ขนมขบเคี้ยวและลูกอมคลาสสิกบางรายการอาจถูกห้ามวางจําหน่ายในหลายรัฐ เนื่องจากมีส่วนผสมที่เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง ผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านี้ประกอบด้วย ซีเรียล เช่น Lucky Charms และ Froot Loop ลูกอม เช่น Skittles, Nerds, M&M ผลิตภัณฑ์ปลาจากสวีเดน และของขบเคี้ยว เช่น Flamin’ Hot Cheetos และ Doritos รวมไปถึง Gatorade และเครื่องดื่มเกลือแร่อื่น ๆ ในเดือนตุลาคม 2566 รัฐแคลิฟอร์มเนีย ได้ผ่าน กฏหมายที่เรียกว่า Skittles Ban – AB 418 (ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี 2570) ห้ามการใช้สารเคมี 4 ชนิดที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งประกอบด้วย น้ํามันพืชโบรมีน (Brominated Vegetable Oil – BVO), โพแทสเซียมโบรเมต (Potassium Bromate), โพรพิลพาราเบน (Propylparaben) และสีแดงหมายเลข 3 ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ถูกประกาศห้ามใช้ใน กลุ่มประเทศในยุโรปส่วนใหญ่อยู่ก่อนแล้ว เช่น สารโพแทสเซียมโบรเมตเป็นสารที่ใช้เพื่อ เสริมสร้างเนื้อสัมผัสของขนมปัง แต่เป็นที่รู้กันว่าสารเคมีที่ก่อมะเร็งในหนู และอาจก่อให้เกิด ปัญหาเกี่ยวกับไตในมนุษย์ หรือน้ํามันพืชโบรมีนซึ่งใช้ในน้ําอัดลม Mountain Dew เพื่อช่วย ป้องกันไม่ให้รสส้มแยกตัวและลอยขึ้นบนผิวหน้าของเครื่องดื่มก็มีผลเป็นพิษต่อต่อไทรอยด์ เป็นต้น

 

สารเติมแต่งที่ส่งผลต่อผู้บริโภคสหรัฐอเมริกาฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐนิวยอร์คก็มีการเสนอร่างกฎหมายจํานวน 2 ฉบับ (A6424A และ S6055B) ในเดือนมีนาคม 2567 มีวัตถุประสงค์ที่จะป้องกันผู้บริโภคใน รัฐจากสารเคมีที่เป็นพิษในอาหาร ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ นอกจากจะเสนอให้ห้ามใช้ สารเคมีทั้ง 4 ชนิดที่ถูกห้ามใช้ในรัฐแคลิฟอร์เนียแล้ว (AB418) ยังมีการเสนอให้ห้ามใช้ สารเคมีเพิ่มอีก 3 ชนิด ประกอบด้วย ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide), บิว ทิเลต ไฮดรอกซีอะนิโซล (Butylated Hydroxyanisole – BHA) และ Azodicabonamide นักกการเมืองในรัฐเพนซิลเวเนียก็มีการเรียกร้องให้ห้ามใช้ สีแดง หมายเลข 40, สีเหลือง หมายเลข 5 และ 6, สีฟ้าหมายเลข 1 และ 2 ใน ขณะเดียวกันรัฐอิลลินอยส์ นิวเจอร์ซีย์ และมิสซูรีต่างก็มีการพิจารณา ห้ามสารเติมแต่งบางชนิดเช่นกัน มีการเชื่อมโยงสารเคมีเหล่าน้ีเข้ากับ ความเสี่ยงในการเกิดสมาธิสั้นและปัญหาพฤติกรรมในเด็ก ความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งสูงขึ้น รวมถึงอันตรายต่อดีเอ็นเอ และอันตรายต่อระบบประสาท

 

ผลการศึกษาของหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของรัฐแคลิฟอร์เนีย California Environmental Protection Agency ภายใต้ความร่วมมือของ UC Berkeley และ UC Davis ในปี 2564 ยืนยันความเชื่อที่สงสัยมานานว่า การบริโภคสีผสมอาหารสังเคราะห์อาจเชื่อมโยงกับอาการสมาธิสั้น และปัญหาทางระบบประสานอื่นๆในเด็กบางราย ซึ่ง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเชื่อมโยงกับการที่สีผสมอาหารส่งผลกระทบต่อสารโดปามีน (Dopamine) ในสมองซึ่งเป็นสารที่ทํา หน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาทและฮอร์โมนที่รับผิดชอบต่อความรู้สึกยินดี ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเด็กและวัยรุ่น อเมริกันที่ได้รับการวินจิ ฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit/Hyperactivity Disorder – ADHD) มีจํานวนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 6.1 เป็นร้อยละ 10.2 นักวิจัยพบว่าระดับการบริโภคประจําวันที่ยอมรับได้ (Acceptable Daily Intake Levels – ADIs) ของสีผสมอาหารสังเคราะห์ที่กําหนดโดย FDA นั้นอ้างอิงจากการศึกษาเก่าเมื่อ 35 ถึง 70 ปีที่แล้ว ซึ่งสมควรจะได้รับ การปรับปรุงให้เหมาะกับสถานะการณ์ปัจจุบัน

 

ที่มา: Popular Snacks Could be Banned in Certain States over Cancer Fears, April 17, 2024

 

ข้อมูลเพิ่มเติม และข้อคิดเห็นสคต.ลอสแอนเจลิส

ในปี 2567 การบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร ข้อกําหนดใหม่ของการติดฉลากแบบสั้นตาม Prop 65 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และการห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ในบรรจุภัณฑ์อาหารของบางรัฐ เป็นประเด็นด้านกฏหมาย และระเบียบสําคัญในอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องมีการพัฒนาและปรับปรุง และการพิฒนานี้จะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับโปรแกรม Unified Human Foods ของ องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (US-FDA)

 

การบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร

ในปี 2567 การบังคับใช้ฉลากและการเจือปนที่เกี่ยวกับ สารก่อภูมิแพ้ที่สําคัญในอาหาร ยังคงเป็นห้วข้อที่ FDA ให้ความสําคัญระดับต้นๆ นับตั้งแต่พระราชบัญญัติความปลอดภัยการแพ้อาหาร การรักษา การศึกษา และการวิจัย (Food Allergy Saafety, Treatment, Education and Research Act) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2566 ซึ่งได้เพิ่ม “งา” เป็นสารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่สําคัญรายการที่ 9 (นม ไข่ ปลา สัตว์น้ําที่มีเปลือก ถั่วจากต้นไม้ ถั่วลิสง ข้าวสาลี ถั่วเหลือง และงา) ภายใต้พระราชบัญญัติการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ใน
อาหารและการคุ้มครองผู้บริโภค (Food Allergen Labeling & Consumer Protection Act) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจะต้องแจ้งบนฉลากบรรจุภัฑณ์ว่ามีส่วนผสมของสารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่สําคัญ อย่างไรก็ตามในกรณีของงา มีการโต้แย้งว่าเป็นไปไม่ได้เลยในทางปฏิบัติที่จะป้องกันการปนเปื้อนกับอาหารอื่นๆที่ผลิตใน โรงงานเดียวกัน ข้อกังวลดังกล่าวทําให้องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ จัดทําร่างคําแนะนําเกี่ยวกับการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ ในอาหารที่สําคัญ ซึ่งกําหนดว่าโรงงานผลิตอาหารที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่สําคัญจะต้องมีการควบคุมเชิง ป้องกันที่ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารที่ผลิต แปรรูป บรรจุ หรือถือครองจะไม่เกิดการปลอมปน หรือหากเกิดการปลอมปน จะต้องมีการแจ้งบนฉลากบรรจุภัณฑ์

 

Proposition 65

ในเดือนตุลาคม 2566 สํานักงานประเมินอันตรายด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของรัฐแคลิฟอร์เนีย (California Office of Environmental Health Hazard Assessment – OEHHA) ได้ เสนอการแก้ไข Prop 65 ซึ่งในปัจจุบัน Prop 65 กําหนดให้บริษัทที่จําหน่ายผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคในรัฐแคลิฟอร์เนีย จะต้องมีการติดคําเตือนที่ “ชัดเจนและสมเหตุสมผล” ไม่ว่าจะคําเตือน ในรูปแบบสั้น (short-form) หรือรูปแบบยาว (long-form) ให้ผู้บริโภคทราบเกี่ยวกับการสัมผัสกับสารเคมีที่ OEHHA กําหนดว่าเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง หรืออันตรายต่อระบบสืบพันธุ์หากมีการสัมผัสเกินระดับปลอดภัยที่กําหนดไว้ แต่ตาม ข้อกําหนดเดิม OEHHA ไม่มีการบังคับว่าจะต้องใส่ชื่อสารเคมีที่เป็นอันตรายลงบนคําเตือนรูปแบบสั้น (short-form) ทําให้ บริษัทต่างๆเลี่ยงการใช้คําเตือนรูปแบบยาวบนฉลาก

