ส่วนที่ 1 สถานการณ์การค้าขายกล้วยไม้ในพื้นที่
- มูลค่าการนำเข้าและส่งออกรายปีย้อนหลังของกล้วยไม้ในพื้นที่การดูแลของท่านเป็นอย่างไร 5 ปี
ข้อมูลมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรายปีย้อนหลังของกล้วยไม้ในประเทศเยอรมนีปัจจุบัน เป็นข้อมูลของภาคเอกชนที่เปิดเผยให้เฉพาะแก่สมาชิกเท่านั้น จึงไม่สามารถหาข้อมูลในส่วนนี้ได้
ตามพิกัดศุลกากรจัดแบ่งต้นไม้ใบและต้นไม้ดอกออกเป็น 4 รายการ ได้แก่ (1) หน่อหรือกล้าไม้พิกัดศุลกากร 0601 ซึ่งจำแนกเป็นหน่อหรือต้นกล้ากล้วยไม้พิกัดศุลกากร 06012030 และต้นกล้าไม้ดอกชนิดอื่น ๆ (2) ไม้กระถางในพิกัดศุลกากร 0602 แบ่งเป็นกล้วยไม้กระถาง พิกัดศุลกากร 06029099 และอื่น ๆ (3) ไม้ตัดดอก พิกัดศุลกากร 0603 แบ่งเป็นกล้วยไม้ตัดดอก พิกัดศุลกากร 06031300 และ (4) ไม้ใบ พิกัดศุลกากร 0604 สำหรับไม้ตัดดอกอื่นๆ อาทิ ปทุมมาหรือปักษาสวรรค์ พิกัดศุลกากร 06031900
กล้วยไม้เป็นไม้ดอกเขตร้อนที่เก่าแก่และเป็นที่คุ้นเคยมากที่สุดสําหรับผู้ซื้อในยุโรปโดยเฉพาะในเยอรมนี พันธุ์กล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการมากในตลาด ได้แก่ สกุลฟาแลนอปซิส (Phalaenopsis), สกุลซิมบิเดียม (Cymbidium), สกุลหวาย (Dendrobium), สกุลออนซิเดียม (Oncidium), สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) และสกุลแวนด้า (Vanda) ทั้งนี้ สกุลฟาแลนอปซิสเป็นกล้วยไม้ที่ขายดีที่สุด ส่วนใหญ่เป็น สินค้านําเข้าจากประเทศเนเธอร์แลนด์
- สถานการณ์ปัจจุบันของการค้าขายกล้วยไม้ในพื้นที่ เช่น กล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมในพื้นที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ในพื้นที่ (ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ) เป็นต้น
เยอรมนีมักจะนำเข้าดอกกล้วยไม้ (HS060313) เป็นส่วนใหญ่ สำหรับต้นกล้วยไม้ (HS060210) นำเข้าน้อยมาก ซึ่งมักจะนำเข้าผ่านเนเธอร์แลนด์เป็นส่วนมาก ปัจจุบันความต้องการไม้ดอกในสหภาพยุโรปโดยเฉพาะในเยอรมนีจะขึ้นกับหรือเชื่อมโยงกับรายได้ของผู้ซื้อเป็นสำคัญ โดยจะมีความยืดหยุ่นตามระดับราคา กล่าวคือ หากราคาถูก ความต้องการซื้อก็จะสูงขึ้น ผู้บริโภคชาวเยอรมันซื้อต้นกล้วยไม้ไปใช้ในการตกแต่งที่พักส่วนตัว และเป็นของขวัญในทุกๆ โอกาส และโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ การให้ช่อกล้วยไม้หรือกล้วยไม้กระถางเป็นของขวัญได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เพราะต้นกล้วยไม้ดูมีคุณค่าสูงกว่าการให้ช่อดอกไม้ นอกจากนี้ กล้วยไม้ยังมีความคงทน เหมาะสมกับการปลูกในห้องพัก ที่อยู่อาศัย ผู้บริโภคส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 – 85 เป็นกลุ่มผู้หญิง อายุเฉลี่ยประมาณ 35 ปีขึ้นไป ปัจจุบันการซื้อกล้วยไม้หาซื้อได้ง่าย โดยเฉพาะกล้วยไม้ในกระถางที่มีการนำมาจำหน่ายในร้าน Discounter อยู่เรื่อย ๆ โดยมีราคาประหยัดอยู่ที่ต้นระ 2.99 – 4.99 ยูโรเท่านั้น (1 ยูโรประมาณ 38 บาท)
