ขนาดของตลาดชุดอาหารของเกาหลีมีมูลค่าถึง 3.76 แสนล้านวอนในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 จากปีก่อนหน้า และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึงร้อยละ 81.8 ตั้งแต่ปี 2561 คาดการณ์ได้ว่าการบริโภคชุดอาหารในเกาหลีมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้การทำตลาดผ่านสินค้าไทยโดยตรงอาจเป็นเรื่องยากในปัจจุบัน แต่หากสามารถร่วมมือกับบริษัทในเกาหลีได้ อาทิ การจัดหาวัตถุดิบอาหารให้กับผู้ผลิตและจัดจำหน่ายของเกาหลี จะเป็นการขยายโอกาสทางการค้าที่ดีได้

 

สถานการณ์ธุรกิจโดยรวม

คำจำกัดความของชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit)

  • อ้างอิงจากรหัสหมวดอาหารของกระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา (MFDS) ชุดอาหารพร้อมปรุง หรือ Meal Kit หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยวัตถุดิบอาหารหลายชนิด อาทิ อาหารทะเลหรือเนื้อสัตว์แปรรูป ผักแปรรูป หรือ เส้น และเครื่องปรุงรสที่ยังไม่ผ่านการปรุงหรือทำความร้อน ในบรรจุภัณฑ์เดียวกัน และมีปริมาณที่ถูกต้องสำหรับการปรุงเมนูอาหารนั้นๆ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถปรุงและบริโภคได้ง่ายที่บ้าน
  • เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 กระทรวงความปลอดภัยอาหารและยาได้จดทะเบียนให้ “ชุดอาหารพร้อมปรุง” เป็นสินค้าอาหารภายใต้ประเภท Ready to Prepare (RTP) ประเภทสินค้าใหม่ของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานหรือ Home Meal Replacement (HMR) เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรม

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

  • ชุดอาหารพร้อมปรุงภายใต้ประเภท Ready to Prepare (RTP) ยังสามารถแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
    • ชุดอาหารพร้อมปรุงทั่วไปที่มีวัตถุดิบเป็นเนื้อสัตว์ ซึ่งมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 60
    • ชุดอาหารพร้อมปรุงที่เน้นเนื้อสัตว์แปรรูป อาทิ แฮม ไส้กรอก เบคอน เนื้อปรุงรส หรือเนื้อบดเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งมีสัดส่วนเกินร้อยละ 60
  • ประเภทรายการอาหารของชุดอาหารพร้อมปรุง
    • โดยส่วนใหญ่ ชุดอาหารที่จัดจำหน่ายตามช่องทางการค้าต่างๆ มักจะแบ่งตามประเภทเมนูและแหล่งต้นกำเนิดของเมนูนั้นๆ ดังนี้

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

 

ขนาดและมูลค่าของธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุงในเกาหลีใต้

ในปี 2565 ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุงของเกาหลีมีมูลค่าถึง 3.76 แสนล้านวอน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 จากปีก่อนหน้า นับตั้งแต่ปี 2561 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึงร้อยละ 81.8

  • ความนิยมต่อชุดอาหารพร้อมปรุงได้เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการอาหารนอกบ้านลดลง ซึ่งก็เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและค่าครองชีพที่มีอัตราสูงขึ้นที่ส่งผลให้การใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านเพิ่มขึ้นตาม
  • ชุดอาหารพร้อมปรุงจึงกลายเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคพิจารณาแล้วว่า มีคุณภาพและคุ้มค่าทั้งด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและเวลาในการปรุงอาหาร อีกทั้งยังสามารถสั่งซื้อได้ง่ายผ่านทางออนไลน์หรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป ตอบสนองผู้บริโภคด้านความสะดวกสบายได้ดี

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

 

