เขตการค้าเสรีสร้างทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ของเวียดนาม

ในวันที่ 24 พฤษภาคม ปี 2567 นิตยสารกรมศุลกากรเวียดนามได้จัดงานสัมมนาที่กรุงฮานอยโดยในงานได้มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ เมื่อเวียดนามกำลังดำเนินการตามข้อตกลงของเขตการค้าเสรี (FTA)

นางสาว Nguyen Anh Tuyet ตัวแทนของสมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) กล่าวว่า ในปัจจุบันเวียดนามมี FTA ทั้งหมด 16 ฉบับ ซึ่งในแต่ละข้อตกลงต่างๆ จะระบุอัตรากับรถยนต์นำเข้า (Completely Built Up: CBU) และการลดภาษีเหลือร้อยละ 0 อาทิ ในความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA) ข้อตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม (UK-Vietnam Free Trade Agreement: UKVFTA) และความตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป
(The EU-Vietnam Free Trade Agreement: EVFTA) จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับตลาดรถยนต์ในการกระจายสินค้าและนำเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภคชาวเวียดนามมากขึ้น นอกจากนี้ อัตราภาษี CBU ที่นำเข้าจากสหภาพยุโรปจะลดลงประมาณ
ร้อยละ 6.4 ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งในปี 2567 ภาษีดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 38.1 และคาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2573 อย่างไรก็ตาม การลดภาษีนำเข้าส่งออกดังกล่าวมีผลกระทบต่อผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม ที่ต้องหาวิธีการรักษาส่วนแบ่งการตลาดของอุตสาหกรรมรถยนต์ในเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เวียดนามได้ออกคำสั่งในการยกเลิกภาษีนำเข้าและภาษีส่งออกจากประเทศในกลุ่มอาเซียน สินค้าในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ผลิตในเวียดนามจำนวนมากไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ เช่น ไทยและอินโดนีเซีย

นาย Le Huy Khoi รองผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์และนโยบายอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) กล่าวว่า นโยบายภาษีและแนวปฏิบัติตามกฎหมายของ EVFTA ในด้านรถยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ของเวียดนามอาจได้รับผลกระทบเนื่องจากเกิดจากนำเข้าส่วนประกอบและชิ้นส่วนจากสหภาพยุโรปเป็นจำนวนมาก แต่ในอีกด้าน เวียดนามจะมีโอกาสมากขึ้นในการนำเข้าเทคโนโลยีขั้นสูง รถยนต์ที่มีคุณภาพ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบจากสหภาพยุโรปในราคาที่ต่ำกว่า ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหรรมรถยนต์ นอกจากนี้ เวียดนามยังมีโอกาสที่จะส่งออกชิ้นส่วนและส่วนประกอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่สามารถผลิตได้ในประแทศ รวมทั้งยังเป็นพันธมิตรด้านการลงทุนหรือเป็นผู้ผลิตส่วนประกอบสำหรับผู้ประกอบการในสหภาพยุโรปที่ต้องการเจาะตลาดท้องถิ่นและภูมิภาคอื่นๆ

อย่างไรก็ตี นาย Khoi ยังให้ข้อสังเกตถึงความท้าทายของอุตสาหกรรมรถยนต์ หากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานหรือขาดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากที่ตลาดสหภาพยุโรปมีมาตรฐานในระดับที่สูงและระยะทางการขนส่งที่ไกลทำให้เป็นเรื่องยากต่อการเพิ่มโอกาสในการส่งออก ดังนั้น อุตสาหกรรมรถยนต์ของเวียดนามจำเป็นต้องศึกษาข้อตกลง รวมทั้งมาตรการต่างๆ ของ EVFTA อย่างรอบคอบ เพื่อเตรียมพร้อมในการใช้โอกาสจากข้อตกลงนี้ รวมทั้งในการแข่งขันในอนาคตหากแผนการการคุ้มครองภาษีสิ้นสุดลง

 

(จาก https://en.vietnamplus.vn/)

ข้อคิดเห็น สคต

เขตการค้าเสรี (FTA) เป็นประโยคแต่ยังมีความท้าทายต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ในเวียดนามเช่นกัน เมื่อเผชิญกับโอกาสและความท้าทายข้างต้น เวียดนามต้องปรับปรุงกำลังการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมรถยนต์ของเวียดนามมากขึ้น จึงต้องตระหนักถึงมาตรการการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมที่จะต้องได้รับการปรับเปรี่ยนเพื่อการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของภายในประเทศ ดังนั้นคาดว่าภายในเดือนมิถุนายนปี 2567 กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม (MoIT) จะดำเนินการร่างฉบับแรกของยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์จนถึงปี 2573 ที่มีเป้าหมาย ในการเพิ่มผลผลิต เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของรถยนต์ที่ผลิตในเวีดยนาม ด้านการส่งออกและการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่ระดับโลก มุ่งเน้นการพัฒนาสายการผลิตรถยนต์สีเขียวและพลังงานสีเขียว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณในการเตรีมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงของนโยบายและกฏหมายที่อาจมีผลต่อการส่งออกสินค้าของไทย โดยเฉพาะสินค้าในอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ

thThai