กล้วยไม้กระถางขนาดเล็กที่จําหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตจัดเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างถูก เพราะเป็นสายพันธุ์ธรรมดา มีสีสันปกติไมใช่่สายพันธุ์ที่หายาก หากต้องการกล้วยไม้พันธุ์พิเศษสวยงาม มีสีสันสะดุดตา จะต้องซื้อจากร้านที่จําหน่ายดอกไม้โดยเฉพาะ ประเทศผู้ส่งกล้วยไม้เข้าสู่สหภาพยุโรปรายใหญ่ที่สุด คือ เนเธอร์แลนด์ นอกจากจะเป็นตลาดนําเข้าไม้ดอกรายใหญ่ที่สุดของยุโรปแล้ว ยังเป็นประเทศที่ปลูกไม้ตัดดอกที่ใหญ่ที่สุดอีกด้วย โดยมีส่วนแบงตลาดกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตทั่วยุโรป เยอรมนีเป็นประเทศหนึ่งที่นําเข้าดอกไม้ รวมทั้งต้นกล้วยไม้/ดอกกล้วยไม้ จํานวนมากจากเนเธอร์แลนด์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 75 ของการนําเข้าดอกไม้และไม้ดอกทั้งหมดของเยอรมนีเพราะมีชายแดนติดกัน มีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก และระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย
(เหรียญสหรัฐ)
ช่องทางการจัดจําหน่ายในเยอรมนีส่วนใหญ่เป็นไปตามรูปแบบของสหภาพยุโรป กล่าวคือ มีการนําเข้าหลักของสินค้าผ่านช่องทางผู้ค้าส่งในเยอรมนี ตลาดประมูลหรือผู้ค้าส่งของเนเธอร์แลนด์ที่ส่งออกสินค้าไปยังผู้ค้าปลีก ซึ่งผู้ค้าส่งเหล่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ในตลาดค้าส่งดั้งเดิมที่กระจายตัวอยู่เกือบทุกเมืองที่สําคัญ ตลาดประมูลไม้ดอก และผู้ค้าส่งรายใหญ่สําคัญๆ ที่สุดของเยอรมนีอยู่ที่นครฮัมบูรก์ นอกจากนี้ ผู้ค้าส่งที่ส่งออกกล้วยไม้ของเยอรมนีที่สําคัญจะดําเนินงานเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใกล้แฟรงก์เฟิร์ต เนื่องจากสนามบินแฟรงก์เฟิร์ตมีศูนย์รวบรวมสินค้าเน่าเสียง่าย (Perishable Center, Frankfurt) สามารถเก็บรักษาไม้ตัดดอก และพืชใบไว้ก่อนการส่งต่อไปได้และยังมี Perishable Center ที่สนามบินเมืองมิวนิคเป็น Port ที่ 2 รองจากจากนครแฟรงก์เฟิร์ต นอกจากนี้ ยังแบ่งช่องทางการจัดจําหน่ายออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
- ตัวแทนจําหนายท้องถิ่น โดยส่งสินค้าไปยังตัวแทนจําหน่ายท้องถิ่น ซึ่งจะต้องติดต่อกับพิธีการศุลกากรและดําเนินการเรื่องการขนส่ง ก่อนส่งต่อสินค้าดังกล่าวไปยังผู้ค้าส่งหรือตลาดประมูล
- ตลาดประมูลการส่งสินค้าโดยตรงไปยังตลาดประมูล ในกรณีนี้ผู้ส่งออกสามารถดําเนินการด้านพิธีการนําเข้าและขนส่งด้วยตนเอง หรืออีกทางเลือกคือ ให้ตลาดประมูลรับทําหน้าที่ไปเพื่อจะ ดําเนินการเกี่ยวกับพิธีการตรวจผ่านและการจัดเตรียมการขนส่ง
- ผู้ค้าส่ง การขายส่งต่อไปยังผู้ค้าส่ง แม้ว่าตามทฤษฎีนั้น วิธีการนี้อาจจะให้ราคาที่ดีแก่ผู้ส่งออก แต่ในทางปฏิบัติการบวกเพิ่มส่วนใหญ่จะรวมราคาของตัวแทนจําหน่ายแล้ว ทําให้ราคาสินค้าที่ผู้ ส่งออกจะได้รับนั้นไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
- ผู้ค้าปลีก การส่งตรงไปยังผู้ค้าปลีก ในกรณีนี้รวมถึงห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต ขอเรียนย้ำอีกครั้งว่า ในทางทฤษฎีการค้ากับผู้ค้าปลีกจะทําให้ผู้ส่่งออกได้ราคาที่ดี แต่ก็ไม่เสมอไป เนื่องจากซุปเปอร์มาร์เก็ตใช้จุดแข็งของตนในฐานะผู้ซื้อรายใหญ่ มากดราคาและอาจสร้างปัญหาเพิ่มเติมแก่ผู้ส่งออก เนื่องจาก ซุปเปอร์มาร์เก็ตมีข้อกําหนดด้านคุณภาพที่สูงกว่าผู้ค้าปลีก รายอื่นๆ
- มุมมองของท่านต่อสถานการณ์และแนวโน้มในอนาคตของการค้าขายกล้วยไม้ในพื้นที่การดูแลของท่านเป็นอย่างไร
