ค่ายรถใหญ่ญี่ปุ่นรายงานผลทดสอบเท็จ กระทบความน่าเชื่อถือระดับสากล

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกิดประเด็นความไม่โปร่งใสในอุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่นอย่างเนื่อง จากการรายงานผลทดสอบความปลอดภัยเป็นเท็จ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการตัดสินใจซื้อ โดยนอกจากจะกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตแล้ว ยังส่งผลถึงผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานด้วย

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2567 กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น  มีคำสั่งให้ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 5 บริษัท ระงับการจำหน่ายรถยนต์และรจักรยานยนต์เนื่องจากตรวจพบ   ผลการทดสอบเป็นเท็จ ประกอบด้วย (1) Toyota Motor Corporation รถยนต์ 7 รุ่น (2) Mazda Motor Corporation รถยนต์ 5 รุ่น (3) Yamaha Motor Corporation รถจักรยานยนต์ 3 รุ่น (4) Honda Motor Corporation รถยนต์ 22 รุ่น  และ (5) Suzuki Motor Corporation รถยนต์ 1 รุ่น

ในส่วนของ Toyota Motor Corporation พบผลทดสอบความปลอดภัยเป็นเท็จของรถยนต์ 7 รุ่น จำนวน 1.7 ล้านคัน โดยบิดเบือนผลการทดสอบการชน และการปรับแต่งกำลังของเครื่องยนต์ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับความปลอดภัยซึ่งเป็นหัวใจหลักของรถยนต์ทั้งสิ้น โดยโตโยต้าฯ ได้ระงับการส่งมอบรถยนต์ 3 รุ่นที่ยังอยู่ในสายพานการผลิต คือ Corolla Fielder, Corolla Axio และ Yaris Cross และจะปิดสายการผลิตในโรงงาน   ที่จังหวัดมิยางิ และอิวาเตะ ในเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ ประเมินว่าซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนกว่า 1,000 ราย  ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้

แม้ในปี 2566 โตโยต้าเป็นบริษัทญี่ปุ่นแห่งแรกที่มีกำไรจากการดำเนินงานรวมมากกว่า 5 ล้านล้านเยน จากยอดขายมากกว่า 10.3 ล้านคัน ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของโลก หากแต่อุตสาหกรรมรถยนต์ก็มีการแข่งขันที่เข้มข้น โดยนอกจากคู่แข่งขันจะเป็นค่ายรถจากตะวันตกแล้ว ยังมีจีนที่ขึ้นแท่นผู้นำการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ด้วย

thThai