สถานการณ์การค้าภาพรวมของออสเตรเลีย [1]
สถานการณ์การส่งออก
ปี 2567 เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 56,672 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 11.67) เป็นการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 34.83) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 29.68) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 7.43) ข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 3.43) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 3.16) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 13 (น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป และข้าวสาลีและเมสลิน)
การนำเข้าสินค้า
ปี 2567 เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ การนำเข้าสินค้าของออสเตรเลีย มีมูลค่า 45,950 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 0.82) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.47 ) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส (ร้อยละ 13.84) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 13.79) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 10.25) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.90) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ปี 2567 เดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ออสเตรเลียได้ดุลการค้า 10,722 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 มีมูลค่า 2,331 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 24.14) (สินค้านำเข้าหลักจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่ แชมพูและผลิตภัณฑ์ที่ไช้กับเส้นผม) และ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 1,396.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (48,877.5 ล้านบาท)
สถานการณ์การส่งออกสินค้าของออสเตรเลียในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่า 27,719 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หดตัวร้อยละ 9.31) โดยเป็นผลมาจากการส่งออกถ่านหินบิทูมินัส (ร้อยละ 35.28) สินแร่และหัวแร่เหล็ก (ร้อยละ 27.67) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป (ร้อยละ 6.70) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (ร้อยละ 3.63) และข้าวสาลีและเมสลิน (ร้อยละ 3.14) ประเทศส่งออกหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกงและ สหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 (ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ทองแดงบริสุทธิ์ อะลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปและเนื้อสัตว์สำหรับบริโภค)
สำหรับการนำเข้าสินค้าของออสเตรเลียในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีมูลค่า 23,156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ขยายตัวร้อยละ 11.27) โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์สำหรับขนส่งบุคคลและขนส่งของ (ร้อยละ 15.63) น้ำมันปิโตรเลียมที่ได้จากแร่ บิทูมินัส (ดีเซล) (ร้อยละ 14.48) เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (ร้อยละ 12.96) เครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์หรือสำหรับเครือข่ายไร้สายอื่นๆ (ร้อยละ 9.88) ยารักษาหรือป้องกันโรค (ร้อยละ 3.91) ประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ออสเตรเลียได้ดุลการค้าที่ 456.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 (รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรสำหรับการรับการเปลี่ยนและการส่ง หรือการสร้างเสียง ภาพหรือข้อมูลอื่นๆ ยางรถยนต์ใหม่และแชมพูและผลิตภัณฑ์ที่ไช้กับเส้นผม)
[1] Source: Global Trade Atlas
สรุปสถานการณ์การค้าไทย-ออสเตรเลีย [2]
เป้าหมายส่งออก | มูลค่าการค้ารวม (ล้าน US$) | มูลค่าการส่งออก (ล้าน US$) | มูลค่าการนำเข้า (ล้าน US$) | |||||||
ปี 2023
(%) |
ปี 2024
(%) |
ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | ปี 2023 | ปี 2024 | |||
ม.ค.-ก.พ. | +/- (%) | ม.ค.-ก.พ. | +/- (%) | ม.ค.-ก.พ. | +/- (%) | |||||
2.0
(8.21) |
1.0 | 18, 979.28
(3.62) |
3,230.58 | 12.42 | 12,106.0 (8.21) | 2,192.84 | 30.06 | 6,873.28
(-3.58) |
1,037.74 | -12.62 |
[2] Source: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
- การส่งออกสินค้าไทยไปออสเตรเลียเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีมูลค่า 1,094.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (40,485.4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 83 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์พลาสติก แต่การส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศและเม็ดพลาสติกลดลง
- การนำเข้าสินค้าของไทยจากออสเตรเลียเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 มีมูลค่า 9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (17,608.3 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 15.29 เป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าก๊าซธรรมชาติ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี น้ำมันดิบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เคมีภัณฑ์และด้ายและเส้นใย แต่การนำเข้าสินแร่โลหะอื่นๆ ถ่านหิน เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภคและนมและผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น