ในด้านการผลิต เยอรมนีถือว่าเป็นแหล่งผลิตกล้วยไม้น้อยมาก หรือประมาณ 3 ล้านกระถางต่อปีเท่านั้น จึงไม่ได้มีการจัดลงสถิติเป็นพิเศษ แต่สำหรับตลาดเยอรมนีแล้วยังคงมีความต้องการดอกไม้โดยเฉพาะกล้วยไม้อยู่สม่ำเสมอและนำไปใช้ในแทบทุกเทศกาล แต่ปัญหาหลักของกล้วยไม้ไทย คือ ราคาและการนำไปผสมใช้กับดอกไม้ประเภทอื่นในท้องถิ่นได้ยาก จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าที่ควร แต่ก็ได้รับความสนใจในฐานะดอกไม้ Exotic จึงทำให้กล้วยไม้ไทยมีราคาสูงกว่าดอกไม้ปกติทั่วไป
ปัจจุบันแม้อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2567 จะลดลงมาอยู่ที่ 2.9% (ซึ่งต่ำกว่าปี 2566) แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ด้านการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ กำลังประสบกับปัญหาต่าง ๆ รุมเร้า อาทิ สงครามรัสเซีย-ยูเครน สถานการณ์การโจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดงและคลองซุเอซ ปัญหากำลังซื้อที่ลดลง เหล่านี้ได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะซบเซา ๆ ผู้บริโภคชาวเยอรมนีจึงให้ความสำคัญกับการจับจ่ายใช้เงินค่อนข้างมาก จนเกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้เทรนด์สินค้าราคาประหยัด/สินค้าราคาถูกได้รับความนิยม ดังนั้น การที่จะส่งสินค้าอะไรก็ตามมาขายในตลาดเยอรมนี ประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคงหนีไม่พ้น (1) กลยุทธ์การกำหนดราคา ณ ประเทศปลายทาง (2) คุณภาพของสินค้า และ (3) การที่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข/ข้อกำหนดของสหภาพยุโรปได้
- ปัจจัยที่ใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงร่วมกันในการส่งเสริมการค้าขายกล้วยไม้ระหว่างพื้นที่การดูแลของท่านและผู้ประกอบการจากประเทศไทยมีอะไรบ้าง
ต่อเนื่องมาจากข้อ 1.3 เพื่อให้สินค้ากล้วไม้ของไทยสามารถขยายตลาดและครองใจผู้บริโภคในตลาดเยอรมนีได้เพิ่มขึ้น สิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการส่งออก คือ คุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้า ซึ่งเยอรมนีมีข้อกำหนดด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures) เงื่อนไขว่าสินค้าที่จะนำเข้าต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) ที่ออกให้โดยหน่วยงานผู้มีอำนาจ ของประเทศผู้ส่งออกและจะต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงของศัตรูพืชที่อาจติดมากับสินค้า รวมทั้งอาจมีข้อกำหนด เพิ่มเติมเรื่องหลักการทั่วไปของการปฏิบัติที่ถูกต้องทางการเกษตร (Good Agriculture Practice : GAP) อีกด้วย นอกจากนี้ ควรพัฒนากระบวนการเพาะพันธุ์และการผลิตโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย ตลอดจนเร่งพัฒนาพันธุ์ไม้ใหม่ๆ เนื่องจากไม้ดอกไม้ประดับถือเป็นสินค้าแฟชั่นที่ต้องมีการพัฒนาพันธุ์ใหม่อยู่เสมอตามความต้องการของตลาด ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการควรปรับเปลี่ยนช่องทางการทำตลาด โดยหันมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เข้าถึงผู้บริโภค โดยตรงมากขึ้น
ส่วนที่ 2 กฎระเบียบข้อบังคับในการค้าขายกล้วยไม้ในพื้นที่
- ประกาศกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในการค้าขายกล้วยไม้ระหว่างประเทศเป็นอย่างไร
กฎระเบียบข้อบังคับในการส่งออกกล้วยไม้ของไทย
การส่งออกกล้วยไม้ไปยังสหภาพยุโรปหรือเยอรมนี ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ได้กําหนดให้มีหนังสือรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) จากกรมวิชาการเกษตรไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร โดยผู้ที่จะส่งออกกล้วยไม้จะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้ออกไปนอกราชอาณาจักรต่อกรมวิชาการเกษตร ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งดอกกล้วยไม้ไปนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ในการ ส่งออกนั้น ผู้ส่งออกจะต้องมีบัตรประจําตัวมาแสดงและติดป้ายหรือฉลาก หรือประทับข้อความโดยระบุข้อความต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษให้ชัดเจนที่ภาชนะบรรจุ ดังนี้
- ชื่อและหมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก
- ชื่อพืชและพันธุ์
- จํานวนสินค้าเป็นชิ้นหรือช่อ และน้ำหนักของสินค้า
- ประเทศผู้ผลิต
นอกจากนี้ผู้ส่งออกจะต้องรายงานการส่งออกสินค้าดังกล่าวให้กรมวิชาการเกษตรทราบทุกๆ 30 วัน สําหรับการส่งออกเพื่อเป็นสินค้าตัวอย่าง การใช้ส่วนตัว หรือการส่งออกโดยมิใช่เพื่อการค้า ซึ่งมีปริมาณไม่ เกิน 5 กิโลกรัม สามารถส่งออกไปได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กรมวิชาการเกษตรได้กําหนดไว้
เอกสารใช้ประกอบการส่งกล้วยไม้เข้าสู่ตลาดสหภาพยโรป
- General Requirements : Commercial Invoice – Customs Value Declaration – Freight documents – Freight insurance – Packing list – Single Administrative Document (SAD)
- Special requirements :
- สินค้าในพิกัดศุลกากร 06012030 (หน่อของไม้ดอก – Orchids, hyacinths, narcissi and tulips) : (1) CITES – Endangered Species Protection (2) Marketing requirement for seeds and plant propagating material (3) Plant health control และ (4) Products from organic production
- สินค้าในพิกัดศุลกากร 06031300 (ไม้ตัดดอก / orchids) : (1) Plant health control และ (2) Product from organic protection
มาตรการที่มิใช่ภาษี
- ใบอนุญาตนําเข้า จะต้องมีใบอนุญาตนําเข้าทุกครั้ง
- การตรวจสอบสินค้า เจ้าหน้าที่ศุลกากรเยอรมันอาจสุ่มตัวอย่างมาตรวจสอบก่อนอนุญาตให้นําเข้า และมีการนําสินค้าที่วางจําหน่ายตามท้องตลาดมาตรวจสอบเป็นครั้งคราว หรือเมื่อได้รับแจ้งจากผู้บริโภค ทั้งในด้านสุขอนามัย และตามขนาดบรรจุ เมื่อตรวจพบว่าไม่ถูกต้อง ขัดกับระเบียบก็จะเก็บสินค้านั้น ๆ ออกจากตลาด สำหรับกฏเกณฑ์เกี่ยวกับระเบียบ/มาตรฐานที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
- กฎระเบียบมาตรฐานด้านสุขอนามัยของสหภาพยุโรป
- REGULATION (EU) 2019/2115 OF THE EUROPEAN PARLIAMENT AND OF THE COUNCIL of 27 November 2019
- Regulation (EC) No 834/2007of 28 June 2007 on organic production and labelling of organic products and repealing Regulation (EEC) No 2092/91
- COMMISSION IMPLEMENTING REGULATION (EU) 2015/1754
- การกําหนดมาตรฐานโดยเอกชน ได้แก่