สารเติมแต่งที่ส่งผลต่อผู้บริโภคสหรัฐอเมริกา

 

ตามข้อกําหนดใหม่ของ OEHHA บริษัทจะต้องระบุรายชื่อสารเคมีที่เป็นอันตรายอย่างน้อย 1 รายการบนคําเตือน รูปแบบสั้น และในกรณีที่เป็นการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซด์หรือแคตตาล็อกจะต้องมีคําเตือนบนผลิตภัณฑ์หรือแนบคํา เตือนมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ด้วย การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการแก้ไข Prop 65 ซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันท่ี 1 ม.ค. 2567 ได้รับความเห็นต่อต้านจากผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมจํานวนมาก โดยให้เหตุผลว่าการแก้ไขข้อบังคับบนคําเตือน รูปแบบสั้น นอกจากบริษัทจะต้องเปลี่ยนฉลากบนผลิตภัณฑ์ทุกตัวที่ใช้คําเตือนรูปแบบสั้นอยู่ในปัจจุบันแล้ว ยังต้องมีการ ปรับปรุงเว็บไซด์ และแคตตาล็อก ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกับผู้ค้าทั้งหมดเกี่ยวกับการการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งจะสร้าง ความยุ่งยาก เสียเวลา และเพิ่มต้นทุนต่อธุรกิจทั้งหมด นักวิจารณ์ในอุตสาหกรรมให้ความเห็นว่าประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายใน การปฏิบัติตามข้อกําหนดใหม่ของผู้ประกอบการรายละ 4,273 เหรียญสหรัฐ ที่ OEHHA ประมาณไว้ ไม่ถูกต้องและไม่ใช่ ต้นทุนการทําธุรกิจที่แท้จริง ผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์ไม่ซ้ํากันหลายพันรายการอาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 225,000 เหรียญสหรัฐฯ

 

โปรแกรม Unified Human Foods ของ FDA

 

การพัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารข้างต้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับการเปิดตัวโปรแกรม Unified Human Foods (HFP) ของ FDA ซึ่งเสนอให้รวม ศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหารและโภชนาการประยุกต์ (Center for Food Safety & Applied Nutrition) สํานักงานนโยบายอาหารและการตอบสนอง (Office of Food Policy & Response) และสํานักงานกํากับดูแล (Office of Regulatory Affairs – ORA) เข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อเป็นสํานักงานตรวจสอบและไต่สวน (Office of Inspections & Investigations – OII) ซึ่งจะได้รับมอบหมายให้กับกับดูแลการตรวจสอบภาคสนามและไต่สวน ข้อร้องเรียน และเบาะแสที่ได้รับจากผู้บริโภค ตามข้อมูลของ FDA โครงสร้างองค์กรใหม่ที่เสนอจะเสริมสร้างความสามารถของหน่วยงาน ในการดูแลและปกป้องสายโซ่อาหารสําหรับมนุษย์และผลิตภัฑณ์อื่นๆที่อยู่ภายใต้การควบคุมผู้ประกอบการไทยที่มีการส่งผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคเข้าไปจําหน่ายในตลาดสหรัฐฯ จําเป็นที่จะติดตามความ เคลื่อนไหวของการปรับแก้ไข การการออกระเบียบข้อบังคับใหม่ๆของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาการร้องเรียน และฟ้องร้องของผู้บริโภค และป้องกันปัญหาการถูกกักสินค้าของหน่วยงานศุลกากรสหรัฐฯ

 

สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส เมษายน 2567

 

หมายเหตุ: ข่าวข้างบนนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งที่จัดทําและนําเสนอข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป และบางส่วนเป็นความเห็นส่วนบุคคล สํานักงานส่งเสริม การค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส นํามารวบรวมเผยแพร่เพื่อแก่ผู้สนใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลและความเห็นจากบุคคลที่สาม การนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณเฉพาะบุคคล สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่อาจเกิดข้ึนจากการนําข้อมูลเหล่านี้ไปใช้

thThai