ช่องทางการกระจายสินค้าและจัดจำหน่ายชุดอาหารพร้อมปรุงในเกาหลี

สถานะการกระจายและจัดจำหน่ายสินค้าชุดอาหารพร้อมปรุง

    • ช่องทางออฟไลน์
      • ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อต่างก็กำลังเพิ่มจำนวนสินค้าและติดตั้งมุมจำหน่ายชุดอาหารพร้อมปรุงโดยเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นนี้
        • E-Mart ได้จัดตั้งมุมจำหน่ายสินค้าชุดอาหารพร้อมปรุง โดยเฉพาะและเพิ่มสถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้ประเภทสินค้าจาก 26 รายการในปี 2564 มาเป็น 40 รายการในปี 2565 และมีการผลิตสินค้าชุดอาหารพร้อมปรุงภายใต้ Private Brand (PB) “Peacock” โดยในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2565 มูลค่าการจำหน่ายของ Peacock เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
        • Homeplus ได้จัดตั้งมุมจำหน่ายสินค้าชุดอาหารพร้อมปรุงโดยเฉพาะในปี 2565 และได้ขยายประเภทผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย ส่งผลให้ยอดจำหน่ายชุดอาหารพร้อมปรุงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
        • GS Retail ซึ่งดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ก็ได้เข้าร่วมตลาดชุดอาหารพร้อมปรุงสถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้อย่างจริงจัง โดยในปี 2565 ได้ลงทุน 2 พันล้านวอนกับบริษัท Kaviar จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายชุดอาหารพร้อมปรุงจากเมนูของร้านอาหารชื่อดังหรือ Restaurant Meal Replacement (RMR)
        • CU ร้านสะดวกซื้อที่มีจำนวนสาขามากที่สุดของเกาหลี ได้สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้เปิดตัวสินค้า “Pyunkit lab” ชุดอาหารพร้อมปรุงขนาดเล็กและพกพาได้สะดวก โดยมุ่งเน้นที่กลุ่มผู้บริโภคจากครัวเรือนเดี่ยวเป็นหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักของร้านสะดวกซื้อ
  • ช่องทางออนไลน์
    • ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อสินค้าเพื่อมาส่งถึงหน้าบ้านได้อย่างสะดวกสบาย และมีอัตราการสั่งซื้อผ่านทางออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายกว่าช่องทางออฟไลน์
      • ในไตรมาสแรกของปี 2566 การจำหน่ายชุดอาหารพร้อมปรุงของ Market Kurly ซึ่งสถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้เป็นผู้จำหน่ายสินค้าอาหารออนไลน์ ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 660 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสแรกของปี 2563

 

  • ร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง
    • ร้านค้าที่จำหน่ายเฉพาะชุดอาหารพร้อมปรุง ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วง COVID-19 ก็ชะลอตัวลงในปัจจุบัน เนื่องจากผู้บริโภคกลับมาใช้จ่ายผ่านร้านค้าออฟไลน์ เช่น ไฮเปอร์มาร์เก็ต และช่องทางออนไลน์แทน

ส่วนแบ่งทางตลาดของธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง แบ่งตามแบรนด์

    • ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ Private Brand (PB) คิดเป็นร้อยละ 59.2 ของตลาดชุดอาหารพร้อมปรุงทั้งหมดของเกาหลี โดยส่วนแบ่งทางตลาดของ Peacock (E-Mart) คิดเป็นประมาณร้อยละ 30 นอกจากนี้ ยังมี Private Brand (PB) ของไฮเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้ออื่นๆ อาทิ Signiture (Homeplus) Yorihada (Lottemart) Simply Cook (GS25) และ Convenient Restaurant (Ministop) ที่แข่งขันในตลาดนี้อย่างดุเดือดเช่นกัน
    • นอกจากนี้ ร้านอาหาร อาทิ Shilla Dining at Home (Hotel Shilla) Walkerhill Gourmet Premium Meal Kit (Walkerhill Hotel & Resort) และ 63 Dining Meal Kit (Hanwha Hotel & Resort) ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ชุดอาหาร RMR (Restaurant Meal Replacement) ออกมาเช่นกัน ซึ่งมุ่งเน้นความ พรีเมี่ยมของเมนูดังกล่าว

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

 