- International Code of Conduct (ICC) เป็นมาตรฐานที่กําหนดโดย NGO ของ EU ร่วมกับ สหภาพแรงงานด้านอาหารและการเกษตร สําหรับอุตสาหกรรมไม้ตัดดอก
- Fair Flowers & Plants (FFP) เป็นมาตรฐานที่กําหนดโดย Trade Union, NGO และสมาคมผู้ค้าดอกไม้ระหว่างประเทศ เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและการปลูกที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยอ้างอิงมาตรฐานจาก ICC และ MPS มีตรารับรองสินค้าโดยเฉพาะ
- EUREPGAP เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยกลุมผู้ค้าปลีกของ EU 17 แห่ง เพื่อกำหนดมาตรฐานของสินค้า สำหรับดอกไม้ มีข้อกำหนดด้านระดับปริมาณการตกค้างขั้นต่ำของยาฆ่าแมลง ระเบียบด้านการคุ้มครองแรงงาน
- Milieu Programma Sierteelt (MPS) แยกเป็น 2 ส่วน คือ (1) MPS-ABC เป็นการวิเคราะห์หายาฆ่าแมลงที่ใช้ เรื่องการรีไซเคิล การใช้พลังงานและน้ำ (2) MPS-FLP เป็นการกำหนดเงื่อนไขสำหรับการนำดอกไม้ไปจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต
- Flower Label Promgramme (FLP) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย กลุ่มสมาคม ผู้ปลูกดอกไม้ ร่วมกับ NGO และ Trade Union ของเยอรมนี เพื่อกำหนดมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน และการปกป้องสิ่งแวดล้อม
- Max Havelaar เป็นมาตรฐานด้านการค้าและการปฏิบัติที่เป็นธรรม โดยกลุ่มลูกค้าปลีก เครือ Migros ของสวิตเซอร์แลนด์
- กฎระเบียบมาตรฐานด้านสุขอนามัยของสหภาพยุโรป
- นโยบายการนำเข้าสินค้ากล้วยไม้และนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการกล้วยไม้เป็นอย่างไร
เยอรมนีไม่มีนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการกล้วยไม้จากต่างประเทศแต่อย่างใด ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์แห่งประเทศไทยพยายามส่งเสริมสินค้าจากไทยทุกประเภทโดยเฉพาะสินค้าเกษตรซึ่งรวมไปถึงกล้วยไม้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ Soft Power ที่สามารถนำไปใช้ตกแต่งร้านอาหารไทย อย่างไรชก็ตามก็ยังไม่มีโครงการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมเหมือนกับ โครงการส่งเสริมข้าว หรือตราสัญลักษณ์ Thai Select
- ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ในการค้าขายกล้วยไม้ระหว่างประเทศเป็นอย่างไร
ปัญหาและอุปสรรค
สินค้าไทยเสียเปรียบการแข่งขันในด้านราคากับสินค้าของประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนาม เนื่องจากปัจจุบันสินค้าเวียดนามได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรขาเข้าจากความตกลง FTA จึงทำให้ต้นทุนการนำเข้าถูกกว่าสินค้าของไทย ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบในการขนส่งสินค้าในแถบทะเลแดงและคลองสุเอซ จึงทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเครื่องบินปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเป็นไปตามกลไกตลาดเพราะผู้ประกอบการบางส่วนหลีกเลี่ยงการส่งออกสินค้าด้วยเรือ จึงหันมาส่งสินค้าทางเครื่องบินแทนมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
