ฮ่องกงจะมีนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวเป็นไปในทิศทางใด

 

ฮ่องกงจะกระตุ้นการท่องเที่ยวเป็นไปในทิศทางใด ผู้นำภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องการความร่วมมือจากภาครัฐมากยิ่งขึ้นเพื่อสอดคล้องนโยบายพัฒนาพื้นที่อ่าวเศรษฐกิจ

 

นโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวของฮ่องกงฉบับปัจุบันยังคงขาดความกระจ่างในแนวทางการทำงานร่วมกันของ หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาคการบิน โรงแรม บริการขนส่ง และธุรกิจด้านอาหาร Mr. Perry Yiu สมาชิกสภานิติบัญญัติของฮ่องกงชี้แจง

 

Mr. Caspar Tsui ผู้คร่ำหวอดในวงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ เสนอแนะว่าเราควรร่วมมือกับเมืองท่องเที่ยวอื่นๆของจีนเพื่อไม่เป็นการแข่งขันกัน

 

เหล่าผู้บริหารขององค์กรในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่างได้ออกมาชี้แนะว่า ทุกองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ควรทำงานแบบต่างฝ่ายต่างทำ ที่ขาดไม่ได้คือต้องคำนึงถึงหลักนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวให้ดำเนินไปกับนโยบายพัฒนาพื้นที่อ่าวเศรษฐกิจ (Greater Bay Area) ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ยังไม่เป็นที่ปรากฏในนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวในฉบับปัจจุบัน

 

สำหรับแผนดำเนินการร่างนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวของฮ่องกง หรือ “Tourism Blueprint 2.0” ในปีนี้ ได้มีการหารือระหว่างหน่วยงานภาคต่างๆ กับกลุ่มผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และตามที่ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง

 

Mr. John Lee Ka-chiu ได้กล่าวปฏิญานไว้ว่าจะมีการปรับปรุงนโยบายการท่องเที่ยวจากฉบับเดิมปีที่แล้วด้วยการชี้แจงสรุปเป้าหมายและกำหนดทิศทางการพัฒนาในภาคส่วนต่างๆของรัฐบาลเอง และการให้ความร่วมมือของทางภาครัฐกับภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ การหารือดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางเดือนมิถุนายน

 

Mr. Perry Yiu สมาชิกสภานิติบัญญัติผู้มีส่วนร่วมร่างกฏหมายการท่องเที่ยวให้ความเห็นว่าทางรัฐบาลจะต้องร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยกล่าวว่า

 

มีความจำเป็นโดยด่วนที่ต้องมีการร่างนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน หลังจากที่เราได้ผ่านสถานการณ์โรคระบาดมาแล้ว ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของความต้องการในด้านต่างๆของนักท่องเที่ยว

 

หน่วยงานต่างๆของทางรัฐบาลและกระทรวงการท่องเที่ยวต้องทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายของแต่ละองค์กร โดยต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับ ด้านวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว นอกจากนี้นโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวที่ยังดำเนินอยู่นั้นเป็นฉบับตั้งแต่ปี 2017 ถึงจะมีการเรียกร้องการสนับสนุนทางภาครัฐแต่ก็ยังไม่เป็นผล

 

การชี้แจงของ Mr. Perry Yiu ที่กล่าวถึงนโยบายฉบับปัจจุบันที่ยังใช้อยู่นี้ว่ายังขาดการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ เช่น ธุรกิจการบิน โรงแรม ผู้ประกอบการขนส่ง ผู้ประกอบการด้านอาหาร ผู้ประกอบการค้าปลีก ว่าหน่วยงานต่างๆเหล่านี้ทำงานร่วมกันและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร

 

ฮ่องกงยังคงเผชิญปัญหากับความพยายามที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว จากสถิติการเดินทางเยือนฮ่องกงของนักท่องเที่ยวชาวจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงวันหยุดยาว Golden week ตั้งแต่วันแรงงานวันที่ 1-5 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีจำนวนร้อยละ 66 เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงยุคโควิดเริ่มระบาดปี 2019

 

นักท่องเที่ยวจีนมีเปลี่ยนพฤติกรรมการท่องเที่ยวเปลี่ยนไป ต่างหันมาลดค่าใช้จ่ายระหว่างทริปและมุ่งเน้นการท่องเที่ยวเพื่อได้ประสบการณ์เท่านั้น

 

Mr. Caspar Tsui Ying-wai นายกสมาคมผู้บริหารโรงแรมกล่าวในขณะที่หารือร่วมกับ Mr. Yiu สมาชิกสภานิติบัญญัติ เน้นย้ำว่าจุดท่องเที่ยวเขตบริเวณอ่าวนั้นถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ หลังการแพร่ระบาดโควิด 19 สัดส่วนของนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนฮ่องกงกว่า 80% นั้นคือนักท่องเที่ยวชาวจีนแผ่นดินใหญ่

 

นอกจากนี้ฮ่องกงควรจะมีการประเมินขีดความสามารถในด้านการบิน และพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเดินทาง เราน่าจะได้เห็นโครงการสร้างสนามบินใหม่ขึ้นมาในเขตบริเวณอ่าวเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญคือเราต้องทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่านโยบายฉบับเก่าไม่มีการนำเสนอโครงการนี้

