเพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรปาล์มน้ำมันที่ใหญ่ขึ้นและเพิ่มการผลิตปาล์มน้ำมันต่อไป”และมีการยกตัวอย่างว่า“หากเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่น้อยทางกระทรวงจะมีการรวมกลุ่มในพื้นที่เดียวกันและหากสามารถมีการรวมพื้นที่มากกว่า 10,000 เฮกตาร์
ทางกระทรวงสามารถที่จะนำแนวทางการปฏิบัติการจัดการพื้นที่เพาะปลูกที่ดีเข้ามาช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตภายในแต่ละพื้นที่”โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและสินค้าโภคภัณฑ์ ได้กล่าวขณะปิดการอภิปรายเรื่องการแสดงความขอบคุณสำหรับคำปราศรัยใน Dewan Negara ในวันที่ 27 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

 

ต่อมา Datuk Seri Johari Abdul Ghani มีการตอบสนองต่อสมาชิกวุฒิสภา Tan Sri Mohamad Fatmi Che Salleh ในเรื่องการเปิดสวนใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันของประเทศมาเลเซีย โดยกล่าวว่า“ทางกระทรวงมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงการปลูกทดแทนเมื่อต้มไม้มีอายุครบ 25 ปี ตามที่ภาคเอกชนปฏิบัติ” และมีการตั้งข้อสังเกตว่า มาเลเซียไม่มีที่ดินเพียงพอในการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกแห่งใหม่

“ในประเทศมาเลเซียมีปาล์มน้ำมันเพียง 5.7 ล้านเฮกตาร์ และกำลังเผชิญกับแนวทางมาตรฐานซึ่งกำหนดไว้กับประเทศที่ผลิต‘น้ำมันบริโภค’ซึ่งคือน้ำมันปาล์มเพื่อการส่งออกจะต้องมาจากที่ดินที่ปลูกป่ามาก่อนปี2563” “มิเช่นนั้นประเทศมาเลเซียจะถือเป็นประเทศที่ไม่คำนึงถึงปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและขัดขวางการส่งออกน้ำมันปาล์มไปต่างประเทศ” Johari

 

บทวิเคราะห์ผลกระทบ

การรวมกลุ่มเกษตรกรปาล์มน้ำมันอิสระและรายย่อยและการสนับสนุนจากทางภาครัฐของประเทศมาเลเซีย เป็นการขยายฐานการผลิตและเพิ่มผลผลิตให้แก่ประเทศมาเลเซีย แต่ในประเทศมาเลเซียมีปาล์มน้ำมันเพียง 5.7 ล้านเฮกตาร์ และกำลังเผชิญกับแนวทางมาตรฐานซึ่งกำหนดไว้กับประเทศที่ผลิต ‘น้ำมันบริโภค’ ซึ่งคือน้ำมันปาล์มเพื่อการส่งออกจะต้องมาจากที่ดินที่ปลูกป่ามาก่อนปี 2563 ส่งผลให้ประเทศมาเลเซียมีข้อจำกัดในเรื่องที่ดิน
ที่ไม่เพียงพอ

 

ความคิดเห็น สคต.

การรวมกลุ่มเกษตรกรปาล์มน้ำมันอิสระและรายย่อย และการสนับสนุนจากทางภาครัฐของประเทศมาเลเซีย เป็นการขยายฐานการผลิตและเพิ่มผลผลิตให้แก่ประเทศมาเลเซีย แต่ในประเทศมาเลเซียมีปาล์มน้ำมันเพียง 5.7 ล้านเฮกตาร์ และกำลังเผชิญกับแนวทางมาตรฐานซึ่งกำหนดไว้กับประเทศที่ผลิต ‘น้ำมันบริโภค’ ซึ่งคือน้ำมันปาล์มเพื่อการส่งออกจะต้องมาจากที่ดินที่ปลูกป่ามาก่อนปี 2563 ส่งผลให้ประเทศมาเลเซียมีข้อจำกัดในเรื่องที่ดินที่ไม่เพียงพอ ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการส่งออกผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบของประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซีย จากข้อมูลสถิติการส่งออกสินค้าน้ำมันปาล์มของไทย ในปี 2560 -2564 ประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มดิบไปยังประเทศมาเลเซียมากถึง 93.75% และโอกาสนี้จะส่งผลที่ดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

thThai