รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

1. ภาพรวมเศรษฐกิจสำคัญ/ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

         1.1 การเติบโตทางเศรษฐกิจ

ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของฟิลิปปินส์ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 แต่ลดลงจากร้อยละ 6.4 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2566 โดยภาคส่วนหลักที่มีส่วนร่วมในการเติบโตของ GDP ได้แก่ ภาคการเงินและการประกันภัยขยายตัวร้อยละ 10.0 ภาคค้าส่งและค้าปลีก; การซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 6.4 ภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 4.5 สำหรับภาคเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ภาคเกษตรกรรมป่าไม้และประมงขยายตัวร้อยละ 0.4 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.1 และภาคการบริการขยายตัวร้อยละ 6.9 ในส่วนของด้านอุปสงค์พบว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.6 ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐขยายตัวร้อยละ 1.7 ในส่วนการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 7.5 และการนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 2.3 สำหรับรายจ่ายเพื่อการสะสมทุนรวมเบื้องต้น (Gross Capital Formation) ขยายตัวร้อยละ 1.3 รายได้ประชาชาติ (Gross National Income) ขยายตัวร้อยละ 9.7 และรายได้ปฐมภูมิ (Net Primary Income) ขยายตัวร้อยละ 57.0

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 พฤษภาคม 2567)

1.2 ภาวะการลงทุน

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ฟิลิปปินส์มีการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment: FI) มูลค่ารวม 1.48 แสนล้านเปโซ ลดลงร้อยละ 63.6 จากช่วงเดียวกันของปี 2566 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 4.08 แสนล้านเปโซ โดยเป็นการลงทุนผ่านหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน 5 หน่วยงาน ได้แก่

– Board of Investments (BOI)

– Clark Development Corporation (CDC)

– Cagayan Economic Zone Authority (CEZA)

– Philippine Economic Zone Authority (PEZA)

– Subic Bay Metropolitan Authority (SBMA)

ทั้งนี้ การลงทุนจากต่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 พบว่าเป็นการลงทุนจากประเทศสิงคโปร์มากที่สุดคิดเป็นมูลค่าการลงทุน 7.01 หมื่นล้านเปโซ หรือคิดเป็นร้อยละ 47.2 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เนเธอร์แลนด์มีมูลค่าการลงทุน 3.89 หมื่นล้านเปโซ คิดเป็นร้อยละ 26.2 และเกาหลีใต้ มีมูลค่าการลงทุน 2.02 หมื่นล้านเปโซ คิดเป็นร้อยละ 13.6 สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ ไอน้ำ และการปรับอากาศ คิดเป็นร้อยละ 73.6 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมที่พักและบริการอาหาร (ร้อยละ 13.5) และอุตสาหกรรมการผลิต (ร้อยละ 8.5) ตามลำดับ โดยผลจากการลงทุนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ก่อให้เกิดการจ้างงาน 23,378 งาน หรือคิดเป็นร้อยละ 84.36 ของการลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศทั้งหมด

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

1.3 การบริโภคภายในประเทศ

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ระบุว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 4.6 ลดลงจากร้อยละ 6.4 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2566 และลดลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยการใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์มีมูลค่ามากที่สุด อยู่ที่ 1.27 ล้านล้านเปโซ ขยายตัวร้อยละ 0.5 รองลงมาได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านสินค้าเบ็ดเตล็ดบริการอื่นๆ มีมูลค่า 547,993 ล้านเปโซ ขยายตัวร้อยละ 6.0 และค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเชื้อเพลิง มีมูลค่า 473,011 ล้านเปโซ ขยายตัวร้อยละ 7.3 ตามลำดับ

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

1.4 อัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ในเดือนพฤษภาคม 2567 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 3.8 แต่อยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.1 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2567 มีสาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเชื้อเพลิง และค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

1.5 อัตราการจ้างงานและอัตราการว่างงาน

อัตราการจ้างงานในเดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ร้อยละ 96.0 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2567 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 96.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2566 ที่มีอัตราจ้างงานอยู่ที่ร้อยละ 95.5 สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 4.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2567 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 3.9 แต่ลดลงจากเดือนเมษายน 2566 ที่มีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 4.5

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

2. สถานการณ์การค้า (การส่งออก-นำเข้า)

