บังกลาเทศ : เงินลงทุน FDI ไหลเข้าลดลงร้อยละ 16 ในปี 2566
ในปีงบประมาณ 2566 การไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิ (FDI) ลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบเป็นรายปีเนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองที่กระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในช่วงปีเลือกตั้ง และสถานการณ์การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ผันผวน
จากข้อมูลธนาคารกลางของบังกลาเทศ ปีงบประมาณ 2566 FDI ไหลเข้าบังกลาเทศสุทธิ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 16 เมื่อปีที่แล้ว จำนวน FDI ไหลเข้าสุทธิ 3.48 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
Ahsan H Mansur ผู้อํานวยการบริหารสถาบันวิจัยนโยบาย ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยเศรษฐกิจของบังกลาเทศ กล่าวว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ชะลอตัวบ่งบอกถึง สถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคของบังกลาเทศแย่ลงกว่าเมื่อก่อนเล็กน้อย นอกจากดุลการชําระเงินไม่ค่อยดีนักและเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก
จากข้อมูลของธนาคารกลางบังกลาเทศ ในปี 2566 FDI มูลค่า 614 ล้านมาจากสหราชอาณาจักร ที่เหลือมาจากการลงทุนจากประเทศเนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ นอร์เวย์และสิงคโปร์
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในปี 2566 ร้อยละ 73 หรือจำนวน 2.21 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการลงทุนจากกําไรที่นําไปลงทุนใหม่ ซึ่งบ่งชี้ว่า แหล่งที่มาหลักของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศคือ การลงทุนใหม่ของผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศที่มีอยู่แล้ว
ต่อข้อสอบถามว่า ทําไมนักลงทุนนำรายได้จากผลประกอบการ มาการลงทุนใหม่ Ahsan H Mansur กล่าวว่า “เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนในประเทศดีมาก ดังนั้นหลายคนลงทุนกำไรที่ได้รับจากการลงทุน.”
“อย่างไรก็ตามในหลายกรณีนักลงทุนต้องเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ รวมถึงข้อจํากัดของธนาคารกลางในการส่งกลับผลกำไร เป็นผลให้ถูกบังคับกลายๆ ให้ลงทุนอีกครั้ง ”
จากข้อมูลของธนาคารกลาง ในปี 2566 ภาคการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ดึงดูดการลงทุนได้มากที่สุด 591 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ เป็นการลงทุนในภาคธุรกิจอื่น เช่น สาขาการเงินการธนาคาร สาขาพลังงาน ก๊าซปิโตรเลียมและสาขาอาหาร
Naser Ezaz Bijoy ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Standard Chartered Bank Bangladesh กล่าว ว่า “การลดลงของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไปยังบังกลาเทศในปี 2566 มีเหตุผลสามประการ ประการแรกนักลงทุนต่างชาติลังเลที่จะลงทุนใหม่ในปีเลือกตั้ง ประการที่สอง การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วโลก ลดลงเนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ซึ่งบังกลาเทศไม่ได้เป็นข้อยกเว้น ประการสุดท้ายการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่เข้มงวดในประเทศทําให้นักลงทุนใช้แนวทาง “Wait and See” เมื่อทําการลงทุนใหม่
ถามว่าการไหลเข้าของ FDI สามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างไร นายธนาคารผู้นี้กล่าวว่า บังกลาเทศจําเป็นต้องปรับปรุงประสบการณ์ของนักลงทุน ในองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ความยากง่ายในการทําธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจการขนส่ง การศุลกากรและภาษีอากร นอกจากนี้ความสามารถในการส่งกลับผลกําไรหรือเงินปันผล สิงเหล่านี้มีผลมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนใหม่ นอกจากนั้น ตลาดทุนที่มีชีวิตชีวาและกฎระเบียบการแลกเปลี่ยนเงินเสรีจะช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม บังกลาเทศ เป็นตลาดที่มีศักยภาพมีผู้บริโภคที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 โดยคาดว่าจะมีมูลค่าถึง $ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2574
——————
สคต. ณ กรุงธากา
เมษายน 2567
ที่มา ข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น https://www.tbsnews.net/