แนวโน้มและประเด็นต่างๆ ในธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง

1. ผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุงจากร้านอาหาร (Restaurant Meal Replacement: RMR)

    • ความนิยมของผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุงจากร้านอาหาร (RMR) ยังคงขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์นี้สามารถมอบประสบการณ์ในการรับประทานอาหารจากร้านอาหารชื่อดังในหลากหลายเมนูแก่ผู้บริโภคในบ้านพักได้
    • มีความสะดวกในการปรุงอาหาร เนื่องจากมีสูตรอาหารและเครื่องปรุงประกอบมาด้วย รวมถึงมีราคาย่อมเยา เมื่อเทียบกับการซื้อวัตถุดิบแยกต่างหาก หรือการรับประทานที่ร้านอาหารโดยตรง
    • ผู้ประกอบการต่างเข้าร่วมในตลาดนี้ผ่านการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่ โดยมีการร่วมมือในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือต่างอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ให้ความสนใจกับการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างจากเดิม

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

2. ผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุงสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง

    • จากการที่ความนิยมในกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ เพิ่มขึ้น ตั้งแต่หลังการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ความต้องการต่อชุดอาหารพร้อมปรุงที่สามารถจัดเตรียมในสถานที่กลางแจ้งเพิ่มขึ้นตาม
    • ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ มักได้รับความนิยมในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (ประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม) และฤดูใบไม้ร่วง (ประมาณเดือนกันยายน-พฤศจิกายน) เนื่องจากเป็นช่วงเวลาสำหรับกิจกรรมแคมป์ปิ้งที่มีระยะเวลาจำกัด
      • การจำหน่ายชุดอาหารพร้อมปรุงสำหรับแคมป์ปิ้งของ My Chef ในปี 2565 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับปี 2564
      • การจำหน่ายชุดอาหารพร้อมปรุงสำหรับแคมป์ปิ้งของ Fresheasy ในเดือนพฤษภาคม ปี 2565 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

3. ผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุงขนาดเล็ก

    • ชุดอาหารพร้อมปรุงโดยส่วนใหญ่แล้วมักมีขนาดสำหรับ 2-3 คน จึงมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุงขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่เป็นครัวเรือนเดี่ยว อีกทั้งยังสามารถลดปัญหาของขยะอาหาร (Food Waste) ได้
    • จากการที่สินค้ามีขนาดเล็กและราคาย่อมเยากว่าขนาดปกติ ผู้บริโภคสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการบริโภคสินค้านี้ได้ ความต้องการในตลาดจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

4. ผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุงชนิดแช่แข็ง

    • ชุดอาหารพร้อมปรุงชนิดแช่แข็งได้ถูกพัฒนาและเปิดตัวมาเพื่อแก้ไขปัญหาชุดอาหารพร้อมปรุงที่หมดอายุเร็ว จากการสำรวจโดย Rural Development Administration (RDA) ในปี 2565 พบว่า ร้อยละ 37 ของผู้บริโภคชุดอาหารต้องการชุดอาหารพร้อมปรุงรูปแบบแช่แข็งมากกว่าแบบแช่เย็น (ร้อยละ 29)
    • ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มูลค่าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุงชนิดแช่แข็ง แบรนด์ Homeplus Signature Home Meal จาก Homeplus เพิ่มขึ้นร้อยละ 204 รวมถึง แบรนด์ Yorihada จาก Lotte Mart ก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 ในเดือนตุลาคม 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

5. ผลิตภัณฑ์ชุดอาหารทะเลพร้อมปรุง

    • โดยทั่วไป ผู้บริโภคมักจะเผชิญความยากในการเตรียมวัตถุดิบและขั้นตอนการปรุงอาหารทะเล การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ชุดอาหารทะเลพร้อมปรุงจึงสามารถเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดี มีคาดการณ์ว่ามูลค่าจำหน่ายจะขยายตัว พร้อมกับประเภทเมนูที่หลากหลายขึ้น
    • ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างสินค้าที่ใช้เนื้อหมูและวัวเป็นหลัก ผู้ประกอบการบางหลายจึงเลือกที่จะสร้างโอกาสการค้าในชุดอาหารทะเลพร้อมปรุงแทน
      • GS Retail ร่วมมือกับกระทรวงมหาสมุทรและประมงเกาหลีในปี 2566 เพื่อพัฒนาและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ชุดอาหารทะเลพร้อมปรุงเมนูซุปปลาร็อคฟิช และได้จัดจำหน่ายที่ GS The Fresh ทั่วประเทศ