2.1 การส่งออก

               การส่งออกของฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – เมษายน 2567 มีมูลค่ารวม 24,191.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีมูลค่าส่งออก 22,074.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ตารางที่ 2 แสดงถึงมูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของฟิลิปปินส์ โดยจำแนกตามประเภทของสินค้า และตารางที่ 3 แสดงถึงมูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของประเทศฟิลิปปินส์จำแนกตามตลาด

ตารางที่ 2 – มูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของฟิลิปปินส์ แยกตามประเภทของสินค้าในเดือนมกราคมเมษายน 2566/2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

ตารางที่ 3 – มูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้าส่งออกหลักของประเทศฟิลิปปินส์ แยกตามตลาดในเดือนมกราคม – เมษายน 2566/2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

2.2 การนำเข้า

การนำเข้าของฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – เมษายน 2567 มีมูลค่า 40,458.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีมูลค่า 41,361.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 2.2 ตารางที่ 4 แสดงถึงมูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์ โดยจำแนกตามประเภทของสินค้าและตารางที่ 5 แสดงถึงมูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์จำแนกตามแหล่งนำเข้า

ตารางที่ 4 – มูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์ แยกตามประเภทของสินค้าในเดือนมกราคมเมษายน 2566/2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

ตารางที่ 5 – มูลค่าและอัตราการขยายตัวของสินค้านำเข้าหลักของฟิลิปปินส์ แยกตามแหล่งนำเข้าในเดือนมกราคม – เมษายน 2566/2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

2.3 มูลค่าการค้าระหว่างไทย – ฟิลิปปินส์

มูลค่าการค้ารวมของไทยกับฟิลิปปินส์ ในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2567 อยู่ที่ 3,411.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีมูลค่า 3,473.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.75 ของการค้าไทยไปทั่วโลก สำหรับการส่งออกจากไทยไปยังฟิลิปปินส์ในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2567 มีมูลค่า 2,305.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีมูลค่า 2,430.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.45 ของการส่งออกไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันไทยมีการนำเข้าจากฟิลิปปินส์ในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2567 มีมูลค่า 1,105.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีมูลค่านำเข้า 1,043.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.10 ของการนำเข้าจากทั่วโลก

สรุปการค้าระหว่างไทย – ฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม –  เมษายน 2567 ปรากฏว่าไทยได้เปรียบดุลการค้าฟิลิปปินส์ เป็นมูลค่า 1,199.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตารางที่ 6 – สรุปการค้าระหว่างประเทศของไทยกับฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – เมษายน 2566/2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

2.4 การส่งออกสินค้าของไทยไปยังฟิลิปปินส์

เมื่อพิจารณาสินค้า 5 อันดับที่ไทยส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – เมษายน 2567 พบว่า สินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 678.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.38 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 รองลงมา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ข้าว เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเม็ดพลาสติก ตามลำดับ

ตารางที่ 7 – การส่งออกสินค้า 5 อันดับของไทยไปยังฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – เมษายน 2566/2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

2.5 การนำเข้าของไทยจากฟิลิปปินส์

เมื่อพิจารณาการนำเข้าสินค้า 5 อันดับของไทยจากฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – เมษายน 2567 พบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีมูลค่าสูงสุด 274.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 51.59 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 รองลงมา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ตามลำดับ

ตารางที่ 8 – การนำเข้าสินค้า 5 อันดับของไทยจากฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – เมษายน 2566/2567

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2567

  1. สถานการณ์และภาวะสินค้าเป้าหมายของไทยในตลาดฟิลิปปินส์

แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยมายังฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม – เมษายน 2567 ประเภทสินค้าหลัก 5 อันดับของไทยที่มีการขยายตัวในการส่งออกมายังตลาดฟิลิปปินส์ คือ ข้าว โดยสรุปข้อมูลสถานการณ์และภาวะสินค้าโดยสังเขป ดังนี้

