สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีร่วมมือกับประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS ในการขับเคลื่อนโครงการริเริ่มความมั่นคงด้านอาหารและขยายการค้าอาหารระหว่างประเทศสมาชิก ดร. Amna bint Abdullah Al Dahak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (MOCCAE)     กล่าวในการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของกลุ่มสมาชิก BRICS ครั้งที่ 14 ซึ่งในช่วงเดียวกันมีการประชุม รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของ BRICS ครั้งที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซียว่า ยูเออีมีวิตถุประสงค์ที่จะร่วมมือ ในการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม พยายามและส่งเสริมระบบความยั่งยืน โดยมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดำเนิน การส่งเสริม ความมั่นคง ด้านอาหารของชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลยูเออีที่จะบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติปี 2594 (National Food Security Strategy 2051) และตระหนักดีว่าการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายระดับโลก นอกจากนี้รัฐบาลยูเออีมุ่งมั่นที่ จะพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืนทั้งในประเทศและระดับต่างประเทศ

รัฐมนตรีกล่าวถึงความปรารถนาของยูเออีในการพัฒนากรอบพหุภาคีที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการเจรจา   ที่สร้างสรรค์เพื่อขับเคลื่อนความมั่นคงด้านอาหาร ส่งเสริมการค้าและสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนในทุกประเทศสมาชิก ขณะนี้ยูเออีกำลังทำงานอย่างแข็งขันเพื่อยกระดับการค้าภายในกลุ่ม เพื่อให้มั่นใจถึงความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทาน ขณะเดียวกันก็ปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม (CEPA) ซึ่งเอื้อให้เกิดการค้าขายที่ราบรื่น กำจัดสิ่งที่ไม่ยุติธรรมออกไป โดยเชื่อว่าการส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม ครอบคลุมและเท่าเทียมในภาคเกษตรกรรมจะมีส่วนสำคัญในการสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนทั่วโลก

ความร่วมมือทางเทคนิค

กลุ่ม BRICS มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งในระดับพหุภาคีและเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวในด้านการค้า การลงทุนตลอดจนความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ในการประชุมครั้งนี้มีวาระเกี่ยวกับการจัดตั้ง BRICS Food Exchange ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาการค้าระหว่างกัน รัฐมนตรียังได้ย้ำถึงความสำคัญของการค้าในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการ และการเกษตรที่ยั่งยืนในกลุ่ม BRICS และระดับโลก โดยเน้นว่ายูเออีได้ถือการค้าอาหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหาร

นาย Mohammed Saeed Al Nuaimi ปลัดกระทรวง MOCCAE ที่เข้าร่วมประชุมฝ่ายการทำงานทางเทคนิค กล่าวว่าการจัดตั้ง BRICS Grain Exchange  สำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนธัญพืชระหว่างสมาชิกกลุ่ม เพื่อส่งเสริมเป้าหมายร่วมกันในการค้าธัญพืช ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ที่สําคัญที่สุด โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างมากจากสมาชิก ทั้งนี้ภาคการเกษตรและความมั่นคงด้านอาหารที่ยั่งยืนนั้นมีความสําคัญต่อการเติบโต ความมั่งคั่งของประเทศนั้นๆ และกล่าวเสริมว่ารัฐบาลยูยูเออีให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สําคัญที่สุดที่มนุษย์เผชิญอยู่ อันส่งผลกระทบต่อทุกมิติของชีวิต ตั้งแต่เศรษฐกิจพลังงาน ความมั่นคงทางอาหารไปจนถึงการศึกษา สุขภาพ และชีวิตประจําวัน

ความพยายามร่วมกัน

นอกจากนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ยูเออีได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 28 (COP28)  เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในฉันทามติประวัติศาสตร์ของประเทศ     ที่จุดประกายความหวังในการลดภาวะโลกร้อน และเชื่อว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู่ระบบพลังงานที่ยั่งยืน   ผ่าน “ Energy Transition” หรือการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ยุติธรรม ที่มีเป้าหมายบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์  (Net Zero) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านและทําให้อํานาจต่อรองผู้ใช้เปลี่ยนแปลงไป โดยจะมีกิจการใหม่ๆเกิดขึ้นจากความล้ำหน้าทางนวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้คนในสังคมมีการปรับตัวตาม จะมีการ Upskill Reskill  เพื่อรองรับธุรกิจใหม่ เกิดธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเสมอภาคยุติธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีกว่าทั้งสำหรับผู้คนในประเทศ ควบคู่ ไปกับความร่วมมือระหว่างประเทศ แสดงเจตนารมณ์ในการมีส่วนร่วมสนับสนับการมุ่งหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ยูเออีเป็นชาติแรกในกลุ่ม “Petrostates” หรือประเทศที่เป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมันบนอ่าวอาหรับ ที่ประกาศเป้าหมาย Net-Zero ต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศภายในปี 2593

การร่วมประชุมกลุ่ม BRICs ครั้งนี้ว่าจะใช้ประโยชน์จากความมุ่งมั่นร่วมกัน ปรับโครงสร้างใหม่ของการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสิ่งแวดล้อมภายในกลุ่มสมาชิก  เพิ่มประสิทธิภาพที่สำคัญต่อความพยายามด้านสภาพภูมิอากาศโลก โดยจะใช้ประโยชน์จากทรัพยากร เทคโนโลยี โซลูชัน ความเชี่ยวชาญ และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือเพิ่มเติมที่เสนอในระหว่างการประชุมครั้งนี้ ที่จะทำให้สมาชิก            บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันต่อไปได้

ความเห็นของ สคต สคต.ดูไบ

กลุ่ม BRICS เป็นการรวมกลุ่มกันของประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ เพื่อท้าทายระเบียบโลกที่ครอบงำโดยเศรษฐกิจตะวันตก เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 โดยตัวย่อ BRIC มาจาก ‘อักษรตัวแรก’ ของประเทศสมาชิกเดิม 4 ประเทศ ได้แก่ บราซิล รัสเซีย จีน อินเดีย ต่อมาในปี 2553 แอฟริกาใต้ ได้เข้าเป็นสมาชิกร่วมด้วย จึงได้เปลี่ยนชื่อ เป็นกลุ่ม “BRICS” เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 มีสมาชิกใหม่เพิ่มอีก 4 ประเทศ คือ อิหร่าน อียิปต์ เอธิโอเปียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทำให้ปัจจุบัน กลุ่ม BRICS มีสมาชิก 10 ประเทศ รวมตัวกันเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศและสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีการจัดตั้งองค์กรทางการเงินขึ้นมาใหม่ อย่างเช่น New Development Bank ซึ่งถูกมองว่าเป็นคู่แข่งโดยตรงของธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) ปัจจุบันมีมากกว่า 40 ประเทศ แสดงความสนใจ
ที่จะเข้าร่วมกลุ่ม รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา ในขณะที่รัฐบาลเวียดนามกำลังติดตามกระบวนการขยายสมาชิกของกลุ่ม BRICS อย่างใกล้ชิด ล่าสุดประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงที่จะเข้าเป็นสมาชิก เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว โดยเฉพาะ   อย่างยิ่งด้านการค้า การลงทุน ตลอดจนความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน

thThai