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

6. ผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

    • ด้วยความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมและวัตถุดิบอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้บริโภคนี้ ส่งผลให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุง เพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งด้านบรรจุภัณฑ์และวัตถุดิบ จากการที่วัตถุดิบแต่ละชนิดในชุดอาหารมักบรรจุแยกกันในถุงขนาดเล็ก เพื่อรักษาความสดใหม่ แต่การใช้บรรจุภัณฑ์แบบพลาสติกในปริมาณมากนี้ก็ถือเป็นการก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้
      • อ้างอิงจากข้อมูลของ Korea Consumer Agency ในปี 2565 พบว่า วัสดุผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับชุดอาหารพร้อมปรุง มีทั้งสิ้น 4 ประเภท ได้แก่ ไวนิล พลาสติกชนิด PET พลาสติกชนิด PP และกระดาษ และอัตราการรีไซเคิลของวัสดุผลิตบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดอยู่ที่ร้อยละ 69.2 ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุง
    • ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการหลักในประเทศต่างกำลังลดการใช้จากบรรจุภัณฑ์พลาสติกในปริมาณที่มากเกินไป และหันมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาทิ กระดาษหรือกระดาษจากเยื่อรีไซเคิล (recycled pulp) เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
      • Fresheasy ได้เปลี่ยนจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมดเป็นชนิดกระดาษ ซึ่งเป็นการลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกถึงร้อยละ 90
      • My Chef ได้ลงนามในข้อตกลง “Eco-friendly meal kit packaging agreement” กับ Hansol Paper บริษัทผลิตและจำหน่ายวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปี 2564 เพื่อพัฒนาภาชนะกระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “Protego” และนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ชุดอาหาร
      • แบรนด์ Peacock จาก E-Mart ก็ได้นำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ เช่น ฝารีไซเคิล และภาชนะที่ทำจากไม้ไผ่และอ้อย ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการใช้กระดาษประมาณ 1,800 ตัน และพลาสติกประมาณ 130 ตันต่อปี

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

    • นอกจากนี้ ชุดอาหารพร้อมปรุงที่ประกอบด้วยวัตถุดิบเพื่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มของการดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาพดี เช่น ชุดอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
      • ชุดอาหารพร้อมปรุงที่ใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้รับความนิยมเป็นพิเศษในอุตสาหกรรมอาหารสำหรับทารก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักปลอดสารกำจัดศัตรูพืชและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปลอดยาปฏิชีวนะ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองในการจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้แก่บุตรหลาน

สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้

โอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง

  • จากข้อมูลข้างต้นชี้ให้เห็นว่า การบริโภคชุดอาหารพร้อมปรุงจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเกาหลีใต้ จากความเห็นของผู้บริโภคที่ต้องการให้พัฒนาสินค้าในด้านต่างๆ อาทิ ประเภทรายการอาหาร (ร้อยละ 26.9) รสชาติ (ร้อยละ 22.7) ราคา (ร้อยละ 22.4) สินค้าชนิดพรีเมี่ยม (ร้อยละ 9.0) บรรจุภัณฑ์ (ร้อยละ 7.6) รวมถึง วัตถุดิบเพื่อสุขภาพ (ร้อยละ 4.3)
  • ในปัจจุบัน มีผู้ประกอบการไทยเพียงไม่กี่รายในธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุงของตลาดเกาหลี ในส่วนของสินค้าจากไทยโดยตรง อาทิ ชุดผัดไทพร้อมปรุงจากร้านทิพย์สมัยที่วางจำหน่ายใน E-Mart นอกจากนั้น จะเป็นชุดอาหารพร้อมปรุงที่ผลิตโดยผู้ประกอบการในเกาหลีที่เป็นเจ้าของร้านอาหารไทย ที่นำเมนูและสูตรมาประยุกต์ใช้ในการผลิตชุดอาหารพร้อมปรุงมาจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ รวมถึงจำหน่ายในร้านอาหาร จากข้อกำหนดด้านอาหารและศุลกากรที่ทำให้การส่งออกชุดอาหารมายังเกาหลีใต้ข้อจำกัด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์และผัก ทำให้การส่งออกชุดอาหารพร้อมปรุงจากไทยโดยตรงมีแนวโน้มเป็นไปได้ยาก
  • อย่างไรก็ดี จากการที่ความสนใจต่ออาหารไทยในเกาหลีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากจำนวนร้านอาหารไทยและจำนวนการพูดถึงเมนูอาหารไทย การร่วมมือระหว่างผู้นำเข้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตในเกาหลีใต้กับร้านอาหารชื่อดังของไทย ในการนำสูตรอาหารไทยมาประยุกต์ใช้ในเกาหลีใต้ หรือการร่วมกันพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุง จะเป็นโอกาสสำหรับการส่งออกซอฟพาวเวอร์ด้านอาหารของไทยได้อย่างดี

 

ความเห็นสำนักงานฯ ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุงของเกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะขยายตัวและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยแรงผลักดันจากความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งนำมาสู่ความหลากหลายของสินค้าในตลาด ครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภคหลายกลุ่มและหลายช่วงอายุ อาทิ ชุดอาหารพร้อมปรุงสำหรับทารกที่ปลอดสารเคมีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ ชุดอาหารพร้อมปรุงจากร้านอาหารที่มีชื่อเสียงได้สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างจากเดิมให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบความแปลกใหม่ เป็นต้น

 

สำหรับโอกาสของผู้ส่งออกไทย เมนูอาหารของไทยถือว่ามีการรับรู้และคุ้นเคยในหมู่ของผู้สถานการณ์ธุรกิจชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ของเกาหลีใต้บริโภคเกาหลีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา ชาวเกาหลีจะนิยมรับประทานเมนู เช่น ปูผัดผงกะหรี่ ต้มยำกุ้ง ผัดไทย ส้มตำ แต่ในปัจจุบัน จะมีเมนูใหม่ๆ อาทิ ก๋วยเตี๋ยวต่างๆ และต้มเล้งแซ่บ ที่กำลังได้รับความนิยมสูงในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น จากการที่ชุดอาหารพร้อมปรุงยังคงมีสินค้าจากไทยโดยตรงไม่มาก มักจะผลิตโดยร้านอาหารไทยในเกาหลีใต้ การร่วมมือระหว่างผู้นำเข้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตในเกาหลีใต้กับร้านอาหารชื่อดังในไทย โดยเฉพาะร้านอาหารที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดอาหารพร้อมปรุงที่เป็นเมนูอาหารไทย เน้นเมนูที่เป็นที่นิยม และเมนูใหม่ๆ จะเป็นการขยายซอฟพาวเวอร์ด้านอาหารของไทยให้เข้าถึงครัวเรือนของผู้บริโภคโดยตรง นับเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจตลาดเกาหลี โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารที่อยากขยายผลิตภัณฑ์ในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ ควรให้ความสำคัญกับประเด็นความสะอาด การตรวจสอบย้อนกลับได้ของวัตถุดิบ และการใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาสินค้าดังกล่าวด้วย

******************************

สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล

28 มิถุนายน 2567

 

ที่มาข้อมูล:

  • Meal Kit Market Trend, 2024.05.20, Food Information Statistics System, www.atfis.or.kr
  • Food Trend 2024, FoodBizLab, Seoul National University
  • Consumer Attitude to Processed Food, 2023.12.31, Korea Rural Economic Institute
thThai