           ข้าว

ฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่มีบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยมีการบริโภคเฉลี่ยมากถึงปีละประมาณ 16 ล้านตัน แต่สามารถผลิตข้าวได้เพียงปีละประมาณ 12 ล้านตัน ทำให้จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวปีละกว่า 3 ล้านตัน ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ยังเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มเสี่ยงที่สุดในเอเชียเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักพื้นฐานของประเทศที่มีความท้าทายหลายประการในการผลิตข้าวให้เพียงพอกับความต้องการและการขยายตัวของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากในแต่ละปี นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ต้องเผชิญ กับภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุไต้ฝุ่นที่ส่งผลต่อความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรทุกปี การขาดแคลนเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของประชากรในแรงงานภาคเกษตร และล่าสุดความกังวลต่อผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ที่อาจทำให้ผลผลิตข้าวในประเทศลดลง ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าในปีนี้ ฟิลิปปินส์อาจต้องนำเข้าข้าวมากถึง 4.1 ล้านตัน เพื่อเสริมอุปทานข้าวในประเทศและสำรองข้าวไว้ใช้ในยามขาดแคลน ทั้งนี้ ปัจจุบันฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในตลาดส่งออกข้าวศักยภาพของไทย โดยปัจจุบันไทยเป็นหนึ่งในแหล่งนำเข้าข้าวสำคัญของฟิลิปปินส์รองจากประเทศเวียดนามที่ครองส่วนแบ่งตลาดข้าวนำเข้าอันดับ 1 ในฟิลิปปินส์ โดยในปี 2566 ไทยส่งออกข้าวมายังฟิลิปปินส์ปริมาณ 210.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 184.23 จากปี 2565 ที่มีมูลค่า 74.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในปี 2567 (เดือนมกราคม – เมษายน) ไทยส่งออกข้าวมาฟิลิปปินส์มูลค่า 122.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 632.02 จากช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีมูลค่าส่งออก 16.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ข้าวไทยยังคงมีข้อได้เปรียบสำคัญในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานที่เป็นที่เชื่อมั่นใจของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ และราคาข้าวไทยปัจจุบันอยู่ในระดับใกล้เคียงกับคู่แข่ง แต่ยังคงต้องแข่งขันกับประเทศคู่แข่งสำคัญ คือเวียดนามที่มีพันธุ์ข้าวขาวพื้นนุ่มตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาและผลิตพันธุ์ข้าวให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะข้าวขาวพื้นนุ่มเพื่อตอบโจทย์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดฟิลิปปินส์จึงจะมีโอกาสในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวในฟิลิปปินส์ได้มากขึ้นต่อไป                

ข้อสังเกตเพิ่มเติม                                                             

เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในไตรมาสแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 แต่ลดลงจากร้อยละ 6.4 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2566 และยังต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ร้อยละ 6 – 7 ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียพบว่า ฟิลิปปินส์ยังคงเป็นประเทศที่มีการเติบโตของเศรษฐกิจที่เร็วที่สุดเหนือกว่าประเทศเวียดนาม (ร้อยละ 5.6) จีน (ร้อยละ 5.3) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 5.1) และมาเลเซีย (ร้อยละ 3.9) สำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2567 ได้รับแรงหนุนหลักจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการส่งออกโดยเฉพาะการฟื้นตัวของการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่การนำเข้าชะลอลง ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในระยะสั้นและระยะกลางจะยังคงเติบโตเชิงบวกแม้ว่าจะมีความเสี่ยงและความท้าทายที่เศรษฐกิจอาจชะลอตัวลงจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น นโยบายการเงินที่ตึงตัว อัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูง แนวโน้มการส่งเงินกลับประเทศของแรงงานฟิลิปปินส์อาจลดลง รวมถึงความกังวลต่อปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและการผลิต ส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น

สำหรับแนวโน้มสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยมายังตลาดฟิลิปปินส์ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม – เมษายน 2567 พบว่าการส่งออกสินค้าบางรายการของไทยมาฟิลิปปินส์ยังคงสามารถขยายตัวได้ดี โดยนอกจากสินค้าข้าวแล้วยังมีสินค้าที่มีศักยภาพและสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น ทองแดงและของทำด้วยทองแดง (+ร้อยละ 16.83) อาหารสัตว์เลี้ยง (+ร้อยละ 18.56) สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ (+ร้อยละ 25.26) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+ร้อยละ 38.21) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ (+ร้อยละ 29.03) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (+ร้อยละ 17.34) และไก่แปรรูป (+ร้อยละ 248.70) เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา

                                                           กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

14 มิถุนายน 2567

 

thThai