IMF ให้จับตาประเทศสมาชิก EAC ที่มองว่ามีความเปราะบางจากปัญหาภายในประเทศ กลับกลายเป็นประเทศที่มีการเติบโตของ GDP เร็วที่สุดใน EAC (ซูดานใต้ บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC)

กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF กำหนดให้ประเทศซูดานใต้ บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) เป็นประเทศสมาชิกประชาคมแอฟริกาตะวันออก (EAC) ที่มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2567 – พ.ศ. 2568 แม้ว่าทั้งสามประเทศนี้จะเป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ในรายงานสถานการณ์ที่เปราะบางและได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งภายในประเทศนั้นก็ตามที

 

ทาง IMF ได้คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของซูดานใต้จะเติบโตจากเดิมร้อยละ 5.6 เป็นร้อยละ 6.8 คิดเป็นการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 1.2 แม้ว่า ประเทศจะต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจหยุดชะวักและปัญหาการด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากสงครามในประเทศเพื่อนบ้านอย่างซูดานก็ตาม หรือ การเติบโตของ GDP ในประเทศบุรุนดีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.3 เป็นร้อยละ 5.4 และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) จะเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 5.7

 

ประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ของ EAC เมื่อเดือนที่แล้วอย่างประเทศโซมาเลียนั้น ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจเลย ส่วนประเทศเคนยาและรวันดามีการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำที่สุดที่ร้อยละ 0.1 และ 0.3 ตามลำดับ แต่

 

เคนยายังคงเป็นประเทศที่มีการคาดการณ์ GDP สูงที่สุดในปีพ.ศ 2567 ที่ 104 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 7 โดยรวมในรายชื่อประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา และประเทศแทนซาเนียเป็นประเทศเดียวใน EAC ที่ติด 10 อันดับแรกของแอฟริกา โดยมีมูลค่า GDP ปัจจุบันอยู่ที่ 79 พันล้านเหรียญสหรัฐ

 

แนวโน้มทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา (Sub Sahara) ค่อยๆ ดีขึ้น ตามลำดับหลังจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก อันเนื่องมาจากการระบาดครั้งใหญ่ของ Covid-19 การเติบโตของ GDP ทั่วทั้งภูมิภาคคาดว่า จะสูงถึงร้อยละ 4.0 ในปี พ.ศ. 2568 หลังจากที่เพิ่มขึ้นมาถึงร้อยละ 3.4 ในปีพ.ศ. 2566 และร้อยละ 3.8 ในปีพ.ศ. 2567 และคาดว่าจะเติบโตต่อไปได้อีก

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังความเสี่ยงยังคงมีอยู่ เนื่องจากรัฐบาลในเกือบทุกประเทศ ยังคงต้องต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนทางการเงิน ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น และการชำระหนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้น ความท้าทายเหล่านี้ทำให้ ประเทศในกลุ่มตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารายังคงต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมจากประชาคมระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต

 

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและซูดานใต้ต่างต้องประสบกับสถานการณ์ความมั่นคงที่ยากลำบาก ในกรณีของ DRC เนื่องจากความขัดแย้งอันดุเดือดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ แม้จะมีสัญญาณบ่งว่าได้บรรเทาเบาบางลงไปบ้าง และอาจกลับมาเป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในระยะยาวได้ในภายภาคหน้า แม้ว่า DRC จะติดหนึ่งในสามของประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเร็ว แต่ก็ยังเป็นอันดับรองจากบุรุนดีในแง่ของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาค EAC ที่ยังมีความผันผวนที่สูงมากกว่านั่นเอง

 

การคาดการณ์เชิงบวกของประเทศบุรุนดี หลังจากเจ้าหน้าที่ IMF ได้ไปเยือนเมืองท่าค้าขายและเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างเมือง Bujumbura เมื่อต้นปีนั้นได้ตั้งข้อสังเกตว่า GDP ที่แท้จริงได้ดีดตัวขึ้นจากการเติบโตร้อยละ 2.7 ในปี 2566 เป็นร้อยละ 4.3 ในปีนี้ และคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตแข็งแกร่งขึ้นอีกในอนาคต

 

