ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า(Ministry of Industry and Trade: MOIT) ได้จัดการประชุมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในโลจิสติกส์ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของอีคอมเมิร์ซ รวมถึงการเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ
นาย จั่น ทัน ฮายห์ (Trần Thanh Hai) รองผู้อำนวยการฝ่ายนำเข้าและส่งออกภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ากล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามร่วมกับเศรษฐกิจในภูมิภาคและทั่วโลก ซึ่งขับเคลื่อนโดยการมีส่วนร่วมในข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreements: FTA) โดยสร้างโอกาสสำคัญในห่วงโซ่โลจิสติกส์ระดับโลก และโลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญในการเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ การผลิต ไปจนถึงการจัดจำหน่ายและการบริโภค เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
นาย ดิง ทัน เซินห์ (Dinh Thanh Son) รองผู้อำนวยการของ Viettel Post อ้างถึงดัชนีประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) ของเวียดนาม กล่าวว่า ภาคส่วนโลจิสติกส์แสดงให้เห็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเพิ่มขึ้น จาก 3.27 ในปี 2561 เป็น 3.3 ในปี 2566 โดยจัดอันดับประเทศที่ 43 จาก 154 ประเทศ และอันดับที่ 5 ในกลุ่มประเทศอาเซียน รายได้จากโลจิสติกส์อยู่ที่ประมาณ 42,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 14-16 ต่อปี โลจิสติกส์ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซในเวียดนาม
ปัจจุบันเวียดนามมีอัตราผู้ซื้อออนไลน์สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ที่ประมาณ 43.9 ล้านคน ซึ่งหมายความว่าระบบลอจิสติกส์จำเป็นต้องเพิ่มการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อตอบสนองความต้องการ
จากข้อมูลของสมาคมธุรกิจโลจิสติกส์ของเวียดนามคาดว่า อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของเวียดนามจะยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-25 ต่อปี ปัจจุบัน อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 20-25 ของ GDP ของประเทศ และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปีที่ร้อยละ 12 ในอนาคต สมาคมกล่าวว่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์จะช่วยลดต้นทุนการจัดส่งได้ร้อยละ 14 และเพิ่มปริมาณพัสดุได้ร้อยละ 13
เทคโนโลยียังช่วยให้ผู้ให้บริการลอจิสติกส์เพิ่มประสิทธิภาพผ่านเส้นทางการจัดส่งอัจฉริยะ และรับประกันอัตราความสำเร็จในการจัดส่งที่สูงขึ้น ซึ่งช่วยลดต้นทุนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ควรให้ความสนใจกับการรับรองข้อมูลและความปลอดภัยของการชำระเงิน ตลอดจนการดำเนินการโลจิสติกส์สำรองในอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการสินค้าที่ส่งคืนนอกจากนี้ สมาคมยังให้ข้อมูลว่า เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จำเป็นต้องปรับปรุงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการจัดการของรัฐและรัฐวิสาหกิจ และจำเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์และการวางแผนเครือข่ายให้ทันสมัย ภายใต้โครงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลระดับชาติจนถึงปี 2568 โดยมีวิสัยทัศน์ถึงปี 2573 โลจิสติกส์เป็นหนึ่งใน 8 อุตสาหกรรมที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญในแง่ของการปรับปรุงทางดิจิทัล
(จาก https://en.vietnamplus.vn/)
ข้อคิดเห็น สคต
ปัจจุบันผู้บริโภคเวียดนามนิยมซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น แม้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้คลี่คลายลงและประชากร กลับมาดําเนินใช้ชีวิตปกติแล้วแต่การซื้อของออนไลน์ในเวียดนามยังคงเพิ่มขึ้นและเป็นแนวโน้มการบริโภคสินค้าในรูปแบบใหม่ของผู้บริโภคเวียดนาม ช่องทางการซื้อสินค้าสมัยใหม่ในเวียดนามกำลังเติบโตอย่างมาก ในบริบทการประยุกต์ใช้ไอทีและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลกำลังกลายเป็นเทรนด์ที่มีความสำคัญในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ และสังคม แสดงให้เห็นถึงการสำคัญของภาคส่วนนี้ ดังนั้นการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการค้าปลีกสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจในเวียดนามได้ เนื่องจากพฤติกรรมและกำลังซื้อของผู้บริโภคเป็นอย่างสำคัญ อุตสาหกรรมค้าปลีกและโลจิสติกส์จึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นหนึ่งในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตเร็วที่สุด (ร้อยละ 36) อีคอมเมิร์ซในเวียดนามจึงมีศักยภาพในการพัฒนาอย่างมาก ซึ่งสร้างแรงผลักดันให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์พัฒนาอย่างแข็งแกร่ง ตลาดโลจิสติกส์ของเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 11 ในกลุ่มตลาดโลจิสติกส์ใหม่ทั่วโลก 50 แห่ง ด้วยการเติบโตของการส่งออกและนำเข้า ควบคู่กับการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ ถือได้ว่าเป็นข้อได้เปรียบอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เวียดนาม เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ผลิต หมุนเวียนภายในประเทศ และการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้บริการโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน หลายจังหวัดในเวียดนามได้จัดทำแผนด้านการพัฒนาโลจิสติกส์ สะท้อนให้เห็นในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การขยายท่าเรือ และการก่อสร้างศูนย์โลจิสติกส์ใหม่ๆ ซึ่งในการมีส่วนร่วมนี้ไม่เพียงนักลงทุนภายในประเทศ ทุนของรัฐ แต่ยังรวมถึงลงทุนจากต่างประเทศด้วย ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีเส้นทางในการกระจายสินค้าในเวียดนามมากขึ้น ทำให้ลดต้นทุนในการกระจายสินค้า รวมทั้ง ผู้ประกอบการด้านโลจิสต์ติกส์ของไทยก็จะมีโอกาสในขยายการค้าการลงทุนมาในตลาดเวียดนามด้วยเช่นกัน