เมียนมามีแนวโน้มขนส่งทางเรือมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ช่วงเวลานี้เมียนมานิยมขนส่งสินค้าทางเรือมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีสถานการณ์ปะทะกันในพื้นที่ชายแดน โดยเฉพาะด่านเมียวดี-แม่สอด ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การปะทะกันดังกล่าว แม้สถานการณ์การปะทะกันดังกล่าวจะคลี่คลายลง แต่ความนิยมในการขนส่งทางเรือเป็นทางเลือกทดแทนยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤษภาคม 2567 ท่าเรือย่างกุ้งจะมีเรือบรรทุกสินค้าจำนวน 52 ลำ และเมื่อต้นเดือนเมษายน 2567 ทางการเมียนมาได้ประกาศใช้คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operation Procedure: SOP) สำหรับการขนส่งทางเรือ เพื่อให้ผู้ขนส่งทางเรือใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานต่อไป

ผลกระทบ/โอกาส ในช่วงเวลาที่ประสบกับสถานการณ์ปะทะกันที่ชายแดน การขนส่งสินค้าทางเรือเป็นทางเลือกที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพมากกว่าการขนส่งทางบก ส่งผลให้ท่าเรือย่างกุ้งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการค้าการขนส่ง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่มีการขนส่งปริมาณมาก เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่ว ยางพารา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์การปะทะกันในพื้นที่ชายแดนจะคลี่คลายลง แต่ความนิยมในการขนส่งทางเรือเป็นทางเลือกทดแทนก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อทางการเมียนมาได้ประกาศใช้ คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับการขนส่งทางเรือก็จะยิ่งส่งเสริมสนับสนุนการขนส่งทางเรือ และคาดว่าจะมีความนิยมและปริมาณการขนส่งทางเรือเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลดีต่อภาคเอกชนให้มีทางเลือกในการพิจารณาใช้เป็นเส้นทางขนส่งเพิ่มเติมต่อไป

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ การขนส่งทางเรือ อาจเป็น New Normal ในอนาคต ทดแทนการขนส่งทางบก เช่น เส้นทางด่านเมียวดีที่มีสถานการณ์ปะทะกันในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งแม้ปัจจุบันสถานการณ์จะคลี่คลายลงแต่การขนส่งทางเรือก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการขนส่ง อย่างไรก็ตาม นอกจากการขนส่งทางเรือ ภาคเอกชนสามารถพิจารณาเลือกใช้ด่านอื่นเป็นทางเลือกเพิ่มเติมด้วย เช่น ด่านแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก หรือ ด่านการค้าอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งต้องพิจารณาความคุ้มค่าเหมาะสมของแต่ละเส้นทางขนส่งต่อไป

********************************************

ที่มา: Global New Light of Myanmar

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง วันที่ 2 พฤษภาคม 2567

thThai