จากการประเมินสถานการณ์โดย IMF ล่าสุดที่มีต่อประเทศซูดานใต้ เมื่อเดือนธันวาคม 2566 ปีที่ผ่านมาเพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายการคลังระยะกลางเพื่อแก้ไขปัญหาความเปราะบางของประเทศ ตามรายงานจะเห็นว่า ความพยายามของรัฐบาลกลางในการรักษานโยบายเศรษฐกิจมหภาค ดังที่เห็นได้จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศที่ไม่ผันผวนมากจนแสดงสัญญาณของเสถียรภาพที่ดี แม้จะยังมีความเสี่ยงต่อปัญหาหนี้สินในระดับสูงท่ามกลางระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศและมาตราการทางการคลังที่ได้มาตรฐานอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ทาง IMF ได้แต่งตั้งที่ปรึกษาด้านการจัดการการเงินตราระหว่างประเทศ และด้านนโยบายการคลังตามคำขอของทางการซูดานใต้ เพื่อให้มาช่วยในการปฏิรูปทางการดำเนินการด้านงบประมาณ การจัดการเงินสด และมาตรฐานการรายงานทางการเงินของประเทศ

 

ตามรายงานยังคงคาดการณ์ว่า ราคาผู้บริโภคโดยเฉลี่ย (average consumer prices) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกจะลดลงเหลือร้อยละ 8.5 ในปี 2568 จากเดิมร้อยละ 19.9 ในปี 2566 และร้อยละ 17.6 ในปี 2567 ซึ่งจะเป็นเกณฑ์ราคาผู้บริโภคต่ำสุดที่บันทึกไว้ในรอบเกือบสองทศวรรษ ในขณะเดียวกันสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกก็ใกล้จะสิ้นสุดโครงการระยะเวลา 3 ปี มูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐที่ได้ร่วมมือกับ IMF ซึ่งถือเป็นโครงการแรกระหว่างทั้งสองฝ่ายในแง่ของการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยรัฐบาล และหากรัฐบาลแสดงความสนใจที่จะจัดทำโครงการอื่นเมื่อโครงการปัจจุบันสิ้นสุดลงทาง IMF ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

 

การผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจจะได้รับแรงผลักดันจาการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การลงทุนโดยภาครัฐ และการปฏิรูปเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินอยู่ภายใต้ข้อตกลง Extended Credit Facility (ECF) มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนความยืดหยุ่นของภาคการเงินในช่วงหลังการแพร่ระบาดใหญ่ของ Covid-19 ที่ผ่านมา

 

ความเห็นของ สคต.

 

การให้ความเห็นของ IMF ต่อประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับสูงไม่ว่าจะเป็น ชูดานใต้ บูรันดี และ สป.คอง หรือ DRC นั้น แสดงให้เห็นว่า ยังมีโอกาสด้านการค้าและการลงทุนในแอฟริกาอยู่อย่างมากมาย แม้จะมีความเสี่ยงในหลายด้าน แต่ก็ไม่อาจจะหยุดการเจริญเติบโตเหล่านี้ได้ และ IMF ก็มีความมั่นใจในเชิงบวก และพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับประเทศเหล่านี้ ซึ่งในมุมมองของประเทศไทยนั้น หลายประเทศข้างต้น เป็นประเทศที่มีการค้ากับไทยน้อยมาก โดยสถิติการส่งออกของไทยกับ 3 ประเทศนี้ มีดังนี้ สป.คองโก (ปี 2566 มูลค่า 25.6 ล้าน USD) บูรันดี (ปี 2566 มูลค่า 1.63 ล้าน USD) และซูดานใต้น่าจะไม่ถึง 1 ล้าน USD (ไม่มีสถิติอย่างเป็นทางการ)

 

อย่างไรก็ดี แม้จะมีมูลค่าระหว่างไทยกับประเทศทั้ง 3 ค่อนข้างน้อย แต่เราไม่ควรมองข้ามโอกาสที่จะเข้าไปขยายตลาดในประเทศเหล่านี้ เมื่อมีโอกาสทางการค้าที่แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และอีกประการหนึ่งที่ ไทยอาจมีการเริ่มเจรจาการค้ากับกลุ่มประเทศใน East African Community (EAC) ในอนาคตอันใกล้ สคต. เห็นว่า ผู้ประกอบการไทยควรเริ่มหันมามองประเทศเหล่านี้เพื่อเป็นตลาดการค้าทีสำคัญประเทศหนึ่งในแอฟริกาต่อไป ซึ่ง สคต. จะได้รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกี่ยวกับประเทศในกลุ่มนี้ ให้ทราบในโอกาสต่อไป

 

ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke

 

ที่มา : The EastAfrican

thThai