 

โครงการเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษบริเวณอ่าวนี้ได้ถูกนำเสนอขึ้นเป็นวาระแห่งชาติในปี 2017 เพื่อมุ่งเน้นการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ฮ่องกง-มาเก๊า และอีก 9 เมืองในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งได้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปี 2019

 

ฮ่องกงควรทำงานร่วมกับเมืองอื่นในเขตเศรษฐกิจนี้เพื่อสร้าง “แผนการท่องเที่ยว Greater Bay Area” ให้แน่ชัด เพื่อลดการแข่งขันและแย่งนักท่องเที่ยวกันเอง และรัฐบาลควรพิจารณาการสร้างแรงงานที่มีทักษะสำหรับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเนื่องจากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว โรงแรม สถานประกอบการด้านอาหารและร้านค้าปลีกต่าง ๆ ล้วนประสบปัญหาขาดกำลังคนที่มีทักษะ ซึ่งบุคลเหล่านี้จะต้องทำหน้าที่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ที่มีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ เช่น การบิน เรือสำราญ รถไฟความเร็วสูง และการขนส่งทางบก

 

การให้ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ คือสิ่งจำเป็นเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ และรัฐบาลต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น พร้อมทั้งคาดหวังให้รัฐบาลสามารถให้การสนับสนุนจัดหาแรงงานให้เพียงพอในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

 

Mrs. Gianna Hsu Wong Mei-lun ประธานสภาการท่องเที่ยว กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวควรนำเสนอกิจกรรมการกีฬาและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของฮ่องกงมาโปรโมทการท่องเที่ยว รวมทั้งกล่าวถึงการจัดงานและเทศกาลหลักว่าควรมีแบบแผนการจัดสำหรับผู้เข้าร่วมที่เป็นกลุ่ม บางงานและบางนิทรรศการนั้นจัดขึ้นสำหรับบุคคลทั่วไป น่าจะดีกว่าถ้าแยกให้มีการจัดลำดับเวลาในการเข้าร่วม

 

นอกจากนี้ ประธานสภาการท่องเที่ยวยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์เหล่านี้ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีความยากที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยการทำงานของหลายๆภาคส่วนด้วยกัน

 

Mr. Gary Ng Cheuk-yan นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Natixis Corporate and Investment Bank ได้มีความเห็นต่างว่าเราจะคาดหวังให้มีการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในขณะที่แนวโน้มการบริโภคลดลงและความชอบที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้

 

น่าจะเป็นเรื่องของชนชั้นกลางในฮ่องกงที่ไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอยในท้องถิ่นมากเหมือนเมื่อก่อน อัตราการบริโภคที่ลดลงถือเป็นปัญหาหลักที่สำคัญกว่าประเด็นอื่นคือ การเงินและการบริการทางวิชาชีพ

 

เราต้องให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจและรายได้ของประชากรของเราเองเพื่อสร้างทิศทางสถานการณ์ให้เป็นไปในทางบวกมากกว่าการให้ความสำคัญกับเรื่องที่ยังไกลตัว แม้ว่าฮ่องกงไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจระดับ     มหภาคได้ เช่น อัตราแลกเปลี่ยน แต่ถึงอย่างไรเราจะต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและรักษาภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจMr. Ng กล่าว

 

รัฐบาลต้องระดมผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างกลยุทธ์การท่องเที่ยวในระยะยาวมากกว่าการออกนโยบายที่ไม่เป็นผลและต้องใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า

 

เพื่อตอบคำถามที่ว่าฮ่องกงจะกระตุ้นการท่องเที่ยวได้อย่างไร ด้านกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวเผยว่ารัฐบาลจะมีการเชิญตัวแทนจากองค์กรณ์ที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อเข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะในการปรับนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวฉบับใหม่นี้ขึ้น  สำหรับความคิดเห็นของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวรายอื่นๆ ก็มีผลที่จะช่วยในการปรับร่างนโยบายฉบับใหม่นี้เช่นกัน Mr. Ng นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสกล่าวปิดท้าย

 

ความคิดเห็นของ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง

เขตบริหารพิเศษฮ่องกง นับเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวจากหลากหลายประเทศ ในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 34 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 65 ของจำนวนนักท่องเที่ยวเทียบกับก่อนสถานการณ์โควิด รายได้ส่วนหนึ่งของฮ่องกงจึงมาจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเช่นกัน การออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ผลักดันเศรษฐกิจภายใน รายได้ของประชากรเพิ่มขึ้นและมีการออกมาจับจ่ายใช้สอย ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจบริการในฮ่องกงถือเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมนี้จึงมีผลพลอยได้จากการออกนโยบายสนับสนุนในครั้งนี้ เช่น สินค้าและบริการของไทยที่ถูกจัดวางตามห้างร้านต่างๆ จะมีการเข้าถึงเพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคชาวฮ่องกงและผู้มาเยือนฮ่องกงจากประเทศอื่น ๆ สร้างโอกาสในการขยายการส่งออกมายังตลาดฮ่องกงต่อไป

thThai