- ปัจจุบันผู้ส่งออกไทยส่วนใหญ่นิยมส่งออกแบบ Free on Board (FOB) คือ การส่งสินค้าที่ท่าเรือ หรือสนามบิน เพราะไม่ต้องการรับภาระค่าขนส่งที่สูง ซึ่งต้องยอมรับว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นอุปสรรค ในการส่งออก หากได้มีการรวมกลุ่มของผู้สงออกกล้วยไม้/ผู้ผลิตดอกไม้ชนิดอื่นๆ รวมทั้งสินค้าเกษตรต่าง ๆ จะทําให้ประหยัดต้นทุนค่าขนส่งได้มากขึ้น และอาจจะช่วยเจรจาต่อรองค่าขนส่งในอัตราพิเศษได้
- ควรพิจารณานําเอามาตรฐานที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม และสังคม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสําคัญของผู้บริโภคในตลาดยุโรป มาประยุกต์ใช้กับมาตรฐานการติดฉลากและการบรรจหีบห่อของ สินค้าไทย ตัวอย่างเช่น ฉลากที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (eco-labels) และขอแนะนําว่าการบรรจุหีบห่อและการติดฉลากดังกล่าวควรมีข้อความในการส่งเสริมตรา “กล้วยไม้ไทย” (Thai Orchids) ด้วย
- ควรเสนอสินค้าที่มีความหลากหลาย ผู้ส่งออกของไทยพึ่งพิงกล้วยไม้สกุลหวายมากเกินไป แม้ว่าประเทศไทยจะโชคดีที่มีเอกสิทธิ์อย่างสมบูรณ์แตผู้เดียวสําหรับตลาดกล้วยไม้สกุลหวายในสหภาพยุโรป แต่ผู้ส่งออกควรต้องพิจารณาความเป็นไปได้ในการขยายการผลิตกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ด้วย เพื่อนําเสนอความหลากหลายกล้วยไม้แก่ผู้นําเขา้ โดยใช้การหมุนเวียนกล้วยไม้พันธุ์หลัก ๆ ตามช่วงเวลาต่างๆ เพื่อมิให้ตลาดเกิดภาวะหยุดนิ่ง
- การส่งเสริมการตลาด โดยอาจรวมประเด็นต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น (1) เข้าร่วมงาน IPM (International trade fair for plant) ที่เมือง Essen ประเทศเยอรมนีเป็นงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับพืชพันธุ์ไม้ไม้ดอกไมใบ้ และเทคนิคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะจัดแสดงทุกปีในช่วงปลายเดือนมกราคมครั้งต่อไป ระหว่างวันที่ 28 – 31 มกราคม 2568 เพราะงานแสดงสินค้ามีความสําคัญมากต่อผู้ผลิต ผู้ปลูกและผู้ส่งออก ไม่เฉพาะเพื่อการจัดแสดงสินค้าเท่านั้น แต่ยังทําให้ได้รู้จักตลาดและคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการได้พบปะกับตัวแทน ผู้ขนส่งสินค้าและผู้ค้าปลีกอีกด้วย และ (2) การจัดสัมมนาเพื่อเจรจาธุรกิจสําหรับผู้นําเข้า เพื่อสนับสนุนการจับคู่เจรจาทางธุรกิจระหว่างผู้ ส่งออกของไทยกับผู้นําเข้าที่มีศักยภาพของสหภาพยุโรป
- การผลิตกล้วยไม้เชิงธุรกิจหรือเพื่อการค้า จะต้องมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเป็นการเบื้องต้น ก่อน รวมถึงเรื่องเทคโนโลยีการผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การตลาด และประเด็นสำคัญที่สุดก็คือ กฎระเบียบการนําเข้าส่งออก กฎหมายภายใน กฎหมายของประเทศคู่ค้า รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศ ให้เข้าใจชัดเจนและปฏิบัติให้ถูกต้อง มเชิ ่นนั้นการกระทําไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจทําให้เกิดผลเสียต่อตัว ผู้ประกอบการเอง เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และอาจได้รับโทษทางคดีอาญาด้วย ยกตัวอย่างเช่น ดอกกล้วยไม้ ที่จะส่งไปสหภาพยุโรปจะต้องผ่านการรมยาเพื่อกําจัดเพลี้ยไฟ ใบรับรองปลอดศัตรูพืช Phytosanitary Certificate และจะตองมีปริมาณสารเคมีตกค้างอยู่ในเกณฑ์ที่กําหนด เป็นต้น