เยอรมนีได้ทยอยยกเลิกการใช้เงินสดอย่างช้า ๆ ในปี 2023 โดยการทำธุรกรรมและการชำระการซื้อสินค้า/บริการด้วยเงินสดที่เดิมอยู่ที่ 58.3% ลดลงเพียง 1% โดยประมาณเท่านั้น เมื่อเทียบกับปี 2022 จากการสำรวจตลาดโดยสถาบันวิจัยค้าปลีก (EHI – EHI Retail Institute e. V.) ซึ่งเป็นสถาบันค้นคว้าวิจัยและให้คำปรึกษาด้านการค้าปลีก เปิดเผยว่า ในปี 2021 สัดส่วนการใช้เงินสดสูงเกือบ 61% โดยเฉลี่ยแล้วลูกค้าชาวเยอรมันยังนิยมใช้ธนบัตรและเหรียญในการชำระค่าสินค้า/บริการ (โดยเฉพาะสินค้าและบริการที่มีราคาไม่สูง) และเมื่อพิจารณาในแง่ของยอดจำหน่ายที่มีการชำระด้วยเงินสดในร้านค้าปลีกแล้ว มีสัดส่วนเกือบ 36% ซึ่งลดลงน้อยกว่าปีก่อนหน้าเพียง 2% เท่านั้น ในขณะที่ สัดส่วนของยอดจำหน่ายในรูปแบบที่ชำระด้วยบัตรเพิ่มขึ้น 62% ส่วนที่เหลือเป็นการชำระเงินผ่านการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ได้พึ่งพาวิธีการชำระเงินวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว โดยจะเลือกวิธีในการชำระเงินแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับราคาสินค้าและบริการที่ต้องชำระ

 

และด้วยเงินสดยังคงเป็นที่ต้องการ โดยเฉพาะกับการชำระด้วยเงินสด ณ จุดชำระเงินของร้านค้า หรือที่เรียกว่า “Cashback” จึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยผู้บริโภคสามารถถอนเงินจำนวนหนึ่ง และเพิ่มลงในการซื้อของตนได้และชำระจำนวนเงินทั้งหมดด้วยบัตร ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ส่วนมากก็ให้บริการดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ดี EHI ได้ออกมาเตือนว่า “Cashback” อาจได้รับอันตรายและหายไป หากมีการชำระค่าสินค้าด้วยเงินสดน้อยลง เมื่ออัตราส่วนของการใช้เงินสดในร้านค้าปลีกลดลงเรื่อย ๆ “ในบางร้านค้าปลีกน่าจะเป็นการยากที่จะสามารถรักษาบริการนี้ให้สมบูรณ์แบบต่อไป” จากข้อมูลของ EHI ปริมาณการใช้งาน Cashback เพิ่มขึ้นจาก 2 พันล้านยูโร เป็น 12.3 พันล้านยูโร ในปี 2023 จากการศึกษาประจำปีผ่านข้อมูลของผู้ค้าปลีกแจ้งให้ทราบว่า ปัจจุบันผู้ค้าปลีกจ่ายเงิน 13% ของเงินสดที่พวกเขาครอบครองออกไปยัง Cashback โดยสถาบัน EHI สำรวจผู้ค้าปลีก 422 ราย ที่มียอดจำหน่ายรวมเกือบ 2.71 แสนล้านยูโร ซึ่งสอดคล้องกับ 56% ของยอดจำหน่ายร้านค้าปลีกในปีที่ผ่านมา ในระดับกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (Euro Zone) นั้น สัดส่วนการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยเงินสดของผู้บริโภคชาวเยอรมันก็ยังอยู่ในอัตราเฉลี่ยของ Euro Zone จากการสำรวจโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) ทำให้ทราบว่า ใน Euro Zone เงินสดเป็นวิธีการชำระเงินที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด โดยคิดเป็น 59% ของธุรกรรมทั้งหมด ปี 2022 สำหรับเยอรมนี ระดับในแบบสำรวจนี้ คือ 63% สัดส่วนการจำหน่ายสินค้าผ่านการชำระด้วยเงินสดใน Euro Zone อยู่ที่ 42% อย่างไรก็ตาม ระดับดังกล่าวก็มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ในระหว่างที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และฟินแลนด์ชำระค่าสินค้าและบริการชำระด้วยเงินสดที่ 20% โดยประมาณ แต่ในประเทศมอลตามีการชำระค่าสินค้าด้วยเงินสดสูงถึง 77% เปอร์เซ็นต์ ใน 6 ประเทศ รวมถึงอิตาลีและสเปนมีการชำระค่าสินค้าและบริการเป็นเงินสดสูงกว่าในเยอรมนี

 

เมื่อพูดถึงการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตร Girocard หรือที่รู้จักกันดีในชื่อเก่า “EC Card” ก็ยังมีอิทธิพลสูงอยู่ จากข้อมูลของ EHI พบว่า 42% ของยอดจำหน่ายทั้งหมดในปี 2023 มาจากการชำระเงินผ่านบัตร Girocard ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2022 สำหรับบัตรเครดิต ส่วนแบ่งนั้นต่ำกว่า 9% มีการใช้งานบัตรเดบิตของกลุ่มผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน Visa และ Mastercard จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งออกโดยธนาคารคู่สัญญา มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นมูลค่า 4% พวกเขากำลังแสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่สูงที่สุด EHI ตั้งข้อสังเกตว่า แต่การเติบโตนี้ก็สร้าง “ความผิดหวังให้กับผู้ค้าปลีก” มาก เนื่องจากการประมวลผลการชำระเงินด้วยบัตรเดบิตทั้ง 2 ผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน มีราคาสำหรับผู้ค่าปลีกสูงกว่าการรับบัตร Girocard แม้ว่าบัตรเดบิตทั้งหมดจะหักเงินโดยตรงจากบัญชีก็ตาม Girocard คือระบบการชำระเงินของอุตสาหกรรมการธนาคารเยอรมันของ ธนาคาร Sparkassen ธนาคาร Volksbanks รวมถึงธนาคาร Deutsche Bank และธนาคาร Commerzbank ส่วนใหญ่จะออกบัตร Girocards ด้วยบัญชีกระแสรายวันของธนาคารโดยมีบัตรคังกล่าวมากกว่า 100 ล้านบัตร อย่างไรก็ตาม ธนาคารสาขาของธนาคารต่างประเทศในเยอรมนี และบริษัทสตาร์ทอัพทางการเงินมักจะใช้บัตรเดบิตจาก Mastercard และ Visa ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

 

จาก Handelsblatt 10 พฤษภาคม 2567

thThai